วัยหมดประจำเดือน
![]() | |
---|---|
ชื่ออื่น | วัยหมดระดู, วัยทอง |
![]() | |
An Ukara Ekpe textile from the Igbo culture which is secretly dyed by post-menopausal women.[1] | |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | No menstrual periods for a year[2] |
การตั้งต้น | อายุ 49-52 ปี[3] |
สาเหตุ | Usually a natural change, surgery that removes both ovaries, some types of chemotherapy[4][5] |
การรักษา | None, lifestyle changes[6] |
ยา | Menopausal hormone therapy, clonidine, gabapentin, selective serotonin reuptake inhibitors[6][7] |
วัยหมดประจำเดือน คือช่วงเวลาที่ผู้หญิงจะไม่มีรอบประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก[2][8] ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่อายุ 49-52 ปี[3] บุคลากรทางการแพทย์มักนิยามวัยหมดประจำเดือนว่าเริ่มต้นเมื่อผู้หญิงไม่มีประจำเดือนต่อเนื่องกันมากกว่า 1 ปี[4] นอกจากนี้ยังอาจนิยามโดยพิจารณาจากปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ได้อีกด้วย[9] ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอามดลูกออกแต่ยังเก็บรังไข่ไว้ อาจนับวัยหมดประจำเดือนว่าเริ่มตั้งแต่วันผ่าตัดหรือนับตั้งแต่วันที่ระดับฮอร์โมนเริ่มลดลงก็ได้[9] ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้วมักเริ่มมีอาการของวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ คือเริ่มที่อายุประมาณ 45 ปี[10]
เมื่อใกล้ถึงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงมักมีรอบประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ[11][12] โดยแต่ละรอบอาจจะกินเวลานานกว่าหรือสั้นกว่าปกติ และอาจมีเลือดออกมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ[11] ในช่วงนี้ผู้หญิงมักมีอาการร้อนวูบวาบ กินเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีไปจนถึงประมาณ 10 นาที อาจมีอาการเหงื่อออก ตัวสั่น ผิวแดง ร่วมด้วย[11] อาการเหล่านี้มักเป็นอยู่ประมาณ 1-2 ปี[8] อาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่ ช่องคลอดแห้ง นอนหลับยาก และอารมณ์แปรปรวน[11] โดยมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน[8] ก่อนหน้านี้เคยเชื่อกันว่าการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรคหัวใจ แต่ต่อมาพบว่าน่าจะเป็นความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[8] ในผู้หญิงบางคนที่มีปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือปวดประจำเดือน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[8]
ปกติแล้วผู้หญิงมักเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนโดยธรรมชาติ[5] บางรายอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติจากการสูบบุหรี่[4][13] สาเหตุอื่นๆ เช่น การผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง และการใช้ยาเคมีบำบัด[4] ในระดับสรีรวิทยาแล้วการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะเริ่มต้นเมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตจากรังไข่เริ่มลดลง[2] แพทย์สามารถตรวจวัดระดับฮอร์โมนเหล่านี้ได้จากเลือดหรือจากปัสสาวะ แต่ขั้นตอนนี้ไม่ใช่ขั้นตอนจำเป็นในการวินิจฉัยภาวะหมดประจำเดือน[14]
โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องมีการรักษาสำหรับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[6] อย่างไรก็ดีอาการบางอย่างของภาวะนี้สามารถรักษาได้[6] เช่น อาการร้อนวูบวาบดีขึ้นได้ด้วยการงดสูบบุหรี่ งดกาแฟ และแอลกอฮอล์ เป็นต้น[6] การนอนในห้องนอนที่มีอากาศเย็นและการใช้พัดลมก็ช่วยได้เช่นกัน[6] ยาที่มีที่ใช้ในการรักษาอาการของวัยหมดประจำเดือนมีหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนทดแทนสำหรับวัยหมดประจำเดือน โคลนิดีน กาบาเพนติน และ เอสเอสอาร์ไอ เป็นต้น[6][7] การออกกำลังกายช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับได้[6] ก่อนหน้านี้มีการใช้ฮอร์โมนทดแทนกันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันแนะนำให้ใช้เฉพาะในรายที่มีอาการมาก เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง[6] การรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการจากวัยหมดประจำเดือนยังไม่มีหลักฐานคุณภาพสูงเพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้โดยทั่วไป[8] แต่มีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่าอาจใช้ไฟโตเอสโตรเจนช่วยได้[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Chuku G (2005). Igbo women and economic transformation in southeastern Nigeria, 1900–1960. Paragraph 3: Routledge. p. 73. ISBN 978-0415972109. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2016.CS1 maint: location (link)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Menopause: Overview". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 June 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 3.0 3.1 Takahashi TA, Johnson KM (May 2015). "Menopause". The Medical Clinics of North America. 99 (3): 521–34. doi:10.1016/j.mcna.2015.01.006. PMID 25841598.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "What is menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 June 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 5.0 5.1 "What causes menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 May 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "What are the treatments for other symptoms of menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 June 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 7.0 7.1 Krause MS, Nakajima ST (March 2015). "Hormonal and nonhormonal treatment of vasomotor symptoms". Obstetrics and Gynecology Clinics of North America. 42 (1): 163–79. doi:10.1016/j.ogc.2014.09.008. PMID 25681847.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Menopause: Overview". PubMedHealth. 29 August 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ 9.0 9.1 Sievert, Lynnette Leidy (2006). Menopause : a biocultural perspective ([Online-Ausg.] ed.). New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press. p. 81. ISBN 9780813538563. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ International position paper on women's health and menopause : a comprehensive approach. DIANE Publishing. 2002. p. 36. ISBN 9781428905214. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "What are the symptoms of menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 May 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "What Is Menopause?". National Institute on Aging. สืบค้นเมื่อ 2018-10-06.
- ↑ Warren, volume editors, Claudio N. Soares, Michelle (2009). The menopausal transition : interface between gynecology and psychiatry ([Online-Ausg.] ed.). Basel: Karger. p. 73. ISBN 978-3805591010.
- ↑ "How do health care providers diagnose menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 May 2013. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ Franco OH, Chowdhury R, Troup J, Voortman T, Kunutsor S, Kavousi M, Oliver-Williams C, Muka T (June 2016). "Use of Plant-Based Therapies and Menopausal Symptoms: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA. 315 (23): 2554–63. doi:10.1001/jama.2016.8012. PMID 27327802.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |