วันเด็กแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันเด็กแห่งชาติ
150425 Koinobori Chizu Tottori pref Japan01bs.jpg
ธงปลาคาร์ฟ โดยปลาคาร์ฟสีดำหมายถึงพ่อ (มาโงย) ปลาคาร์ฟสีแดงหมายถึงแม่ (ฮิโงย) และปลาคาร์ฟสีฟ้าหมายถึงลูก
ชื่อทางการこどもの日 (โคโดโมะ โนะ ฮิ)
ประเภทวันหยุดราชการ
ความสำคัญให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กและขอบคุณพ่อแม่
การเฉลิมฉลองการจัดเทศกาลธงปลาคาร์ฟ
การถือปฏิบัติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
วันที่5 พฤษภาคม
ความถี่ทุกปี

วันเด็กแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: こどもの日โรมาจิKodomo no Hi) ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคมของทุก ๆ ปีในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กและขอบคุณพ่อแม่ของพวกเขาที่คอยเลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่[1]

ประวัติ[แก้]

ในอดีตวันเด็กแห่งชาติถูกเรียกว่า "เทศกาลทังโงะ โนะ เซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 端午の節句โรมาจิTango no Sekku)" ที่จัดขึ้นในทุก ๆ วันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันเฉลิมฉลองการเติบโตของเด็กชาย ในวันดังกล่าวจะมีการจะประดับธงปลาคาร์ฟ หรือ โคยโนโบริ ไว้หน้าบ้านเพื่อขอพรให้เด็กชายในครอบครัวของตนมีสุขภาพที่แข็งแรง[2] และสวมหมวกคาบูโตะ (ญี่ปุ่น: 鉄兜โรมาจิTetsu Kabuto) ให้แก่เด็กชายในพิธี "ฮัตสึเซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 初節句โรมาจิHatsu Sekku)" เพื่อสื่อถึงเกาะป้องกันที่คอยคุ้มครองเด็กชายไว้ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่หากเป็นเด็กหญิงจะเข้าร่วมเทศกาล "ฮินะมัตสึริ (ญี่ปุ่น: 雛祭りโรมาจิHina Matsuri)" หรือ "โมโมโนะ โนะ เซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 桃の節句โรมาจิMomo no Sekku)" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปีเพื่อฉลองการเติบโตของเด็กหญิงในช่วงสมัยยุคนาระ[3][4] โดยจะมีการวางตุ๊กตาฮินะเป็นการตกแต่งภายในบ้านและจะส่งต่อตุ๊กตาจากรุ่นสู่รุ่นไป[5] แต่ทั้งนี้ในปี 1948 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจรวมวันทังโงะ โนะ เซ็กกุ และ ฮินะมัตสึริ เป็นวันเดียวกันโดยใช้ชื่อ "โคโดโมะ โนะ ฮิ (ญี่ปุ่น: こどもの日โรมาจิKodomo no Hi)" ที่หมายถึงวันของทั้งเด็กชายและเด็กหญิง โดยยังคงกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี[1][6][7]

การเฉลิมฉลอง[แก้]

แม้จะมีการรวมวันเด็กของทั้งเด็กชายและเด็กหญิงรวมกันเป็นวันเดียวกัน แต่วิธีการเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การประดับธงปลาคาร์ฟไว้หน้าบ้านเพื่อเสริมความสิริมงคลและความเจริญก้าวหน้าของเด็กชายในครอบครัวของตนตามความเชื่อของชาวจีนโบราณที่ว่าปลาคาร์ฟที่ว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อมุ่งสู่ประตูมังกร (ญี่ปุ่น: 龍門โรมาจิRyūmon) ได้สำเร็จในขณะที่ปลาตัวอื่น ๆ ยอมแพ้[8] จึงสามารถเปรียบเสมือนได้กับมังกรที่กล้าหาญ[9]

หมวกคาบูโตะ เกราะโยโรย (ญี่ปุ่น: โรมาจิYoroi) และตุ๊กตานักรบ (ญี่ปุ่น: 五月人形โรมาจิGogatsu Ningyo; ตุ๊กตาเดือนห้า) จะถูกนำมาวางไว้ในบ้านเพื่อเสริมความมั่นคงให้กับเด็กชาย[9] นอกจากนี้ยังทานขนมเฉพาะเทศกาล เช่น เค้กข้าวเหนียว "ชิมากิ (ญี่ปุ่น: โรมาจิChimaki)" หรือ "โมจิโกเมะ (ญี่ปุ่น: 餅米โรมาจิMochigome)" ที่ห่อในใบกล้วย[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "国民の祝日に関する法律 | e-Gov法令検索". elaws.e-gov.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เทศกาล "ธงปลาคาร์ฟ" เพื่อขอพรให้เด็กเติบโตแข็งแรง | JNTO". องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น. 2016-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ทังโกะโนะเซ็กกุ (งานเทศกาลเด็กผู้ชาย)」". MATCHA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
  4. "5 พฤษภาคม "วันเด็ก" ของญี่ปุ่น". JGBThai. 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ทำไมต้องธงปลาคาร์ป ความหมายดีๆ ของวันเด็ก (ชาย) ในญี่ปุ่น". tcompanion.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Celebrating the Boys of Japan The traditions of Tango no Sekku". Japan National Tourism Organization (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "こどもの日とはどんなお祝いの日なのでしょうか?その意味と歴史を解説します | 人形の東玉". Tougyoku. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "Kodomo No Hi: A Guide To Children's Day In Japan". Savvy Tokyo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 "มาทำความรู้จัก วันเด็กแห่งชาติ (5 พฤษภาคม) ของประเทศญี่ปุ่นกัน!". WOM JAPAN. 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)