วันบรรลุนิติภาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันบรรลุนิติภาวะ
ผู้เข้าร่วมงานวันบรรลุนิติภาวะที่ศาลเจ้าเมจิในปี ค.ศ. 2009
ชื่อทางการ成人の日 (Seijin no Hi)
ประเภทวันหยุดราชการ
ความสำคัญเฉลิมฉลองและการให้กำลังใจของผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัย 20 ปีบริบูรณ์ทั่วประเทศ
การถือปฏิบัติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
วันที่วันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคม
ความถี่ทุกปี

วันบรรลุนิติภาวะ (ญี่ปุ่น: 成人の日โรมาจิSeijin no Hi; วันของผู้ใหญ่) เป็นวันที่จัดขึ้นในทุก ๆ วันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและการให้กำลังใจของผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัย 20 ปีบริบูรณ์ทั่วประเทศ[1][2] นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการพบปะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ของพวกเขาที่อยู่ในเมืองเดียวกัน[3] ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2018 รัฐสภาญี่ปุ่นได้เห็นชอบร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า "ผู้บรรลุนิติภาวะ" ว่าเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป[4][5] นับว่าเป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรกตั้งแต่การประกาศใช้ในปี 1876 โดยร่างแก้ไขดังกล่าวจะถูกบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2022[6][7] แต่ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น อายุของผู้ที่สามารถเข้าร่วมในงานวันบรรลุนิติภาวะยังคงไว้ที่อายุ 20 ปี[8][9]

ประวัติ[แก้]

พิธีการก้าวผ่านวัยในประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มมาตั้งแต่ยุคเอโดะ ในสมัยนั้นเรียกพิธีดังกล่าวว่า "เก็มปูกุ (ญี่ปุ่น: 元服โรมาจิGenpuku)"[10][11] โดยเด็กชายที่มีอายุตั้งแต่ 13 ถึง 17 ปี ที่ส่วนใหญ่จะกระทำเพียงแค่ในตระกูลซามูไรเท่านั้น[12] โดยเด็กชายเหล่านั้นจะต้องโกนผม รับดาบประจำตัวของตน และเข้ารับการฝึกฝนอย่างซามูไร เช่น ยาบูซาเมะ (การยิงธนูบนหลังม้า), อินูโอโมโนะ (การยิงสุนัขบนหลังม้าโดยใช้ลูกธนูให้น้อยที่สุด) หรือการฟันดาบ เพื่อเป็นแสดงถึงการละทิ้งวัยเด็กและการก้าวข้ามเป็นผู้ใหญ่[13][12] ก่อนที่จะมีการกำหนดวันบรรลุนิติภาวะอย่างเป็นทางการในปี 1948 โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 15 มกราคมของทุกปี ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวันจันทร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีในปี 2000 เป็นต้นมา[11]

พิธีบรรลุนิติภาวะ[แก้]

กิโมโนแบบฟูริโซเดะ

สำนักงานเมืองต่าง ๆ จะเชิญผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ในปีนั้น ๆ เข้าร่วมในพิธีตามสถานที่และเวลา (ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า) ที่สำนักงานเมืองได้กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตามหอประชุมประจำจังหวัด หรือในบางกรณีอาจมีการกำหนดไว้เป็นที่อื่น เช่น โตเกียวดิสนีย์แลนด์สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองอูรายาซุ จังหวัดชิบะ[14] หรือ ด้านหน้าท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะในเมืองนาริตะ ทั้งนี้ยังเชิญนักศึกษาชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ๆ มาร่วมพิธีอีกด้วย ในงานพิธีบรรลุนิติภาวะ (ญี่ปุ่น: 成人式โรมาจิSeijin Shiki) ข้าราชการประจำเมืองจะกล่าวให้โอวาส มอบประกาศนียบัตรและของขวัญแก่ผู้ที่เข้าร่วมในพิธีบรรลุนิติภาวะ[15][9][16]

ผู้เข้าร่วมงานที่เป็นผู้หญิงมักนิยมจะสวมกิโมโนแบบพิเศษที่เรียกว่า ฟูริโซเดะ ซึ่งนับว่าเป็นกิโมโนที่เป็นทางการที่สุดสำหรับหญิงโสดและจะสวมได้ก็ต่อเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ยังสื่อถึงความเป็นผู้ใหญ่และพร้อมที่จะแต่งงาน ส่วนผู้ชายจะสวมฮากามะหรือเสื้อสูทแบบตะวันตก[9] หลังพิธีบรรลุนิติภาวะเสร็จสิ้น ผู้เข้าร่วมพิธีมักจะเดินทางต่อไปวัด ศาลเจ้า หรือดื่มสังสรรค์ต่อในช่วงกลางคืน[16] ซึ่งทำให้ในวันบรรลุนิติภาวะมีการทะเลาะวิวาทกันในหลายพื้นที่ทั้งในระหว่างพิธีและหลังพิธี[17][18]

แม้ว่าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2022 เป็นต้นไป อายุของผู้บรรลุนิติภาวะได้รับการปรับเปลี่ยนลดลงจาก 20 ปี เป็น 18 ปี จากร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี 2018 ทำให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีสามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้ง หรือแต่งงานได้ แต่ข้อบังคับในการซื้อหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อนุญาตให้บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปียังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสร้างข้อโต้เถียงในหมู่ประชาชน นอกจากนี้ ยังคงมีการถกเถียงกันในหลักเกณฑ์การเข้าร่วมในพิธีบรรลุนิติภาวะ ว่าจะยังคงไว้ที่ 20 ปี หรือจะลดลงมาเป็น 18 ปีตามประมวลกฎหมายฯ ใหม่ ส่วนหนึ่งกล่าวว่าอาจเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ปกครองของเขา ในค่าใช้จ่ายทั้งการศึกษาในมหาวิทยาลัยและค่าใช้จ่ายในชุดฟูริโซเดะซึ่งมีราคาที่สูง อีกทั้งยังต้องเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงเดือนมกราคมอีกด้วย[9] และยังมีบางส่วนที่คิดว่าพิธีบรรลุนิติภาวะควรถูกยกเลิกด้วยเช่นกัน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""เซจินโนะฮิ" วิถีบรรลุนิติภาวะของญี่ปุ่น". มติชนออนไลน์. 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "「成人式はもう廃止すべき!」思っているのは意外にも…". Sirabee (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "成人式に出席したくない!メリットがほんとにあるのかどうか解説 | 成人式の振袖レンタルならラブリス". ラブリス (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, 関係者相互の連携及び協働, ฉบับพิเศษ ที่ 132, 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561
  5. อูเมดะ, ซายูริ (2018). "Japan: Age of Adulthood to Be Lowered to 18 in 2022". Library of Congress, Washington, D.C. 20540 USA.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Japan gov't to lower age of adulthood from 20 to 18". Kyodo News+. 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ญี่ปุ่นเสนอปรับอายุบรรลุนิติภาวะให้เร็วขึ้น". VoiceTV. 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Borgers, Marie (2021-08-17). "Legal Age in Japan: How Old to Drink, Drive, Vote, and Get Married?". VOYAPON (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Korteman, Jessica (2021-01-11). "Seijin no Hi: What Happens on Coming of Age Day in Japan". Notes of Nomads (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ดิกไทย-ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น-ไทย ออนไลน์ : J-Doradic.Com". www.j-doradic.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 สวัสดิ์หิรัญ, เอกณัฏฐ์. "[日本] วันบรรลุนิติภาวะ". www.tpapress.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 "วันบรรลุนิติภาวะ (Seijin no Hi 成人の日)". Marumura Travel : วางแผนเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง : (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "[Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)] "ซามูไร (Samurai) นักรบแห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย" ตอนที่ 2". www.blockdit.com. 2020-03-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Colourful kimonos at Japan's Coming of Age Day". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.
  15. "เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น "วันบรรลุนิติภาวะ" เมื่อหนุ่มสาวก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว". MATCHA. 2019-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 ""เซจินโนะฮิ" วิถีบรรลุนิติภาวะของญี่ปุ่น | MATICHON ONLINE". LINE TODAY. 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "วัยรุ่นญี่ปุ่นซัดกันเละ กลางพิธีวันบรรลุนิติภาวะ (ชมคลิป)". news1live.com. 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Yokohama's Coming of Age Ceremony ruined by "yankees" who fight, illegally scale walls, drink". SoraNews24 -Japan News- (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)