วันชัย รุ่งภูวภัทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันชัย รุ่งภูวภัทร เป็นนักธุรกิจเจ้าของบริษัท ศรีไทย ฟู้ด เซอร์วิส จำกัด นายวันชัยสร้างธุรกิจผลิตน้ำตาลซองรายแรกของประเทศไทยได้ด้วยตนเอง และในปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมการผลิตซอสบรรจุซอง และธุรกิจอื่น รวมถึง ประสบความสำเร็จในธุรกิจแอมเวย์ โดยในปี พ.ศ. 2547 นายวันชัยได้ทำการ take over องค์กรที่ใหญ่ที่สุดองค์กรหนึ่งของแอมเวย์ประเทศไทยจาก Mr. Sonny Ho นักธุรกิจชาวมาเลเซีย ทำให้ในปัจจุบันนายวันชัยมียอดธุรกิจแอมเวย์ในองค์กรในราว 2,800 ล้านบาท/ปี [ต้องการอ้างอิง]

ชีวิตวัยเด็ก[แก้]

นายวันชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2501 บิดานายวันชัยเสียชีวิตตั้งแต่นายวันชัยยังเด็ก มารดาของนายวันชัยเปิดร้านขายของชำที่ตลาดนกกระจอก นายวันชัยได้เข้ารับการศึกษาในระดับป.1- ป.4 ที่โรงเรียนไกรวิทย์อนุสรณ์ จากนั้นเรียนต่อระดับ ป.5 - ป.7 ที่โรงเรียนสามัญบางกอกใหญ่และจบการศึกษาเพียงระดับ มศ.5 จากโรงเรียนวัดนวลนรดิสเนื่องจากที่บ้านมีฐานะยากจนจึงต้องหยุดเรียนออกมาช่วยแม่หาเลี้ยงครอบครัวโดยทำงานตั้งแต่ เป็นเด็กในอู่ซ่อมรถ, เซลส์แมน, พนักงานส่งเอกสาร, คนส่งหนังสือพิมพ์

ช่วงเริ่มเข้าสู่ธุรกิจน้ำตาลซอง[แก้]

หลังจากเปลี่ยนงานมาหลายบริษัท เสรีวัฒน์และบุตร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทขายส่งแป้งทำขนมปังและสินค้าอีกสารพัด ซึ่งนายวันชัยได้รับมอบหมายให้เป็นเซลส์เมนขายสินค้าให้กับโรงแรมระดับห้าดาวทั่วกรุงเทพ ในระหว่างที่ทำงานอยู่ที่ เสรีวัฒน์และบุตร นายวันชัยได้มีโอกาสพบกับคู่ชีวิต คือ คุณดารณี จิตตั้งวัฒนา และในวันหนึ่งขณะที่นายวันชัยกำลังทำงานในหน้าที่เซลส์เมนอยู่นั้นก็ได้ถูกตั้วคำถามจากผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโรงแรมชื่อดังโรงแรมหนึ่งว่า โรงแรมกำลังหาซื้อน้ำตาลซองเล็กๆ ที่ใช้ชงกับกาแฟอยู่ หลังจากนั้นนายวันชัยจึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพี่ชายของคุณดารณี ซึ่งมีนามว่า คุณบุญสม จิตตั้งวัฒนา คุณบุญสมจึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดย การขอเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย ทำให้คุณวันชัยมีทุนในการสั่งซื้อเครื่องจักรมาบรรจุน้ำตาลซอง และได้ตัดสินใจลาออกจากงานบริษัท กลายเป็นเถ้าแก่บริษัท ศรีไทยอย่างเต็มตัว

ขยายสู่ธุรกิจซอสซอง[แก้]

หลังจากทำน้ำตาลซองมาได้ระยะหนึ่ง หลายปีต่อมาตลาดฟาสฟู้ดเริ่มเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทย รายแรกที่เริ่มเข้ามาคือ “Diary Queen” นายวันชัยจึงได้เริ่มผลิตซอสซองโดยและจำหน่ายให้กับที่นี่ ซึ่งในขณะนั้นในประเทศไทยแทบจะไม่มีบริษัทไหนที่สามารถผลิตซอสซองออกมาจำหน่ายได้ทำให้มีคู่แข่งทางการตลาดน้อยมาก หลายปีต่อมาเมื่อตลาดฟาสฟู้ดในประเทศไทยโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีฟาสฟู้ด รายใหม่ที่ต้องการใช้ซอสซองในการทำธุรกิจเช่น Macdonald, KFC, Burger King, Pizza Hut เป็นต้น ธุรกิจศรีไทย ฟูดส์ เซอร์วิส ของนายวันชัยก็ได้ขยายขึ้นตามอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงในวงการธุรกิจ Co-Packing ของประเทศไทย

เข้าสู่ธุรกิจแอมเวย์[แก้]

หลังจากประสบความสำเร็จในธุรกิจ Co-Packing แล้ว นายวันชัยก็ยังประสบความสำเร็จในธุรกิจแอมเวย์ ในระดับเพชรคู่ และได้เขียนหนังสือหนึ่งเล่มเกี่ยวกับประวัติการสู้ชีวิตของตนและธุรกิจAmway ชื่อ “ธุรกิจพันล้านที่คนเมิน” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ทำสถิติขายหนึ่งหมื่นเล่มแรกภายในระยะเวลาเพียง 20 วัน และยังได้เป็นหนังสือ best seller ที่แผงหนังสือชั้นนำอย่าง SE-ED, B2S, และ นายอินทร์

อ้างอิง[แก้]

  • ข่าวจากผู้จัดการ
  • หนังสือพิมพ์ เดอะพาวเวอร์ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ฉบับที่ 23 วันที่ 16-31 มกราคม พ.ศ. 2548