วันกีฬาแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันกีฬาแห่งชาติ
ทามะอิเระเป็นเกมกีฬาท้องถิ่นที่มักเล่นในงานกีฬาสี
ชื่อทางการスポーツの日 (สูโปสึ โนะ ฮิ)
ชื่ออื่นวันสุขภาพและกีฬาแห่งชาติ
ประเภทวันหยุดราชการญี่ปุ่น
ความสำคัญสร้างความสำคัญถึงสุขภาพที่ดีของประชาชน และเล่นกีฬาอย่างมีความสุข
การเฉลิมฉลองการจัดงานกีฬาสี
การถือปฏิบัติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
วันที่วันจันทร์ที่สองเดือนตุลาคม
ความถี่ทุกปี

วันกีฬาแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: スポーツの日โรมาจิSupōtsu no Hi) ตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคมของทุกปีในประเทศญี่ปุ่น เดิมเรียกว่า วันสุขภาพและกีฬาแห่งชาติ หรือ วันพลศึกษา (ญี่ปุ่น: 体育の日โรมาจิTaiiku no Hi) เพื่อฉลองการเปิดพิธีโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 การสร้างความสำคัญถึงสุขภาพที่ดีของประชาชน และเล่นกีฬาอย่างมีความสุข[1] ในปี 2020 วันกีฬาแห่งชาติได้เลื่อนจากวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม เพื่อให้ตรงกับวันเปิดพิธีของโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[2]

ประวัติและการเฉลิมฉลอง[แก้]

โยชิโนริ ซาไก ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964

รัฐบาลฯ ได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเปิดพิธีของโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 เป็นวันพลศึกษาในปี 1966 เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง[3] ในวันดังกล่าวโรงเรียนหรือชุมชนท้องถิ่นจะจัดงานกีฬาสี (ญี่ปุ่น: 運動会โรมาจิUndōkai; งานออกกำลังกาย) โดยก่อนที่จะเริ่มเล่นกีฬา ก็จะออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นยืดสายด้วยการบริหารกาย (ญี่ปุ่น: ラジオ体操โรมาจิRajio Taisō) ถึงจะเริ่มเล่นกีฬา[4] โดยกีฬาที่เล่นจะสามารถเล่นเป็นหมู่ได้ง่าย เช่น ชักเย่อ โยนลูกบอล การวิ่งผลัด โยนถุงถั่วให้ลงตระกร้าที่ผูกไว้บนเสาไม้ค้ำสูงที่เรียกว่าทามะอิเระ (ญี่ปุ่น: 玉入れโรมาจิTamaire) หรือการกลิ้งลูกบอลขนาดใหญ่ไปหาสมาชิกทีมอีกฝั่ง (ญี่ปุ่น: お玉転がしโรมาจิOtama Korogashi) เป็นต้น[5][6][7]

แต่ต่อมาในปี 2000 ได้มีการเปลี่ยนวันพลศึกษาเป็นวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคมตามระบบแฮปปี้ซันเดย์ที่ย้ายวันหยุดราชการต่าง ๆ ไปเป็นวันจันทร์เพื่อสร้างวันหยุดติดต่อกันสามวัน และในปี 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อวันพลศึกษาเป็นวันกีฬาแห่งชาติ โดยมีผลบังคับใช้ในปี 2020 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่คำว่า "พลศึกษา" ให้ความรู้สึกที่โน้มไปทางการศึกษาในโรงเรียนมากกว่าและชูความสำคัญของการเล่นกีฬาเพื่อให้สอดคล้องกับโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "国民の祝日に関する法律 | e-Gov法令検索". elaws.e-gov.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "2021年の祝日移動について". 首相官邸ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "法律第八十六号(昭四一・六・二五)". www.shugiin.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Surviving Sports Festival". Tofugu (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Taiiku No Hi: Health and Sports Day in Japan". JapanesePod101.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. JAPANESE HIGHSCHOOL SPORTS FESTIVAL! (日本の体育祭) | Euodias, สืบค้นเมื่อ 2021-11-29
  7. "Japanese Sports Day". Monahans In Tokyo (ภาษาอังกฤษ). 2015-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "2020年は体育の日が「スポーツの日」に。 日付は?変更の理由は?". Olympics.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "2021年の「体育の日」はいつ?「スポーツの日」に変わるのはなぜ?祝日の由来や変更後の日付をチェック". HugKum(はぐくむ) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)