วัตถุอาร์โรคอท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์โรคอท
การค้นพบ
ค้นพบโดย:Marc William Buie
ยานนิวฮอไรซันส์
ค้นพบเมื่อ:14 มิถุนายน 2557
ชื่ออื่น ๆ:Ultima Thule (อัลติมา ทูเล)
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:วัตถุพ้นดาวเนปจูน
วัตถุในแถบไคเปอร์
ลักษณะของวงโคจร
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
46.442 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
42.721 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.04172
คาบดาราคติ:297.67 ปี
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
158.998°

วัตถุอาร์โรคอท (อังกฤษ: Arrokoth) หรือ 486958 อาร์โรคอท (486958 Arrokoth) มีชื่อในระบบว่า 2014 MU69 เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนในแถบไคเปอร์ วัตถุนี้มีลักษณะเป็นซากของดาวเคราะห์สองชิ้นที่เชื่อมติดกัน แบ่งเป็นซากดาวก้อนใหญ่ยาว 21 กม. และซากดาวก้อนเล็กยาว 15 กม. ทำให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางตามแกนรวมกันอยู่ที่ 36 กม. ซากดาวก้อนใหญ่มีลักษณะแบนกว่าซากดาวก้อนเล็ก เมื่อยานนิวฮอไรซันส์เดินทางไปถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 เมื่อ 05:33 น. ตามเวลา UTC[1][2][3] มันจึงเป็นวัตถุอวกาศที่ไกลและเก่าแก่ที่สุดที่ยานอวกาศเดินทางไปถึง และได้รับชื่อเล่นว่า อัลติมา ทูเล (Ultima Thule) ในเวลาต่อมา

ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2014 โดย มาร์ค บิว นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน และทีมงานผู้สร้างยานนิวฮอไรซันส์จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสังเกตวัตถุในแถบไคเปอร์ของภารกิจยานนิวฮอไรซันส์ วัตถุอาร์โรคอทนี้มีคาบดาราคติ (ความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์) 298 ปี จากการสำรวจของยานนิวฮอไรซันส์พบว่าวัตถุอาร์โรคอทนี้แบนกว่าที่คิดไว้ ซึ่งเดิมทีนักดาราศาสตร์คาดว่ามีลักษณะกลมคล้ายตุ๊กตาหิมะ ด้วยลักษณะที่มีโค้งเว้าตรงกลางและพื้นผิวที่เรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการเกิดดาวเคราะห์มากขึ้น โดยจากการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ไม่ได้เกิดจากการชนกันของอุกกาบาต แต่เกิดจากการค่อย ๆ เกาะกันของเศษฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งหักล้างความแนวคิดเดิมที่ว่าดาวเคราะห์เกิดจากการชนกันของอุกกาบาต

อ้างอิง[แก้]

  1. "New Horizons Successfully Explores Ultima Thule". pluto.jhuapl.edu. Applied Physics Laboratory. 1 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  2. "About Arrokoth". pluto.jhuapl.edu. Applied Physics Laboratory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2019.
  3. Porter, S. B.; Bierson, C. J.; Umurhan, O.; Beyer, R. A.; Lauer, T. A.; Buie, M. W.; และคณะ (March 2019). A Contact Binary in the Kuiper Belt: The Shape and Pole of (486958) 2014 MU69 (PDF). 50th Lunar and Planetary Science Conference 2019. Lunar and Planetary Institute. Bibcode:2019LPI....50.1611P.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]