วัตถุนิยมทางเศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัตถุนิยม (อังกฤษ: materialism) เป็นเจตคติส่วนบุคคลซึ่งยึดความสำคัญต่อการได้มาซึ่งและการบริโภคสินค้าที่เป็นวัตถุ วัตถุนิยมมักสัมพันธ์กับระบบคุณค่าซึ่งถือว่าสถานภาพทางสังคมตัดสินได้จากความร่ำรวย ตลอดจนความเชื่อว่าการครอบครองก่อให้เกิดความสุข สิ่งแวดล้อมนิยมสามารถถือว่าเป็นแนวคิดที่แข่งขันกับวัตถุนิยม[1]

การใช้คำว่า "วัตถุนิยม" อธิบายบุคลิกภาพของบุคคลหรือสังคมมีแนวโน้มมีการส่อความทางลบหรือวิจารณ์ อย่างไรก็ดี คำนี้ยังถือว่าเป็นรูปปฏิบัตินิยมของอัตประโยชน์ภูมิธรรมซึ่งยึดความเข้าใจอย่างสมเหตุผลในคุณสมบัติของเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นตลาด

บทนิยาม[แก้]

การวิจัยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองวัตถุนิยมสองทาง ทางหนึ่งเป็นการรวบรวมลักษณะบุคลิกภาพ[2] และอีกทางหนึ่งเป็นความเชื่อหรือค่านิยมที่อยู่นาน[3]

ลักษณะบุคลิกภาพ[แก้]

รัสเซล ดับเบิลยู. เบลก์สรุปว่าวัตถุนิยมมีลักษณะบุคลิกภาพดั้งเดิมสามอย่าง ได้แก่[2]

  • การไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ – ความไม่เต็มใจมอบหรือแบ่งปันทรัพย์สมบัติของตนให้ผู้อื่น
  • ความริษยา – ความปรารถนาทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
  • ความเป็นเจ้าของ – ความกังวลเกี่ยวกับการเสียทรัพย์สมบัติและความประสงค์ครอบครองให้มากยิ่งขึ้น

ค่านิยม[แก้]

ความเป็นศูนย์กลางของการทำให้ได้ทรัพย์มา (Acquisition centrality) หมายถึง การได้มาซึ่งการครอบครองวัตถุเป็นเป้าหมายชีวิตศูนย์กลางโดยมีความเชื่อว่าการครอบครองเป็นกุญแจสู่ความสุขและความสำเร็จสามารถตัดสินได้จากความร่ำรวยทางวัตถุของบุคคล ตลอดจนคุณภาพและราคาของสินค้าวัตถุที่บุคคลนั้นสามารถซื้อหาได้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Banerjee, Bobby; McKeage, Kim (1994). "How Green Is My Value: Exploring the Relationship Between Environmentalism and Materialism". Advances in Consumer Research. 21: 147–152. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2016.
  2. 2.0 2.1 Belk, Russell W. (1985). "Materialism: Trait aspects of living in the material world" (PDF). Journal of Consumer Research. 12: 265–280. doi:10.1086/208515.[ลิงก์เสีย]
  3. Richins, Marsha L.; Dawson, S. (1992). "A consumer values orientation for materialism and its measurement: Scale development and validation". Journal of Consumer Research. 19: 303–316. doi:10.1086/209304.
  4. Richins, Marsha L. (1994). "Valuing things: The public and the private meanings of possessions". Journal of Consumer Research. 21: 504–521. doi:10.1086/209414.