วัดเชียงโฉม

พิกัด: 18°48′29″N 98°58′55″E / 18.808121602011934°N 98.98196106343718°E / 18.808121602011934; 98.98196106343718
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเชียงโฉม
วัดเชียงโฉมในปี พ.ศ. 2565
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเจดีย์ปล่อง
ที่ตั้งตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทสำนักสงฆ์ (สส.)[1]
นิกายมหานิกาย[1]
ความพิเศษเจดีย์ปล่อง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเชียงโฉม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 7.32 ไร่ มีจุดเด่นคือเจดีย์ทรงปล่อง ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งมาจากเจดีย์ทรงจีน หรือที่เรียกว่า ถะ โดยยังพบเห็นในวัดเชียงใหม่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เจดีย์วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เจดีย์วัดพวกหงษ์ และเจดีย์วัดเชียงโฉม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดตะโปทารามเมื่อปี พ.ศ. 2035[2]

วัดเชียงโฉม หรือ วัดเจดีย์ปล่อง ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 21 สมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว เป็นศิลปะล้านนาระยะที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2083 ในสมัยพระนางจิรประภาเทวี พระองค์ได้บูรณะเจดีย์วัดเชียงโฉม แต่ภายหลังพม่าได้เข้ามาตีเมืองเชียงใหม่และปกครองเชียงใหม่อยู่ 200 ปี นอกจากนั้นในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และตำนานสิบห้าราชวงศ์ระบุว่าในสมัยพญามังราย ได้กล่าวถึงว่ามีชุมชนนอกกำแพงเมืองอยู่ 3 แห่ง หนึ่งในนั้นคือเชียงโฉม ในสมัยพระเจ้ากาวิละ พระองค์ทรงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ แต่วัดเชียงโฉมไม่ได้รับการบูรณะจึงอยู่ในสภาพวัดร้าง[3]

จนเมื่อ พ.ศ. 2547 วัดเชียงโฉมได้รับการบูรณะฟื้นฟู ให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ด้วยแรงผลักดันของชุมชน จึงได้ไปกราบเรียนพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัด เชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นประธานในการบูรณะฟื้นฟูพร้อมทั้งได้สร้างพระพุทธรูปเป็นพระประธานในวิหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "วัดเจดีย์ปล่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
  2. Harada, Ayumi. "เจดีย์ปล่อง กับ ที่มาของการซ้อนชั้นเรือนธาตุ" (PDF). ดำรงวิชาการ. 2004 (3(5)): 85-95. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
  3. "ประวัติศาสตร์และความสำคัญวัดเจดีย์ปล่อง หรือ วัดเชียงโฉม" (PDF).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

18°48′29″N 98°58′55″E / 18.808121602011934°N 98.98196106343718°E / 18.808121602011934; 98.98196106343718