วัดอินทาราม (จังหวัดกาญจนบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอินทาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดอินทาราม,วัดหนองขาว
ที่ตั้งตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงปู่เลไลยก์
เจ้าอาวาสพระสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย
ความพิเศษสอนวิปัสสนาภาวนา
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอินทาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ใน ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

วัดอินทาราม หรือ วัดหนองขาว ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2320 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2520[1]

อาคารและเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ วิหารพระป่าเลไลยก์ สันนิษฐานว่าอาจปฏิสังขรณ์ขึ้นมาจากซากวิหารเดิม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ องค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงปู่เลไลยก์ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 7.5 เมตร สร้างด้วยปูนปั้นแบบโบราณเป็นแกนไม้รวก รอบวิหารประดิษฐานรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาส เบื้องซ้าย-ขวาด้านหน้าวิหารมีหอระฆังก่ออิฐถือปูนอยู่ด้านละ 1 หอ ลักษณะเป็นอาคารมณฑปขนาดเล็ก ด้านล่างมีช่องประตูทั้ง 4 ทิศ ส่วนบนทำเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุม มีเจดีย์จำนวน 3 องค์ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถ 2 องค์ ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 ภายในประดิษฐาน หมู่กุฏิก่ออิฐฉาบปูน และพระปรางค์องค์สีขาว ศิลปะอยุธยาตอนปลาย รัตนโกสินตอนต้น ทรงฝักข้าวโพด ฐานเป็นฐานเขียง 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ฐานเขียงชั้นที่ 2 ที่ด้านทิศเหนือและใต้ เหนือขึ้นเป็นชุดฐานปัทม์ (ฐานบัว 4 ชั้น) เรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศ กรอบซุ้มปั้นปูนเป็นลวดลายพญานาค ยอดปรางค์ซ้อน 7 ชั้น เหนือสุดเป็นรูปบัวคลุ่มที่เป็นทรงโดมสูงและนภศูลโลหะ[2]

วันที่ 1 มกราคม 2563 พระสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทาราม หนองขาว ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ อุโบสถ, ศาลาการเปรียญ, ศาลาธรรมสังเวช, และปรับภูมิทัศน์บริเวณในวัดให้เป็นหมวดหมู่ สะสางเรื่องบัญชีวัดให้โปร่งใส สนับสนุนพระภิกษุภายในวัดได้รับการศึกษา ทั้งเรียนนักธรรมบาลีและเรียนวิทยาลัยสงฆ์ โดยมีพระสมุห์สมโภชน์ เจ้าอาวาสให้การสนับสนุนด้านการศึกษาทั้งหมด

ในปี 2564 ได้รับเลือกวัดอินทาราม เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2564 และได้รับการแต่งตั้ง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรี แห่งที่ 39

ในปี 2565 ได้จัดพิธียกช่อฟ้าศาลาการเปรียญ ในวันที่ 15 เมษายน 2565 และได้รับการคัดเลือกจากคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรี ให้จัดงาน หมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อรับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ ของคณะสงฆ์หนกลาง ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ในวันที่ ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์ภาค 14 ให้วัดอินทาราม สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรี แห่งที่ 39 ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ที่มีผลงานดีเด่น ประจำหนกลาง รับ ณ วัดไร่ขิง

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระอธิการกลม พ.ศ. 2320–2325
  • พระอธิการเถื่อน พ.ศ. 2325–2347
  • พระอธิการภู่ พ.ศ. 2347–2397
  • พระอธิการชุบ พ.ศ. 2397–2422
  • พระอธิการหมอน พ.ศ. 2422–2431
  • พระอธิการเอี้ยง พ.ศ. 2431–2436
  • พระอธิการพัด พ.ศ. 2436–2440
  • พระอธิการชุ่ม พ.ศ. 2440–2444
  • พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้ ปทุมรัตโน) พ.ศ. 2444–2447
  • พระครูจริยาภิรัต (หลวงพ่อยันต์) พ.ศ. 2447–2467
  • พระครูโกวิทสุตคุณ (หลวงพ่อพยอม โกวิทโท) พ.ศ. 2467–2526
  • พระครูปลัดแน่น ปุสฺโส พ.ศ. 2526–2528
  • พระครูอินทคุณากร (หลวงพ่อฮับ เซี่ยงฉี่) พ.ศ. 2528–2533
  • พระครูสมุธเนศ (รักษาการ) พ.ศ. 2533–2535
  • พระครูกาญจนวิธาน (หลวงพ่อจอก สุชาโต) (รักษาการ) พ.ศ. 2535–2537
  • พระครูถาวรกาญจนนิมิต (หลวงพ่อจีรศักดิ์ ถาวโร) พ.ศ. 2537–2553
  • พระครูสังฆรักษ์วินัย อินฺทวินโย พ.ศ. 2553–2562 (ลาสิกขา)
  • พระสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย วันที่ 30 ตุลาคม 2562(รักษาการ) วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563-แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดอินทาราม". พระสังฆาธิการ.
  2. "วัดอินทาราม". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.