วัดสรศักดิ์
เจดีย์ทรงกลมที่มีช้างล้อมรอบฐานของวัดสรศักดิ์ | |
ที่ตั้ง | ภายในกำแพงเมืองของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, ประเทศไทย |
---|---|
พิกัด | 17°01′22.7″N 99°42′16.4″E / 17.022972°N 99.704556°E |
ประเภท | โบราณสถาน |
ส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย |
ความเป็นมา | |
วัสดุ | อิฐ |
สร้าง | พ.ศ. 1955–60 |
สมัย | สุโขทัยตอนปลาย |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | ลังกา |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดสรศักดิ์ |
ขึ้นเมื่อ | 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย |
เลขอ้างอิง | 0004106 |
วัดสรศักดิ์ เป็นโบราณสถานภายในกำแพงของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้กับประตูศาลหลวง ประตูเมืองด้านทิศเหนือ
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]โบราณสถานภายในวัดสรศักดิ์ ประกอบไปด้วยเจดีย์ประธาน และวิหาร
เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบหนึ่งที่นิยมสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้วคือ เจดีย์ทรงกลมที่มีช้างล้อมรอบฐาน ตามความเชื่อที่ว่าช้างเป็นสัตว์พาหนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ที่คู่ควรกับการเป็นพาหนะค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอด 5,000 ปี[1]: 19
เดิมเจดีย์ได้หักพังลงหมดแล้ว เหลือเฉพาะส่วนฐานที่มีช้างล้อม ซึ่งตรงกับข้อความในจารึก อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างต่อเติมขึ้นใหม่เมื่อครั้งกรมศิลปากรบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2546[2]: 64
ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานเป็นที่ตั้งของวิหาร จากฐานและตอเสาที่หลงเหลืออยู่ สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้คงมีหลังคาทรงจั่วและมีเฉลียงโดยรอบ[3]: 49
ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวว่าข้อมูลจากจารึกชี้ให้เห็นถึงการสร้างวัดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรื่องของกษัตริย์และเจ้านาย ส่วนขุนนางที่จะสร้างวัดต้องขอพระราชานุญาตก่อน และเจดีย์ทรงระฆังที่ประดับด้วยประติมากรรมช้างล้อมรอบ น่าจะได้รับความนิยมมาถึงในช่วงเวลานี้[2]: 64
-
วิหารของวัดสรศักดิ์
-
ช้างประดับภายในเจดีย์ประธาน
-
คติช้างล้อมเจดีย์เป็นคติที่มาจากลังกา
-
วัดสรศักดิ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
โบราณวัตถุ
[แก้]จารึกวัดสรศักดิ์
[แก้]— ส่วนเปิดของจารึกวัดสรศักดิ์เป็นคำปริวรรตโดยฉ่ำ ทองคำวรรณ กล่าวถึงนายอินทรสรศักดิ์ขอพระราชทานที่ดินจากพ่ออยู่หัว เพื่อสร้างพระอารามถวาย
จารึกวัดสรศักดิ์ หรือจารึกหลักที่ 49 เป็นแผ่นหินชนวนรูปทรงเสมา โดยมีขนาดกว้าง 96 เซนติเมตร สูง 144 เซนติเมตร หนา 19 เซนติเมตร โดยภายในจารึกมีหนึ่งด้าน โดยมีทั้งหมด 35 บรรทัด จารึกเป็นตัวอักษรไทยสุโขทัย เนื้อหาของจารึกกล่าวถึงนายอินทรศักดิ์ หรืออินทรสรศักดิ์ หรืออินทราสรศักดิ์ ขอพระราชทานที่ดินขนาด 15 x 30 วา จากเจ้าท่านออกญาธรรมราชา หรือพญาไสลือไท เพื่อสร้างพระอารามถวาย สร้างมหาเจดีย์มีช้างประกอบด้วยพระเจ้าหน่อยตีนและวิหารหอพระ สร้างในปี พ.ศ. 1955 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 1960 ครั้นสร้างสำเร็จแล้วจึงให้นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ จากตำบลดาวขอน ผู้เป็นน้าของออกญาธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย ให้มาจำพรรษาที่วัดนี้ด้วย[4][1]: 19 [2]: 63
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1959 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ขณะยังทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล พร้อมพระราชมารดาและพระมาตุจฉาที่เมืองสุโขทัย การเสด็จคราวนี้พระมาตุจฉาได้เสด็จเข้าพำนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกติดกับวัดสรศักดิ์ ความในจารึกวัดสรศักดิ์นี้เองที่ช่วยชี้ตำแหน่งของพระตำหนักหรือวังเจ้านาย ตลอดถึงกษัตริย์ของสุโขทัยว่าควรจะอยู่ตรงบริเวณทิศตะวันตกของวัดสรศักดิ์ เหนือศาลาตาผาแดง และที่ปัจจุบันเป็นถนนจากวัดมหาธาตุผ่านศาลตาผาแดง ผ่านวัดสรศักดิ์ และพระตำหนัก สู่ประตูศาลหลวงด้านทิศเหนือนี้คือ “สนาม” ที่กล่าวถึงในจารึกวัดสรศักดิ์[1]: 19
นอกจากนี้ จารึกได้กล่าวถึงการสร้างพระเจ้าหย่อนตีน โดยที่อีกด้านหนึ่งของจารึกได้ปรากฏพระพุทธรูปสลักเป็นพระลีลาอยู่ด้วย ประเสริฐ ณ นคร ให้ข้อคิดเห็นว่าพระเจ้าหย่อนตีนในที่นี้อาจหมายถึงพระพุทธรูปลีลาก็ได้ จึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปลีลาสมัยสุโขทัยนั้น คงมีมาก่อนหรืออย่างน้อยในช่วงปี พ.ศ. 1960 ก็รู้จักกันดีแล้ว[2]: 64
จารึกวัดสรศักดิ์พบที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของตระพังสอ เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยหน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 กรมศิลปากร, สำนักโบราณคดี. (2546). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ISBN 9749128125.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยและพัฒนา. ISBN 9749624491
- ↑ สันติ เล็กสุขุม. (2551). โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐาน มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์. ISBN 9789749450000
- ↑ ฉ่ำ ทองคำวรรณ. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต. 2508.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- A.B. Griswold & Prasert na Nagara: A Declaration of Independence – PDF-Datei der Siam Society mit Foto der Steininschrift 49, den Text in moderner Thai-Schrift sowie Übersetzung des Textes in Englisch
- Betty Gosling: Sukhothai Its History, Culture, And Art. Asia Books (Oxford University Press), Bangkok 1991, ISBN 974-8206-85-8
- A.B. Griswold: Towards A History Of Sukhothai Art. The Fine Arts Department, Bangkok 1967 (ohne ISBN)
- Dawn F. Rooney: Ancient Sukhothai, Thailand's Cultural Heritage. River Books, Bangkok 2008, ISBN 978-974-9863-42-8