วัดยาง (บางจาก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดยางบางจาก)
วัดยาง
วัดยางบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.jpg
Map
ชื่อสามัญวัดยาง, วัดยาง (บางจาก), วัดยางบางจาก
ที่ตั้ง128 ซอยเพชรเกษม 28 แยก 21 ถนนเพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ ภายในพระอุโบสถ
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อนพเก้า
เวลาทำการทุกวัน เวลา 06.00–21.00 น.
เว็บไซต์https://www.facebook.com/watyang.pasicharoen.bangkok/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
วิหารหลวงพ่อนพเก้า

วัดยาง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี ติดคลองบางจาก ปัจจุบันตั้งอยู่ในแขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิกาย

ประวัติ[แก้]

วัดยางสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2383 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2388 โดยที่มาของชื่อวัด เนื่องจากที่หลังคาพระอุโบสถมักจะมีนกกระเรียนมาเกาะอยู่เสมอ และในบริเวณวัดมีการปลูกต้นยาง รวมทั้งด้านทิศใต้ของวัดติดคลองบางจาก จึงได้ชื่อว่า"วัดยาง (บางจาก)" ปัจจุบันมีพระครูสังฆรักษ์สามารถ สุจิณฺโณ เป็นเจ้าอาวาส และมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษารวมทั้งสิ้น 13 รูป

อาณาบริเวณวัด[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดกับซอยเพชรเกษม 28 แยก 21
  • ทิศตะวันออก ติดกับซอยเพชรเกษม 28
  • ทิศใต้ ติดกับคลองบางจาก
  • ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินของเอกชน

สิ่งก่อสร้างและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด[แก้]

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัด พระอุโบสถเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกาประดับ เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยมีการค้าขายทางเรือสำเภากับสาธารณรัฐประชาชนจีน วัดในสมัยนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากจีนมาด้วย ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางตรัสรู้ มีพุทธลักษณะงดงามมาก สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยาคือ หลวงพ่อนพเก้า สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 84 นิ้ว สูง 95 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก โดยเฉพาะที่มาของชื่อองค์หลวงพ่อคือ มีนิ้วเท้าจำนวน 9 นิ้ว กล่าวขานกันว่าท่านมีเมตตามหานิยม และให้โชคลาภแก่ชาวบ้านและผู้ที่มากราบไหว้เป็นประจำ ซึ่งทางวัดได้กำหนดจัดงานสักการะบูชาและปิดทองหลวงพ่อนพเก้าเป็นประจำในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

สำหรับรถโดยสารประจำทางไม่สามารถเข้ามาถึงบริเวณวัดได้โดยตรง เนื่องจากซอยทางเข้าวัดค่อนข้างคับแคบ แต่สามารถลงจากรถโดยสารประจำทางที่ป้ายรถเมล์บริเวณถนนเพชรเกษมและถนนราชพฤกษ์เพื่อเดินทางเข้ามาที่วัดได้

  • สายรถประจำทางจากถนนเพชรเกษม
    • 7 วัดราษฎร์รังสรรค์ - สถานีรถไฟหัวลำโพง
    • 7ก พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - พาหุรัด
    • 80 วัดศรีนวลธรรมวิมล - สนามหลวง
    • 80ก หมู่บ้านวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 11 - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
    • 84 วัดไร่ขิง - สถานี BTS วงเวียนใหญ่
    • 84ก หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา 3 - วงเวียนใหญ่
    • 91 หมู่บ้านเศรษฐกิจ - สนามหลวง
    • 91ก สนามหลวง 2 - สนามหลวง
    • 101 พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - ตลาดโพธิ์ทอง
    • 147 วงกลมการเคหะธนบุรี - เดอะมอลล์บางแค - เดอะมอลล์ท่าพระ
    • 165 พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
    • 189 วัดบางยาง (กระทุ่มแบน) - สนามหลวง
    • 509 บางแค - หมอชิต 2
    • 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา 3 - สวนลุมพินี
      • สำหรับฝั่งมุ่งหน้าแยกท่าพระ สามารถลงได้ที่ป้ายรถเมล์ตลาดเสนีย์ บริเวณปากซอยเพชรเกษม 28 และเดินเข้าซอยเพื่อเดินทางเข้าวัดยาง สำหรับฝั่งมุ่งหน้าแยกต่างระดับเพชรเกษม สามารถลงได้ที่ป้ายรถเมล์โรงพยาบาลพญาไท 3 บริเวณปากซอยเพชรเกษม 21 และข้ามสะพานลอยไปซอยเพชรเกษม 28 และเดินเข้าซอยเพื่อเดินทางเข้าวัดยาง

ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]