วัดพนมยงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพนมยงค์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพนมยงค์, วัดพระนมโยง, วัดพนมโยง, วัดจอมมะยงค์
ที่ตั้งตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพนมยงค์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองเมืองในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดพนมยงค์สร้างขึ้นในราวรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ. 2173–2198 เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นสวนของพระนมในราชสำนักของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีนามว่า โยง หรือ ยง เมื่อพระนมโยงได้ถึงแก่อนิจกรรมลงแล้ว เจ้านายบางองค์ได้ระลึกถึงอุปการคุณ จึงได้สร้างวัดขึ้นที่สวนของพระนมเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่พระนม วัดที่สร้างขึ้นจึงได้มีนามว่า วัดพระนมโยง ต่อมาเรียกว่า วัดพนมโยง วัดจอมมะยงค์ หรือ "วัดพนมยงค์" ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 วัดนี้ได้ถูกปล่อยทิ้งร้าง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาตระกูลพนมยงค์ได้เป็นโยมอุปถัมภ์วัดนี้มาจนถึงในปัจจุบัน[1]

อุโบสถทรงท้องสำเภา อันเป็นคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่แฝงอยู่กับคติเถรวาท มีหมายถึงพุทธศาสนาเป็นดั่งสำเภาที่จะพาปุถุชนข้ามโอฆสังสารไปสู่ความสิ้น ทุกข์ พระพุทธรูปในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารโปร่ง คือมีฝาผนังตันที่ด้านหัวและท้ายของตัววิหารชั้นเดียว ฐานเตี้ย ผนังด้านข้างโปร่งทั้งสองข้าง พระพุทธรูปปางไสยาสน์[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดพนมยงค์". ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม.
  2. ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์. "พระนอนวัดพนมยงค์ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม". ข่าวสด.