วัดบ้านใหม่ (จังหวัดนครนายก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบ้านใหม่
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบ้านใหม่
ที่ตั้งเลขที่ 32 บ้านบ้านใหม่ หมู่ที่ 6 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว
เจ้าอาวาสดร.พระมหาเศกสิทธิ์ รตนโมลี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 32 บ้านบ้านใหม่ หมู่ที่ 6 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ จดที่ดินของนายบัวเงิน ศิริสนธิ
  • ทิศใต้ จดแม่น้ำนครนายก
  • ทิศตะวันออก จดที่ดินของนายสงวน นางกิมเฮียง
  • ทิศตะวันตก จดที่ดินของนางทองปีน ทองมี
  • ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 1966[1]

ประวัติ[แก้]

วัดบ้านใหม่ มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั่งสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระบัญชาให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์ขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์เมื่อ พ.ศ. 2321 และกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินต่างๆมายังเมืองสยาม และมีชาวล้านช้างกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งรกลากที่ดินแดนแห่งนี้ร่วมกลุ่มชนดั้งเดิมที่พำนักอยู่ก่อนแล้ว พร้อมกับได้นำปูชนียวัตถุสำคัญที่ตนเคารพบูชาติดมาด้วยนั้นคือ พระเชียงแสนหน้าลาวซึ่งมีอายุประมาณ 700 กว่าปี และได้สร้างศาสนะสถานในชุมชนของตนมาตั้งแต่นั้น ภายหลังได้สร้างถาวรวัตถุหลายอย่างอาทิเช่นกุฏิวิหารและอุโบสถ โดยเฉพาะอุโบสถนั้นเป็นทรงโบราณ คือมีฝาผนังด้านหลังพระประธานด้านเดียว ที่เหลือเปิดโล่งทั้งสามด้านประชาชนสามารถมองเห็นพระสงฆ์ทำสังฆกรรมได้ (ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ในหลวงรัชการที่1 ขึ้นครองราชพระองค์ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการเร่งด่วน ทรงมีบัญชาให้เจ้าพระยายมราชและคณะยกพลขึ้นไปหัวเมืองฝ่ายเหนือคือเมืองฝางซึ่งเมื่อก่อนเจ้าพระฝางปกครองอยู่ตอนนั้นเหลือแต่วัดร้างเป็นจำนวนมากเนื่องจากพระสงฆ์ยุคเจ้าพระฝางถูกพระเจ้ากรุงธนปราบราบคาบและจับพระทุศีลสึกหมด ทรงให้เก็บรวบรวมเอาพระพุทธรูปตามวัดร้างต่างๆทั้งหมดบรรทุกเรือล่องมาทางแม่น้ำ และให้นำขึ้นไปประดิษฐานไว้ตามวัดที่มีประชาชนให้ความอุปถัมภ์อยู่ นี้จึงเป็นที่มาของหลวงพ่ออู่ทองแห่งวัดบ้านใหม่ซึ่งเป็นพระสกุลช่างศิลปะสมัยอู่ทองหรือหลวงพ่อยืน สูง 169 ซ.ม. และหลวงพ่อพิกุลทอง รวม 2 องค์

ต่อมาสมัยหลวงพ่อดำ (พระครู่สิลธรรมวิมล)เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2519 มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 21 เมตร ยาว 26 เมตร

  • วัดบ้านใหม่ได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นวัดร้างอยู่ช่วงระยะหนึ่งอันเนื่องจากภัยธรรมชาติโดยมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าเม่อราวๆปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๖ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวต่างชาติ ๒ คนคือบาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดา เวนพอร์ท เดินทางมาถึงนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายก มีพลเมืองประมาณ ๕,๐๐๐ คน ส่วนมากเป็นชาวลาวและมีชาวสยามอยู่ด้วยกัน ราษฏรประกอบอาชีพทำนาปลูกข้าวและหาของป่าส่งขายที่กรุงเทพฯ สมัยนั้นมีไข้ป่าชุกชุมมากผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนเกือบกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวนครนายกจึงโปรดให้ยกเลิกภาษี ค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมและผู้คนที่อพยพออกไปได้กลับมาอยู่ที่เดิมสร้างบ้านเรือนขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ และได้ปฏิสังขรวัดขึ้นมาใหม่ ตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้านว่าวัดบ้านใหม่ โดยมี พระครูดำ กนฺตสีโล เป็นผู้นำพาชาวบ้านปฏิสังขร์วัด

ศาสนวัตถุ[แก้]

  1. พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว สูง - นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539
  2. พระประธานในศาลาการเปรียญ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 48 นิ้ว สูง - นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541
  3. พระพุทธรูป ปางสมาธิ ฐานพระอรหันต์ 500 จีวรดอกพิกุลเนื้อทองสัมฤทธิ์(หลวงพ่อพิกุลทอง) ขนาดพระเพลากว้าง 20 นิ้ว หรือนิยมเรียกนามท่านว่า พระรัตนะ สร้างยุคราชวงศ์พลูหลวง อยุธยาตอนปลาย
  4. พระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร สูง 169 เซนติเมตร ศิลปอู่ทอง หรือสมัยอู่ทอง สร้างสมัยพระบรมไตรโลกนาถรัชการที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา(พ.ศ. 1991-2031)
  5. หลวงพ่อเชียงแสนหน้าลาว หน้าตัก 12 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ยุคเชียงแสนซึ่งเป็นตระกูลพระบูชาที่มีชื่อระดับต้น ๆ ดังที่นักนิยมพระกล่าวกันว่าถ้าเป็นพระบูชายอดนิยมก็ต้องเป็นพระสามสิงห์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง
  6. หลวงพ่อหิน หรือหลวงพ่อศิลาล้านปี ขนาดหน้าตัก 80 นิ้ว นายช่างจำหลักด้วยศิลาแรงปางประธานพร

เสนาสนะ[แก้]

  1. อุโบสถ ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 14 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 ลักษณะ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2519 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 21 เมตร ยาว 26 เมตร
  2. ศาลาการเปรียญ กว้าง 13 เมตร ยาว 27 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 ลักษณะ เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  3. หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 ลักษณะ เป็นอาคารไม้
  4. กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้
  5. วิหารตรีมุขประดิษฐานหลวงพ่อศิลาล้านปี (พระพุทธรูปหินศักดิ์สิทธิ์ หนัก 3.5 ตัน)
  6. วิหารจตุรมุข
  7. กุฏิทรงยาว 30 เมตร 9 ห้อง

นอกจากนี้ ยังมี ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง ฌาปนสถาน 1 หลัง

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาสวัดลำบัว
ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระคลี่ เจ้าอาวาส พ.ศ. 2321 พ.ศ. -
2 พระดี เจ้าอาวาส - -
3 พระสว่าง เจ้าอาวาส - -
4 พระอธิการดุม ฐานกโร เจ้าอาวาส พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2509
5 พระครูดำ กนฺตสีโล เจ้าอาวาส พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2547
6 พระสุวรรณ ฐิติรัตน์ เจ้าอาวาส พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2554
7 พระใบฎิกาไพรัตน์ ติกฺขวีโร เจ้าอาวาส พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
8 ดร.พระมหาเศกสิทธิ์ รตนโมลี เจ้าอาวาส พ.ศ. 2558

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือประวัติทั่วราชอาณาจักร (ประวัติวัดจังหวัดนครนายก) เล่มที่ ๑๙ หน้า ๒๘๐ : กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ