วัดบ้านอรุณพัฒนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบ้านอรุณพัฒนา
พระประธานกลางโดมลานธรรม
แผนที่
ที่ตั้งบ้านอรุณพัฒนา ตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

สำนักสงฆ์วัดบ้านอรุณพัฒนา ตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ 11 บ้านอรุณพัฒนา ตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ทั้งหมด 23 ไร 3 งาน เป็นพี้นที่ราบสูง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หมายเลขทะเบียนสำนัก 3029 - 01002 - 747 อ้างอิง [1]

ประวัติ[แก้]

ป้านทางเข้าวัดบ้านอรุณพัตณา เลขที่ 96 หมู่ 11 ตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา

สำนักสงฆ์วัดบ้านอรุณพัฒนา ตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เดิมชื่อสำนักสงฆ์วัดบ้านสามขา ที่เป็นที่รู้จักกันในตำบลบ้านยาง เพราะว่าชาวบ้านตำบลเขตนั้นแต่เดิมเรียกชื่อบ้านอรุณพัฒนาว่าบ้านสามขา เป็นที่มาของชื่อสำนักสงฆ์วัดบ้านสามขา แต่ชื่อวัดยังไม่แน่นนอนในรายชื่อวัดจังหวัดนครราชสีมา เป็นสำนักสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่เขตชุมชน เพราะที่ ๆ วัดสร้างบนพื้นที่ สปก. ของชุมชนบ้านอรุฒพัฒนา ที่ช่วยกันสร้างสำนักสงฆ์ไห้เป็นวัดอย่างสมบรูณ์แบบและกำลังอยู่ในช่วงก่อสร้างอารามเพื่อไห้ครบองค์ประกรอบของการจัดตั้งไห้เป็นวัด กำลังสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม โดยการดำเนินการของหลวงพ่อเจ้าอาวาส ที่มุงเน้นในเรื่องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเป็นจุดศุนย์รวมของชาวบ้านในการสร้างจิตใจที่ดี่งามและศึกษาแสวงหาในธรรมะเพื่อสติปัญญาที่ดี่มีคุณธรรม ในการดำลงชีวิตแบบวิถีพุทธ

ศาสนะวัตถุ[แก้]

  1. พระประธานพระพุทธรูปประจำศาลา ปาง นั้งสมาธิ
  2. พระพุทธรูปประจำลานธรรม ปาง นั้งสมาธิ
  3. พระพุทธรูปด้านหน้าวัด ปาง เดินธุดงค์
พระประธานพระพุทธรูปประจำศาลา ปาง นั้งสมาธิชาวคณะบ้านอิติสุคะโต ร่วมกับ #คุณวิวรรณ บุญยประทีปรัตน์#คุณแม่พราหม์ธีราพร น่วมอินทร์ #คุณแม่ต้อย อินทิราพา ได้ฤกษ์งาม#คุณพี่เติ่ง ผ่องศรี มนุษยธรรม #คุณไอซ์ พิเชษฐ สภาพพงษ์พร้อมครอบครัว และคณะญาติธรรม เดินทางไปแสวงบุญถวายพระประธานปางมารวิชัย และพระสิวลี ณ วัดอรุณพัฒนา(วัดสามขา) อ.ลำทะเมนชัย จ.นครราชสีมา

อาคารเสนาสนะ[แก้]

  1. ศาลากลาง ตึกชั้นเดียว 4 ห้อง ยาว 24 เมตร กว้าง 8 เมตร
  2. หอระฆัง สองชั้น สูง 12 เมตร กว้าง 2 เมตร 50 ตารางวา
  3. อาคารอเนกประสงค์ ชั้นเดียว ยาว 22 เมตร กว้าง 8 เมตร
  4. กุฏีสงฆ์ 7 หลัง กุฏิปูนชั้นเดียว 3 หลัง กุฎิไม้ 4 หลัง
    เป็นพระประธานกลางโดมลานธรรม
    !
    พระพุทธรูปด้านหน้าวัด ปาง เดินธุดงค์ ด้านหน้าวัด.
     !!
    พระพุทธรูปด้านหน้าวัด ปาง เดินธุดงค์

อาณาเขต[แก้]

ด้วยบุญยาธิการของท่านผู้เจริญได้สร้างบารมี ได้มาอยู่ที่วัดบ้านอรุณพัฒนา จึงมีการพัฒนาเกิดขึ้นตามลำดับการ
นายภูฉาย ครองไธสง

มีเนื่อที่ทังหมด 23 ไร 3 งาน[2]

  • ทิศอุดรติดพื้นที่ป่าไม้ที่ดินของเจ๊กลือ
  • ทิศทักษิณติดพื้นที่ป่าไม้ของเจ๊กลือ
  • ทิศบูรพาติดพื่นที่ป่าไม้ของเจ๊กกุ่ย
  • ทิศปัจฉิมติดพื้นที่ไร่ของครูคึก

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

  1. พระอาจารย์ หลวงตาแสง
องค์ปัจุจบัน พระอาจารย์แสง
  • หน้าที่ของเจ้าอาวาสและอำนาจของเจ้าอาวาส

หมวด 3 การปกครองคณะสงฆ์ ________

มาตรา 20* คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม

  • [มาตรา 20 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 20 ทวิ* เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค ให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ การแต่งตั้งและการกำหนดอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

  • [มาตรา 20 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 21 การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้จัดแบ่งเขตปกครอง ดังนี้ (1) ภาค (2) จังหวัด (3) อำเภอ (4) ตำบล จำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถร สมาคม มาตรา 22 การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้มีพระภิกษุเป็น ผู้ปกครองตามชั้นตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (1) เจ้าคณะภาค (2) เจ้าคณะจังหวัด (3) เจ้าคณะอำเภอ (4) เจ้าคณะตำบล เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นสมควรจะจัดให้มีรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะตำบล เป็นผู้ช่วย เจ้าคณะนั้น ๆ ก็ได้ มาตรา 23 การแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครอง คณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

หมวด 4 นิคหกรรมและการสละสมณเพศ ______

มาตรา 24 พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมก็ต่อเมื่อกระทำการล่วง ละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรม ตามพระธรรมวินัย มาตรา 25 ภายใต้บังคับมาตรา 24 มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรา กฎมหาเถรสมาคมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรม เป็นไปโดยถูกต้อง สะดวกรวดเร็วและเป็นธรรม และให้ถือว่าเป็นการชอบด้วย กฎหมายที่มหาเถรสมาคมจะกำหนดในกฎมหาเถรสมาคมให้มหาเถรสมาคม หรือพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใดเป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ ผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย กับทั้งการกำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้ เป็นอันยุติในชั้นใด ๆ นั้นด้วย มาตรา 26 พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัย ถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบ คำวินิจฉัยนั้น มาตรา 27* เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (หน้า 11/19) ไปที่หน้า: มาตรา 27* เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น (2) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ (3) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง (4) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎมหาเถรสมาคม พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายใน สามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น

  • [มาตรา 27 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 28 พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคล ล้มละลาย ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด มาตรา 29 พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและ เจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงาน สอบสวนไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้ สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุ รูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ มาตรา 30 เมื่อจะต้องจำคุก กักขังหรือขังพระภิกษุรูปใดตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติ การให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุ รูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น หมวด 5 วัด ____

มาตรา 31* วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป *[มาตรา 31 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 32 การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิกให้ตกเป็นศาสนสมบัติ กลาง มาตรา 32 ทวิ* วัดใดเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการยุบเลิกวัด ให้กรมการศาสนามีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาวัดนั้น รวมทั้ง ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และทรัพย์สินของวัดนั้นด้วย การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  • [มาตรา 32 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 33 ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้ (1) ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น (2) ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด (3) ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา

มาตรา 34* การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้อง และได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือกรมการศาสนา แล้วแต่ กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง

  • [มาตรา 34 แก้ไขโดยพระราชบ ัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 35* ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่ง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

  • [มาตรา 35 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 36 วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง และถ้าเป็นการสมควรจะ ให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้ มาตรา 37 เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี (2) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัย อยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือ คำสั่งของมหาเถรสมาคม (3) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ (4) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้ (1) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไป อยู่อาศัยในวัด (2) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไป เสียจากวัด (3) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงาน ภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้น ประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม มาตรา 39 ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาสหรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสมีอำนาจ และหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม หมวด 6 ศาสนสมบัติ ______

มาตรา 40 ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมิใช่ของวัดใด วัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลาง นั้นด้วย การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 41 ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของ ศาสนสมบัติกลางด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้งบประมาณนั้นได้ หมวด 7 บทกำหนดโทษ _______

มาตรา 42* ผู้ใดมิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอน จากความเป็นพระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แล้ว กระทำการบรรพชาอุปสมบท แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี

  • [มาตรา 42 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 43* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 15 จัตวา วรรคสอง มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคสาม หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี

  • [มาตรา 43 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 44* ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้ว ไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่ โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี *[มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 44 ทวิ* ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • [มาตรา 44 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

มาตรา 44 ตรี* ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อ ให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • [มาตรา 44 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

หมวด 8 เบ็ดเตล็ด ______

มาตรา 45 ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 46* การปกครองคณะสงฆ์อื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 46 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ส.ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี

_______________________________หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัด ดำเนินกิจการคณะสงฆ์ มิใช่เป็นกิจการอันพึงแบ่งแยกอำนาจดำเนินการด้วยวัตถุ ประสงค์เพื่อการถ่วงดุลย์แห่งอำนาจเช่นที่เป็นอยู่ตามกฎหมายในปัจจุบัน และ โดยที่ระบบเช่นว่านั้นเป็นผลบั่นทอนประสิทธิภาพแห่งการดำเนินกิจการ จึงสมควร แก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้สมเด็จพระสังฆราชองค์สกลมหาสังฆปริณายกทรง บัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคม ตามอำนาจกฎหมายและพระธรรมวินัย ทั้งนี้ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา

__________________พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535

มาตรา 18 บรรดากฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมที่ออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 19 วัดที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 20 ให้พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์อยู่ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ยังมีสมณศักดิ์นั้นต่อไป ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ กรรมการหรืออนุกรรมการใดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 หรือตาม กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ยังคงดำรงตำแหน่งหรือ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระการดำรงตำแหน่งหรือจนกว่ามหาเถรสมาคมจะมีมติ เป็นประการอื่น __________________หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราช บัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุง บทบัญญัติว่าด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ แทนสมเด็จพระสังฆราช การแต่งตั้งและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุ อำนาจ หน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ของมหาเถรสมาคม การปกครอง การสละสมณเพศ ของคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น วัด การดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด และ ศาสนสมบัติกลาง ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2535/16/5/4 มีนาคม 2535]

ตามมาตรา 37 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)[3]

พ.ศ. 2535 ได้จำแนกหลักการปกครองวัดอันเป็นหน้าที่ โดยตรงของเจ้าอาวาสที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นภารกิจประจำตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส แยกออกเป็น 6 ประการ คือ

1. การบำรุงรักษาวัดให้เป็นไปด้วยดี 2. การจัดกิจการของวัดให้เป็นไปด้วยดี 3. การจัดศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี 4. การปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ในวัดประพฤติดีปฏิบัติชอบ 5. การเป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ 6. การให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศลของประชาชน

ระเบียงภาพ[แก้]



อ้างอิง[แก้]

[4] [5] [6]

  1. [[1]]
  2. [2]
  3. http://www.angelfire.com/nm/analai2/korach.htm
  4. https://www.facebook.com/banittizukatho?fref=ts
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-10-07.