วัดบ้านสร้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบ้านสร้าง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบ้านสร้าง เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีความเก่าแก่กว่าร้อยปีมีประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีพระพุทธสำคัญที่มีประวัติเกี่ยวข้องตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย

วัดบ้านสร้างตั้งอยู่เลขที่ 55  หมู่ 5 ตำบลบ้านสร้าง  อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่  19 ไร่ 20 ตารางวา

ประวัติ[แก้]

พื้นที่ตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ติดริมคลองบ้านสร้าง  มีทางหลวงหมายเลข 309  (ถนนโรจนะ) เชื่อมระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา – อำเภอวังน้อย  ผ่านทางด้านทิศเหนือของวัดบ้านสร้าง

วัดบ้านสร้างเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย   สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2375   เดิมชื่อว่า “วัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก”แล้วมากลายสภาพเป็นวัดร้าง,     และต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง  ชื่อหลวงตา “แย๋ว” (ไม่ปรากฏนามสกุล  และภูมิลำเนาเดิม ว่ามาจากที่ใด)  ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ท่านได้พัฒนา  และบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ      ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ราวปี พ.ศ. 2380

ด้านการการศึกษา  และเผยแผ่พุทธศาสนา วัดบ้านสร้างได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 สมัยนั้นแต่ละปี จะมีนักเรียนไม่น้อยกว่า  30 รูป หรือมากกว่านั้น  และจัดให้มีการเทศน์ธรรมในทุก ๆ วันพระ (วันธรรมสวนะ) และยังปฏิบัติเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ลำดับการปกครองของอดีตเจ้าอาวาส[แก้]

เท่าที่หลักฐานปรากฏ   วัดบ้านสร้างมีเจ้าอาวาสวัด  รวมถึงรูปปัจจุบันด้วย   มี  10 รูป

  • หลวงตาแย๋ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 – 2447, (ไม่ทราบภูมิลำเนา)
  • หลวงตามา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 – 2450, (ไม่ทราบภูมิลำเนา)
  • พระครูนิเทศธรรมกถา, (หลวงพ่อพัน ธมฺมโชติ)  ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านคลองควาย ตำบลบ้านกรด  อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   รับตำแหน่งเจ้าอาวาส    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 – 2486,
  • หลวงพ่อจวน  เวโรจโน   ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านวังคุ้งแมว   ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รักษาการแทนเจ้าอาวาส)   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 – 2504,
  • พระครูปิยธรรมโฆษิต  ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่  จังหวัดนนทบุรี  กรุงเทพ ฯ  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 – 2517,
  • พระครูวิโรจน์ธรรมรัตน์,(หลวงพ่อจวน เวโรจโน) อดีตรักษาการแทน  รูปที่ 4,  รับตำแหน่งเจ้าอาวาส    ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2517 – 2542,
  • พระสมุห์สวัสดิ์ กิตฺติสาโร   ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านวังคุ้งแมว ตำบลลำตาเส  อำเภอ   วังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รักษาการแทนเจ้าอาวาส) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – 2543,
  • พระครูสุวรรณ จันทโรภาส, ( ประดิษฐ์   จนฺทสุวณฺโณ )ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านวังคุ้งแมว ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2557,
  • พระสมุห์สวัสดิ์  กิตฺติสาโร

ปูชนียวัตถุ[แก้]

เป็นของเก่าแก่ที่มีมาแต่เดิมของวัดบ้านสร้าง เช่น พระพุทธรูปประธานในอุโบสถ 1 องค์  มีขนาดพระเพลากว้าง  2 ศอก 7 นิ้ว สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์  โดยมี พระยาดำรงค์ราชานุภาพ  อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถ  ราว พ.ศ. 2466

พระปรางค์ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโบสถ ทั้งด้านขวา  และซ้าย รวม 2 องค์  มีขนาดฐานกว้างด้านละ 5 เมตร สูง  8 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2462 มีภาพจิตรกรรม  เรื่องทศชาติชาดก ซึ่งเขียนไว้ที่ผนังภายในอุโบสถ ทั้ง 4 ด้าน เขียนโดย “ครูอ่อน”  (ไม่ปรากฏนามสกุล  และภูมิลำเนาเดิม ว่ามาจากที่ใด)

อาคารเสนาสนะ[แก้]

สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอาคารเสนาสนะต่าง ๆ เช่น

อุโบสถกว้าง 11 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2453 โครงสร้างก่ออิฐถือปูน เพดานด้านบนเป็นไม้ ศาลาจตุรทิศเป็นศาลาอยู่มุมกำแพงแก้วของอุโบสถ มีตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งมีจำนวน 3 หลัง ศาลาการเปรียญ กว้าง 15 เมตร  ยาว  46.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก    มี  2 ชั้น หอสวดมนต์ (ศรีอนันต์) กว้าง 12.50 เมตร ยาว  20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงเรียนสอนปริยัติธรรม กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มี 2 ชั้น หอระฆัง กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เมรุ กว้าง 10 เมตร ยาว  20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534   เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาเอนกประสงค์ (เกตุอร่าม) กว้าง 15 เมตร   ยาว  15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 กว้าง 10 เมตร ยาว  24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล 2 กว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล 3 (สระบัว) กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฎีสงฆ์ จำนวน  16 หลัง โดยแบ่งเป็น เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  2 ชั้น  จำนวน  5 หลัง

อ้างอิง[แก้]

  • กรมการศาสนา.หนังสือประวัติวัดทั่วราชาอาณาจักร. (กรุงเทพ ฯ​ โรงพิมพ์กรมการศาสนา,2535) หน้า 108

อ้างอิง[แก้]