วัดท่าช้าง (จังหวัดพิจิตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดท่าช้าง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดท่าช้าง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 18 ไร่ 2 งาน มีที่ธรณีวงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 76 ไร่ มีโฉนดทั้ง 2 แปลง

วัดท่าช้างตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2482[1] วัดมีรูปปั้นช้างพลายนิมิตรซึ่งเชื่อกันว่าเป็นช้างพลายงาเนียม ขี้หอม พรานสรรพยาคล้องได้ที่เมืองภูมิ และนำมาลงแพที่ฝั่งแม่น้ำน่านในบริเวณนี้ เพื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "วัดท่าช้าง"

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถกว้าง 7.75 เมตร ยาว 21.45 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 ศาลาการเปรียญกว้าง 20 เมตร ยาว 31 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2488 หอสวดมนต์กว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง และหอระฆังเก่าสร้างด้วยไม้มุงสังกะสี มี 4 มุข เจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูน[2] มีปูชนียวัตถุ คือ พระพุทธรูปชื่อ หลวงพ่อหิน[3] เป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดียุคต้น ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ที่มณฑปหลังใหญ่ กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร สูงจากฐานถึงยอดมณฑป 50 เมตร[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดท่าช้าง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. "วัดท่าช้าง". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  3. "วัดท่าช้าง". เทศบาลตำบลเนินมะกอก.
  4. "วัดท่าช้าง". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.