วัดกลาง (อำเภอท่าเรือ)
วัดกลาง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดกลาง ⟨วัดมณฑปทอง⟩ |
ที่ตั้ง | เลขที่ 138/1 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง - นิ้ว สูง - นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระครูจารุวรรณวิมล |
ความพิเศษ | ------ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 138/1 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ - ไร่.[1]
ประวัติ
[แก้]วัดกลาง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาราวปี พ.ศ. 2010 เดิมนั้นชื่อว่า “วัดมณฑปทอง” เข้าใจว่าจะใช้ชื่อมงคลนามของมณฑปทองที่ครอบรอยพระพุทธบาทมาตั้งเป็นชื่อวัดแห่งนี้ แต่ประชาชนนิยมเรียกกันตามภูมิประเทศว่า “วัดกลาง”" เพราะที่ตั้งวัดอยู่กลางชุมชนก็เลยเรียกกันติดปากว่าวัดกลาง ชื่อวัดมณฑปทองก็เลยหายไป จึงเป็นที่น่าเสียดามาก และสันนิษฐานได้ว่า “วัดมณฑปทอง” เป็นวัดที่สร้างขึ้เป็นวัดแรกในท้องถิ่นนี้.[2]
ศาสนวัตถุ
[แก้]พระพุทธรูปในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินขาวปิดทอง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง จำนวนสิบกว่าองค์.[3]
เสนาสนะ
[แก้]- 1.1 อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง - เมตร ยาว - เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- 1.2 หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. - กว้าง - เมตร ยาว - เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- 1.3 ศาลาการเปรียญ หลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง - เมตร ยาว - เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- 1.4 ศาลาการเปรียญ หลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง - เมตร ยาว - เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
- 1.5 กุฏิสงฆ์จำนวน - หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยสองชั้น
- 1.6 วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. - กว้าง - เมตร ยาว - เมตร
- นอกจากนี้ ยังมี ฌาปนสถาน หอระฆัง กุฏิเจ้าอาวาส ห้องสุข ศาลาอเนกประสงค์ โรงเก็บพัสดุ โรงครัว และซุ้มประตูวัด
โบราณสถาน
[แก้]อุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลังคามุงกระเบื้องราง ปูพื้นและผนังด้วยอิฐโบราณ[4]
โบราณวัตถุ
[แก้]มีแผ่นศิลาแผ่นใหญ่สีเขียวคล้ายที่รองนั่ง มี 2 แผ่น ทราบกันว่าได้ขนย้ายมาจากศาลาที่พักริมแม่น้ำป่าสัก บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักท้ายตลาดท่าเรือปัจจบัน เมื่อก่อนใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าทรงธรรมและเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวเสด็จทางเรือมานมัสการรอยพระพุทธบาท คือ เอาเรือจอดไว้ที่ท่าหน้าศาลาแล้วเสด็จขึ้นประทับบนศิลาที่อยู่ในศาลาแห่งนี้ ถ้าใครอยากทราบความพิศดารขอให้ไปดูได้ในหนังสือเรื่อง “พระประวัติของพระเจ้าทรงธรรม ตอนเสด็จนมัสการพระพุทธบาท”หรือ เรื่อง “นิราศพระพุทธบาท” ของสุนทรภู่[5]
การบริหารและการปกครอง
[แก้]ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]1. พระครูจารุวรรณวิมล - พ.ศ. - ถึง ปัจจุบัน .[6]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระครูจารุวรรณวิมล | เจ้าอาวาส | - | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.
- ↑ หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (พระนครศรีอยุธยา) เล่ม 3 หน้า 164, กรมการศาสนา.