วัดกยองคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกยองคำ
วัดกยองคำยามค่ำคืน
ศาสนา
ศาสนาพุทธเถรวาท
ที่ตั้ง
ประเทศอินเดีย
วัดกยองคำตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
วัดกยองคำ
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์27°40′02″N 95°51′57″E / 27.667208°N 95.865854°E / 27.667208; 95.865854
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2553

วัดกยองคำ เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธของชาวไทคำตี่แห่งหนึ่ง สร้างอย่างพุทธศิลป์พม่า ตั้งอยู่เมืองน้ำทราย รัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย มีขนาด 60 เฮกตาร์ เปิดให้ปฏิบัติศาสนกิจเมื่อ พ.ศ. 2553

ประวัติ[แก้]

วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่เจ้ากือนา น้ำส้ม ซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ตกสะพานและจมน้ำขณะอายุได้เพียง 28 ปี[1] จาวนา ไมน์ (Chowna Mein) สมาชิกสภานิติบัญญัติได้จ่ายเงินจำนวน 30 ล้านรูปีสำหรับสร้างเจดีย์ทองคำหรือที่เรียกว่ากองมูคำตามนโยบายของรัฐบาลท้องถิ่น ทั้งนี้มูลนิธิไตรปิฎกโลกมีความพยายามที่จะพัฒนาวัดกยองคำให้เป็นศูนย์ศึกษาพระไตรปิฎกนานาชาติแห่งแรกในประเทศอินเดีย[2][3][4][5]

พระสงฆ์บางรูปที่จำในวัดแห่งนี้สามารถใช้ภาษาไทยได้ เพราะเคยจำพรรษาในประเทศไทย ภายในวัดมีเรือนที่พักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมหลายหลัง[1]

ครั้นประเพณีทอดกฐินในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานภายในวัดบวรนิเวศราชวรวิหารแก่วัดกยองคำ คณะพระสงฆ์ไทยได้ถวายต้นกัลปพฤกษ์แก่พระเจดีย์ และมีการลอยกระทงในสระพุทธมุจลินท์ในวันสุดท้ายของเทศกาล[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณีและคณะ. บ้านเรือน ตัวตน คนไทในอินเดีย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559, หน้า 152
  2. "Wakro wonders". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  3. "Arunachal Golden Pagoda dedicated to pilgrims". The Assam Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  4. "Golden Pagoda to be first International Tipitaka Center". Arunachal Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  5. "Monks pray against conversion". The Telegraph (Calcutta). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  6. "Kathina Civara Dana Ceremony begins at Golden Pagoda of Namsai". Eastern Today. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  7. "Kathina Civara Dana ceremony ends". Arunachal Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.