ตำบลวังประจัน

พิกัด: 6°45′15.1″N 100°08′55.8″E / 6.754194°N 100.148833°E / 6.754194; 100.148833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วังประจัน)
ตำบลวังประจัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Wang Prachan
ด่านพรมแดนวังประจัน มุมมองจากฝั่งประเทศมาเลเซีย
ด่านพรมแดนวังประจัน มุมมองจากฝั่งประเทศมาเลเซีย
ประเทศไทย
จังหวัดสตูล
อำเภอควนโดน
พื้นที่
 • ทั้งหมด100.50 ตร.กม. (38.80 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด3,201 คน
 • ความหนาแน่น31.85 คน/ตร.กม. (82.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 91160
รหัสภูมิศาสตร์910204
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน
อบต.วังประจันตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล
อบต.วังประจัน
อบต.วังประจัน
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน
พิกัด: 6°45′15.1″N 100°08′55.8″E / 6.754194°N 100.148833°E / 6.754194; 100.148833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสตูล
อำเภอควนโดน
พื้นที่
 • ทั้งหมด100.50 ตร.กม. (38.80 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,201 คน
 • ความหนาแน่น31.85 คน/ตร.กม. (82.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06910205
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 3 ถนนสมันตรัฐวิถี ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160
เว็บไซต์www.wangprachan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วังประจัน เป็นตำบลในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรวังประจันที่ผ่านไปยังวังเกอเลียน ประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของเทือกเขาสันกาลาคีรีมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่ทำการของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน[2][3] และมีพื้นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลวังประจัน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[5]

ตลาดวังประจัน

ประวัติ[แก้]

วังประจัน เดิมเป็นหมู่บ้านในเขตตำบลควนสตอ อำเภอเมืองสตูล หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีชาวมลายู หรือมาเลเซียในปัจจุบัน จากบ้านวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส อพยพมาอยู่ที่บริเวณทะเลบัน ต่อมาบริเวณนั้นแผ่นดินยุบตัวลงได้ย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่บ้านวังประจัน ผู้ที่อพยพมี 3 ตระกูล คือ ตระกูลละใบโดย เป็นตระกูลผู้พี่ ตระกูลละใบแด เป็นตระกูลรอง ตระกูลละใบจิ เป็นตระกูลน้องเล็ก ทั้ง 3 ตระกูลเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านวังประจัน ส่วนตระกูลอื่นได้เข้ามาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว[6]

ในปี พ.ศ. 2520 มีการแยกกิ่งอำเภอควนโดน ออกจากการปกครองของอำเภอเมืองสตูล[7] และตั้งเป็นอำเภอควนโดนในปี พ.ศ. 2530[8] หมู่บ้านวังประจันจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอควนโดน จนกระทั่งวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2535 ทิศตะวันออกของตำบลควนสตอที่มีแนวคลองดุสนและแนวเขากุบังปะโหลดกั้นเขตมีลักษณะแยกออกจากกัน จึงแยกพื้นที่ 4 หมู่บ้านที่อยู่อีกด้าน ได้แก่ หมู่ 10 บ้านทุ่งมะปรัง, หมู่ 11 บ้านวังประจัน,หมู่ 12 บ้านวังประจันใต้ และหมู่ 13 บ้านเขานุ้ย ตั้งขึ้นเป็นตำบล[9] ใช้ชื่อตำบลว่า "วังประจัน"

วังประจัน เดิมชื่อว่า "วังปลาจัน" เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้าน "วังประจัน" ในสมัยที่ นายศุภโยค พาณิชย์วิทย์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล (พ.ศ. 2515 – 2518) คำว่า "วัง" หมายถึง หุบเขาหรือแอ่งน้ำลึก "ปลาจัน" มาจากคำภาษายาวี หมายถึง กะปิ เนื่องจากมีก้อนหินลักษณะเหมือนก้อนกะปิเป็นจำนวนมาก อยู่ในลำคลองปัจจุบัน คือ คลองทุ่น ส่วนที่เปลี่ยนชื่อเป็น วังประจันก็เนื่องจากตำบลนี้เป็นเขตแดน มีถนนเชื่อมกับบ้านวังเกอเลียนของมาเลเซีย ตำบลจึงเปรียบเสมือนด่านประจันหน้ากับมาเลเซีย

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลวังประจันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านทุ่งมะปรัง (Ban Thung Maprang) หมู่ 10 (เดิม) โอนมาจากตำบลควนสตอ
หมู่ 2 บ้านเขานุ้ย (Ban Khao Nui) หมู่ 13 (เดิม) โอนมาจากตำบลควนสตอ
หมู่ 3 บ้านวังประจัน (Ban Wang Prachan) หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลควนสตอ
หมู่ 4 บ้านวังประจันใต้ (Ban Wang Prachan Tai) หมู่ 12 (เดิม) โอนมาจากตำบลควนสตอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ตำบลวังประจันเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลวังประจันหลังจากแยกตัวออกจากตำบลควนสตอ ในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปี พ.ศ. 2538–2542 ทางกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้ตำบลวังประจันมีฐานะเป็นสภาตำบลวังประจันดังเดิม เนื่องจากขณะนั้นมีประชากรเพียง 1,764 คน และ 327 ครัวเรือน[10] จึงไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องมีจำนวนประชากรสองพันคนขึ้นไป

ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าสภาตำบลวังประจันมีประชากรจำนวน 2,432 คน และ 480 ครัวเรือน[11] ซึ่งผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งขณะนั้นสภาตำบลวังประจันมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลวังประจันอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[12]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลวังประจันประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,201 คน แบ่งเป็นชาย 1,597 คน หญิง 1,604 คน (เดือนธันวาคม 2566)[13] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอควนโดน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[13] พ.ศ. 2565[14] พ.ศ. 2564[15] พ.ศ. 2563[16] พ.ศ. 2562[17] พ.ศ. 2561[18] พ.ศ. 2560[19]
วังประจัน 924 917 907 889 884 886 875
วังประจันใต้ 806 791 787 772 779 761 732
ทุ่งมะปรัง 763 765 768 767 765 782 759
เขานุ้ย 708 714 704 692 680 667 657
รวม 3,201 3,187 3,166 3,120 3,108 3,096 3,023

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง และป่าปุโล๊ต ในท้องที่ตำบลควนสตอ กิ่งอำเภอควนโดน อำเภอเมืองสตูล และตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (165 ก): (ฉบับพิเศษ) 22-23. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523
  3. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง ป่าโล้ต และป่าควนบ่อน้ำ ในท้องที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน และตำบลเกตรี ตำบลบ้านควน ตำบลปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (127 ก): (ฉบับพิเศษ) 37-38. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  4. "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าโตนงาช้าง ในท้องที่ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ ตำบลคลองหลา ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง และตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๖๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (79 ก): 24–25. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 5 ง): 189–204. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
  6. ประวัติความเป็นมาของตำบลวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอควนโดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (11 ง): 487. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 103-107. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535
  10. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (เขตตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  11. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด และองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 64 ง): 7–8. วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547
  13. 13.0 13.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.