วัคซีนตับอักเสบเอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ[1] ความมีประสิทธิภาพของวัคซีนนี้อยู่ที่ประมาณ 95% และคงประสิทธิภาพเป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าปีและอาจยืนยาวไปตลอดชีวิต[2][1] จำนวนการให้วัคซีนที่แนะนำคือสองเข็ม โดยให้เข็มแรกเมื่อเด็กอายุครบหนึ่งขวบ การให้วัคซีนสามารถทำได้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[1]

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ประเทศที่พบโรคนี้ในระดับปานกลาง ใช้วัคซีนนี้ในฐานะวัคซีนมาตรฐานสากล แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ที่พบการแพร่กระจายของโรคได้บ่อย เนื่องจากโดยทั่วไปคนทุกคนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคเองได้เมื่อได้รับเชื้อในวัยเด็ก[1] ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) แนะนำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงและเด็กทุกคน[3]

ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก ความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนในเด็กพบได้ประมาณ 15% และในผู้ใหญ่จำนวนครึ่งหนึ่ง วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของเชื้อไวรัสที่ไม่มีฤทธิ์ และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเชื้ออ่อนฤทธิ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์กับผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ วัคซีนสูตรผสมต่างๆ ของวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอนั้นมีทั้งการผสมร่วมกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีหรือไทฟอยด์[1]

ประเทศในยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2534 และในสหรัฐอเมริกาในปี 2538[4] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[5] ราคาของวัคซีนนี้ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระหว่าง 50 ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ[6]

ข้อมูลอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "WHO position paper on hepatitis A vaccines – June 2012" (PDF). Wkly Epidemiol Rec. 87 (28/29): 261-76. 2012 Jul 13. PMID 22905367. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Ott JJ, Irving G, Wiersma ST (December 2012). "Long-term protective effects of hepatitis A vaccines. A systematic review". Vaccine. 31 (1): 3–11. doi:10.1016/j.vaccine.2012.04.104. PMID 22609026.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. "Hepatitis A In-Short". CDC. July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ 7 December 2015.
  4. Patravale, Vandana; Dandekar, Prajakta; Jain, Ratnesh (2012). Nanoparticulate drug delivery perspectives on the transition from laboratory to market (1. publ. ed.). Oxford: Woodhead Pub. p. 212. ISBN 9781908818195.
  5. "19th WHO Model List of Essential Medicines (April 2015)" (PDF). WHO. April 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  6. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 314. ISBN 9781284057560.