วอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟแนร์บาห์แช โอเปต
Fenerbahçe Opet
ชื่อเต็มเฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือ (Fenerbahçe Spor Kulübü)
ชื่อสั้นFB
ฉายาSarı Melekler (นางฟ้าสีเหลือง)
Fener
ก่อตั้งค.ศ. 1928 (ปิดลงเนื่องจากไม่มีคู่แข่งขัน)
ค.ศ. 1954
สนามหอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค
(ความจุ: 7,000)
ประธานตุรกี อาลี ค็อก
หัวหน้าผู้ฝึกสอนอิตาลี สเตฟาโน ลาวารินี
หัวหน้าทีมตุรกี เอดา แอร์แดม
ลีกซุลตันลาร์ลีกี
ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก
2022–231 ชนะเลิศ
เว็บไซต์โฮมเพจสโมสร
เครื่องแบบ
ทีมเหย้า
ทีมเยือน
แชมเปียนชิป
1 ชิงแชมป์สโมสรโลก
1 ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก
1 ซีอีวีคัพ
13 ซุลตันบาร์ลีกี
3 เตอร์กิชคัพ
3 เตอร์กิชซูเปอร์คัพ
สังกัดเฟแนร์บาห์แชที่ดำเนินงาน
ฟุตบอล บาสเกตบอลชาย บาสเกตบอลหญิง
วอลเลย์บอลชาย วอลเลย์บอลหญิง กรีฑา
มวยสากล เทเบิลเทนนิส ว่ายน้ำ
เรือพาย เรือใบ สโมสร

วอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช (ตุรกี: Fenerbahçe Kadın Voleybol Takımı; อังกฤษ: Fenerbahçe Women's Volleyball) เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงของเฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือ ซึ่งเป็นสโมสรกีฬาที่สำคัญในอิสตันบูล ประเทศตุรกี ทีมนี้เล่นในแมตช์ของพวกเขาที่หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค เฟแนร์บาห์แชชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์โลก 2010 รวมถึงชนะการแข่งขันซีอีวีแชมเปียส์ลีกใน ค.ศ. 2012

ชื่อทีมในอดีต[แก้]

ฤดูกาล ชื่อ
ค.ศ. 1928, 1954–2007 เฟแนร์บาห์แช
ค.ศ. 2007–2011 เฟแนร์บาห์แช อากีบาเดม
ค.ศ. 2011–2012 เฟแนร์บาห์แช ยูนิเวอร์แซล
ค.ศ. 2012–2014 เฟแนร์บาห์แช
ค.ศ. 2014–2016 เฟแนร์บาห์แช กรุนดิก
ค.ศ. 2016–2018 เฟแนร์บาห์แช
ค.ศ. 2018– เฟเนร์บาห์แช โอเปต

ประวัติ[แก้]

สโมสรวอลเลย์บอลหญิงของเฟแนร์บาห์แชได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1928 โดยซาบีฮา รูฟัท งือไรย์มาน ผู้ซึ่งเป็นหญิงสาวที่เล่นให้แก่ทีมวอลเลย์บอลชายของสโมสร และเป็นผู้ก่อตั้งหญิงคนแรกในประเทศตุรกี อย่างไรก็ตาม สาขานี้ได้ปิดลงเนื่องจากไม่มีคู่แข่งขันใน ค.ศ. 1954 และยุคใหม่ได้เริ่มขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากโรงเรียนมัธยมยุวชนหญิงชามลีจา โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1958 และเหล่าหญิงสาวชนะการแข่งขันของตุรกีถึงแปดรายการ ใน ค.ศ. 1977 สาขานี้ก็ได้ปิดลงอีกครั้งจนถึง ค.ศ. 1989 เนื่องด้วยอยู่ในช่วงขาดแคลนเงินทุน ใน ค.ศ. 1993 ทีมได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากลีกสูงสุดของอิสตันบูล สู่ลีกรองของตุรกี และในปีต่อมา ทีมนี้ก็ได้เข้าแข่งขันในลีกสูงสุดของตุรกี อย่างไรก็ตาม ทีมนี้ได้รับการผลักไสสู่ลีกสองของตุรกีในฤดูกาล 1995-96 [ต้องการอ้างอิง]

เฟแนร์บาห์แชกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของตุรกีในฤดูกาล 2002-03 และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศในฤดูกาล 2006-07 ทีมชุดใหญ่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเฟแนร์บาห์แชอากีบาเดม เนื่องจากสัญญาการให้การสนับสนุนจากอากีบาเดมเฮลธ์แคร์กรุ๊ปตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง 2011 [ต้องการอ้างอิง] ทีมนางฟ้าสีเหลืองนี้ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศต่อจากทีมเอสซาชีบาแชสปอร์คูลือบือในฤดูกาล 2007-08 ด้วย ทีมนี้ยังชนะการแข่งรายการที่เก้าของตุรกีในประวัติศาสตร์ของทีมในฤดูกาล 2008-09 หลังจากชนะคู่แข่งอย่างเอสซาชีบาแชสปอร์คูลือบือ (ด้วยผลการแข่ง 3-2, 0-3, 3-1, 3-1) ซึ่งเป็นรายการแรกที่ชนะของลีกรูปแบบปัจจุบันที่เริ่มขึ้นในฤดูกาล 1984-85 [ต้องการอ้างอิง]

เฟเนร์บาห์แชในปี 2008

ทีมวอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แชได้แสดงฝีมือในฤดูกาล 2009-10 ในฐานะทีมนางฟ้าสีเหลืองซึ่งจบรอบแรกของตุรกีลีกโดยไม่เป็นฝ่ายแพ้ใน 22 แมตช์ (สถิติอัตราส่วนที่ 66:2) และเข้าสู่รอบสี่ทีมสุดท้ายโดยไม่เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมใดในรอบแบ่งสายของการแข่งซีอีวีวีเมนส์แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2009–10 หลังจากนั้นก็เป็นฝ่ายชนะทีมแอร์เซกานของถิ่นเจ้าภาพในการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นทั้งห้าเซต แต่แล้วก็มาเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมวอลเลย์แบร์กาโมของการแข่งขันห้าเซตในรอบชิงชนะเลิศ แม้ว่าทีมของพวกเธอจะเป็นฝ่ายชนะขึ้นมาในสองเซตก็ตาม ด้วยผลการแข่ง 22-25, 21-25, 25-22, 25-20, 9-15 สมาชิกทีมซึ่งได้แก่ อีคาเตรีนา กาโมวา ได้รับรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม และนาตาชา ออสโมโครวิช ได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยมจากการแข่งขันครั้งดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]

ดาราหลักของทีมวอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช ได้ขึ้นมาอยู่ตำแหน่งบนสุดของโลกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หัลงจากเป็นฝ่ายชนะทีมตัวเต็งจากอเมริกาใต้อย่างโซลีส์โอซาสกูที่ 3-0 เซต (ด้วยผลการแข่ง 25-23, 25-22, 25-17) และกลายมาเป็นทีมแรกในรอบ 16 ปีที่ชนะการแข่งวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์โลก 2010 [1] โดยสมาชิกทีมซึ่งได้แก่ คาตาซีนา สโควรอนสกา ได้รับรางวัลเอ็มวีพีและรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม รวมถึงเอดา แอร์แดม ที่ได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยม

ใน ค.ศ. 2011 เฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือได้จัดการแข่งแชมเปียนส์ลีกไฟนอลโฟร์ที่หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค ณ อิสตันบูล อย่างไรก็ตาม ในรอบรองชนะเลิศ ทีมนางฟ้าสีเหลืองได้เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมวาคีฟบังค์บูเนสซีโกรทาทูร์กเทเลคอมของตุรกีในห้าเซตที่สะท้านหัวใจ (ด้วยผลการแข่ง 25-19, 21-25, 25-21, 19-25, 11-15) และสูญเสียโอกาสการเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์วอลเลย์บอลของตุรกีในการชนะรายการแชมเปียนส์ลีก ทีมนางฟ้าสีเหลืองได้อันดับสามหลังจากเป็นฝ่ายชนะทีมสกาโวลีนีเปซาโรในสี่เซต (ด้วยผลการแข่ง 14-25, 25-21, 25-21, 25-21) ซึ่งมาจากฝีมือของดาวเด่นจากท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เซดา โทคัตลิโอลู, แนซ อายเดเมียร์ และเอดา แอร์แดม

ใน ค.ศ. 2012 สโมสรนี้ได้ชนะการแข่งรายการซีอีวีวอลเลย์บอลแชมเปียนส์ลีกซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบากูในวันที่ 24–25 มีนาคม ค.ศ. 2012 โดยเป็นฝ่ายชนะทีมแอร์เซกานจากประเทศฝรั่งเศสในรอบชิงชนะเลิศในสามเซตรวด (ด้วยผลการแข่ง 25-14, 25-22 และ 25-20) ซึ่งคิม ยอน-คยอง ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่ารวมถึงรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม และแนซ อายเดเมียร์ ได้รับรางวัลมือเซตยอดเยี่ยม[2]

สมาชิกทีมปัจจุบัน[แก้]

ข้อมูลสมาชิกทีม 2023-2024 [3]

รายชื่อผู้เล่นฤดูกาล 2023–2024
No. ผู้เล่น ตำแหน่ง ส่วนสูง (ม.)
1 ตุรกี จีเซม ออร์เก ตัวรับอิสระ 1.70
3 โปแลนด์ มักดาเลนา สตีเซียก ตัวตบตรงข้ามหัวเสา 2.03
5 ตุรกี เออร์กุล เอโรลู ตัวบล็อกกลาง 1.90
6 ตุรกี อาดา เยร์แมน ตัวตบหัวเสา 1.85
7 ตุรกี จันซู เซติน ตัวรับอิสระ 1.83
8 ตุรกี อัสลี กาลัซ ตัวบล็อกกลาง 1.85
9 ตุรกี เมลิฮา อิสไมโลลู ตัวตบหัวเสา 1.88
10 รัสเซีย อารีนา เฟโดรอฟเซวา ตัวตบหัวเสา 1.90
12 บราซิล อนา คริสตินา เดอ โซซา ตัวตบหัวเสา 1.92
13 ตุรกี แมเรียม บอซ ตัวตบตรงข้ามหัวเสา 1.90
14 ตุรกี เอดา แอร์แดม ดึนดาร์ (C) ตัวบล็อกกลาง 1.90
15 รัสเซีย อีรีนา เฟตีโซวา ตัวบล็อกกลาง 1.90
17 เซอร์เบีย โบยานา เดอชา ตัวเซ็ต 1.85
18 ตุรกี บูเซ อูนัล ตัวเซ็ต 1.88
44 ตุรกี เมลิสซา วาร์กัส ตัวตบตรงข้ามหัวเสา 1.91

เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ[แก้]

ชื่อ ตำแหน่ง
ตุรกี อาลี ค็อค ประธาน
ตุรกี ซิมลา ตุรเกอร์ บายาซิท กรรมการที่รับผิดชอบ
ตุรกี เปลิน เซลิก ผู้จัดการทีม
เซอร์เบีย โซแรน เตอร์ซิช หัวหน้าผู้ฝึกสอน
ตุรกี คาเนอร์ อาตาเซเวอร์ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
ตุรกี อาร์ทูน อัคซาน นักสถิติ

เกียรติประวัติ[แก้]

วอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช
เหรียญรางวัล
วอลเลย์บอลหญิง
วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โดฮา 2010 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โดฮา 2012 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อังการา 2021 ทีม
ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2009-10 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2010-11 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2011-12 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2015-16 ทีม
ซีอีวีคัพ
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ถ้วย 2008-09 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2012-13 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2013-14 ทีม
ชิงแชมป์ตุรกี
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1956 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1957 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1958 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1959 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1960 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1961 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ชิงแชมป์ 1962 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1968 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1969 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1972 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1973 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ชิงแชมป์ 1974 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิงแชมป์ 1975 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ชิงแชมป์ 1977 ทีม
ลีกตุรกี
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2006-07 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2007-08 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2008-09 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2009-10 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2010-11 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2011-12 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2012-13 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2013-14 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2014-15 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2015-16 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2016-17 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2017-18 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลีก 2018-19 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2020-21 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลีก 2021-22 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลีก 2022-23 ทีม
ตุรกีคัพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2008-09 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2009-10 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2013-14 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2014-15 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2016-17 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2018-19 ทีม
ซูเปอร์คัพตุรกี
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2009 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2010 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2011 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2014 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ถ้วย 2015 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ถ้วย 2017 ทีม

ความสำเร็จระดับสากล[แก้]

ความสำเร็จในระดับประเทศ[แก้]

เกียรติยศแห่งฤดูกาล 2009-10 [4]

ชิงแชมป์ตุรกี (11 สมัย)[แก้]

การแข่งขันอื่น[แก้]

  • เตอร์กิชคัพ:
    • ผู้ชนะ (3 สมัย): ฤดูกาล 2009-10, 2014-15, 2016-17
    • รองชนะเลิศ (3 สมัย): ฤดูกาล 2008-09, 2013-14, 2018-2019
  • เตอร์กิชซูเปอร์คัพ:
    • ผู้ชนะ (3 สมัย): ค.ศ. 2009, 2010, 2015
    • รองชนะเลิศ (3 สมัย): ค.ศ. 2011, 2014, 2017
  • ลีกอิสตันบูล:
    • ผู้ชนะ (10 สมัย): ฤดูกาล 1955-56, 1956–57, 1957–58, 1958–59, 1960–61, 1967–68, 1968–69, 1970–71, 1971–72, 1972–73
    • รองชนะเลิศ (5 สมัย): ฤดูกาล 1959-60, 1962–63, 1969–70, 1973–74, 1974–75
    • อันดับสาม (7 สมัย): ฤดูกาล 1954-55, 1961–62, 1963–64, 1964–65, 1965–66, 1966–67, 1976–77

กัปตันทีม[แก้]

รายชื่อกัปตันทีมชุดใหญ่สมัยที่ผ่านมา

ฤดูกาล ชื่อ
ค.ศ. 2005–2006 ตุรกี เซดา โทคัตลิโอลู
ค.ศ. 2006–2008 ตุรกี อูซแลม อูซเชลิค
ค.ศ. 2008–2011 ตุรกี ชีเด็ม จาน ราสนา
ค.ศ. 2011–2014 ตุรกี เซดา โทคัตลิโอลู
ค.ศ. 2014– ตุรกี เอดา แอร์แดม ดึนดาร์

หัวหน้าผู้ฝึกสอน[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่สมัยที่ผ่านมา

ฤดูกาล ชื่อ
ค.ศ. 2005–2008 ตุรกี อาดนัน คิสทาค
ค.ศ. 2008–2009 ตุรกี อูเซยี อูซดูรัค
ค.ศ. 2009–2010 เบลเยียม ยัน เด บรันดท์
ค.ศ. 2010–2012 บราซิล โชเซ โฮแบร์โต กีมารีส์
ค.ศ. 2012–2013 ตุรกี ชามิล เสิสซ์
ค.ศ. 2013–2017 อิตาลี มาร์เชลโล อับบอนดันซา
ค.ศ. 2017–2018 เบลเยียม ยัน เด บรันดท์
ค.ศ. 2018 ตุรกี ซาลีห์ เออร์โดกัน ตาวาชี
ค.ศ. 2018–2023 เซอร์เบีย โซแรน เตอร์ซิช
ค.ศ. 2023– อิตาลี สเตฟาโน ลาวารินี

สนามเหย้า[แก้]

รายการสนามเหย้าทีมชุดใหญ่ที่ได้ลงแข่งในสมัยที่ผ่านมา

# สนามเหย้า ฤดูกาล
1 หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค ค.ศ. 2004–2007
2 หอกีฬายาแฟราหอกีฬาฟาลุน อาลากัช1 ค.ศ. 2007–2008
3 หอกีฬาครบรอบ 50 ปี ค.ศ. 2008–2010
4 หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค ค.ศ. 2010–2015
5 อูลเคอร์ สปอร์ต อารีน่า ค.ศ. 2015–2017
6 หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค ค.ศ. 2017–

1 เฉพาะการแข่งซีอีวีแชมเปียนส์ลีก.

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง[แก้]

ผู้เล่นในประเทศ

ธงของประเทศตุรกี ตุรกี


ผู้เล่นชาวยุโรป

ธงของประเทศอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน
ธงของประเทศเบลารุส เบลารุส
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย


ผู้เล่นที่ไม่ใช่ชาวยุโรป

ธงของประเทศบราซิล บราซิล
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
 ไทย
 สหรัฐ
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก

ผู้ให้การอุปถัมภ์และผลิตชุด[แก้]

ฤดูกาล ผู้ให้การอุปถัมภ์ชุด
2005–2006 Century 211 – Merit Life 2 – Adahan Logistics4
2006–2007 Acıbadem1 2 4
2007–2011 Acıbadem1 2 3 4
2011–2012 Universal1 3 4 – Bonus2
2012–2013 ไม่มี
2013 Fenercell1 – Bonus2
2013 Grundig1 3 – Bonus2
2013–2016 Grundig1 – Bonus2 – Fenercell3
2016–2017 Grundig1 – Bonus2 – Barilla2 – Fenercell3
2017–2018 ไม่มี
2018–2019 Opet1
2019–2020 Opet1 – Corendon Airlines2 – Kafkas Jewellery3 – Fluo4
2020–2021 Opet1 – Corendon Airlines2
2021–2022 Opet1 – Corendon Airlines2 – Asperox3 – Gossef5
2022–2023 Opet1 – 1907 Fenerbahçe Derneği2 – Sanmar2 – Tirebolu 42 Çay4
2023–2024 Opet1 – GentaşKimya2 – Sanmar2 – Nersan Holding3 – arsaVev4 – Media Markt4 – Dilan Polat4 – 1907 Fenerbahçe Derneği5 – Yıldız Entegre5 – NESINE.COM5 – Otokoç 2. EL5

1 สปอนเซอร์หลัก
2 สปอนเซอร์หลังเสื้อ
3 สปอนเซอร์ข้างเสื้อ
4 สปอนเซอร์กางเกง
5 สปอนเซอร์หน้าเสื้อ

ฤดูกาล ผู้ผลิตชุด
2000–2018 Fenerium
2018–2022 Bilcee
2022– Joma

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Fenerbahce crowned Women's Club World champions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 2013-10-24.
  2. CEV (2012-03-25). "Fenerbahce and a Korean star named Kim shine in Baku". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  3. "Fenerbahçe Roster 2023-24". Fenerbahçe opet (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.
  4. "Turkish Volleyball League and Cup Champions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-01. สืบค้นเมื่อ 2013-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]