วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์เบีย
สมาคมสมาพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเซอร์เบีย
สมาพันธ์สมาพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป
หัวหน้าผู้ฝึกสอนดานิเอเล ซานตาเรลลี
อันดับเอฟไอวีบี4 (ณ 26 กันยายน 2023)
เครื่องแบบ
เหย้า
เยือน
โอลิมปิกฤดูร้อน
เข้าแข่งขัน3 (ครั้งแรกเมื่อ 2008)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด (2016)
ชิงแชมป์โลก
เข้าร่วมแข่งขัน4 (ครั้งแรกเมื่อ 2006)
ผลการแข่งที่ดีที่สุด (2018)
www.ossrb.org (เซอร์เบีย)
วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเซอร์เบีย
เหรียญรางวัล
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ทีม
วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โปแลนด์,เนเธอร์แลนด์ 2022 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ญี่ปุ่น 2018 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ญี่ปุ่น 2006 ทีม
วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 มาเก๊า 2011 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ซัปโปะโระ 2013 ทีม
เมดิเตอร์เรเนียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ แอลเจอร์ 1975 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ สปริตท์ 1979 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 คาซาบลังกา 1983 ทีม
วอลเลย์บอลชิงแชมป์ยุโรป
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เซอร์เบีย/อิตาลี 2011 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เซอร์เบีย/อิตาลี 2017 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เซอร์เบีย/อิตาลี 2019 ทีม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก 2007 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ฝรั่งเศส 1951 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ฝรั่งเศส 2015 ทีม
วอลเลย์บอลชิงแชมป์ยูโรเปียนคัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เคเซอรี 2009 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อังการา 2010 ทีม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อิสตันบูล 2011 ทีม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 คาร์โลวี วารี่ 2012 ทีม

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Одбојкашка репрезентација Србије) เป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงของประเทศเซอร์เบีย ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสมาพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเซอร์เบีย และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติ

ทีมนี้ลงแข่งขันในช่วง ค.ศ. 1949 ถึง 1991 ในฐานะ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย , ค.ศ. 1992 ถึง 2002 ในฐานะ สหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร และใน ค.ศ. 2003 ถึง 2006 ในฐานะ ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร

หนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของพวกเธอคือการคว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2006 ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 16 พฤศจิกายน 2006 โดยในนัดชิงเหรียญทองแดง พวกเธอเป็นฝ่ายเอาชนะอิตาลี ซึ่งเป็นแชมป์เก่า ไป 3-1 เซต และยังคว้าเหรียญทองแดงจากการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2011 และ 2013 ได้สำเร็จ

ปัจจุบันเป็นทีมนี้ จัดเป็นทีมอันดับที่ 8 ของโลกโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2012 วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเซอร์เบีย ได้เป็นฝ่ายแพ้ให้กับทีมชาติไทย 3-1 เซต และวอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกรอบคัดเลือกระดับโลกและโซนเอเชีย 2012 แพ้ให้กับทีมชาติไทย 3-0 เซต

รายชื่อนักกีฬาชุดปัจจุบัน[แก้]

เบอร์ ชื่อ วันเกิด ส่วนสูง น้ำหนัก จุดตบ จุดบล็อก สโมสร 2020-2021 ตำแหน่ง
1. เบียนกา บูซ่า 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 187 74 312 298 ตุรกี เฟแนร์บาห์แช โอเปต ตัวตบหัวเสา
5. มินา โปโปวิช 16 กันยายน ค.ศ. 1994 187 65 315 305 อิตาลี ซาวีโน เดล เบเน สแกนดิชชี บอลเร็ว
8. สลาดาน่า เมียร์โควิช 7 ตุลาคม ค.ศ. 1995 185 74 293 282 ตุรกี เอจซาซีบาซี วิตรา ตัวเซต
9. บรันคีตซา มีฮายลอวิช 13 เมษายน ค.ศ. 1991 190 83 302 290 ตุรกี เฟแนร์บาห์แช โอเปต ตัวตบหัวเสา
10. มาย่า อ็อคเยโนวิช(C) 6 สิงหาคม ค.ศ. 1984 183 67 300 293 ตุรกี วากิฟแบงค์ ตัวเซต
13. อนา เบเจลิก้า 3 เมษายน ค.ศ. 1992 190 78 310 305 โปแลนด์ แอ.แคลร์ค ราดอมคา ราดอม บีหลัง
14. มาย่า อเล็คซิช 6 มิถุนายน ค.ศ. 1997 188 72 302 289 โรมาเนีย ซีเอสเอ็ม ออลบา บลาจ บอลเร็ว
16. มิเลน่า ราซิซ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1990 193 72 315 310 ตุรกี วากิฟแบงค์ ตัวบล็อกกลาง
17. ซิลเวีย โปโปวิช 15 มีนาคม ค.ศ. 1986 178 65 286 276 โรมาเนีย ซีเอสเอ็ม ออลบา บลาจ ตัวรับอิสระ
18. ทิยาน่า บอสโควิช 8 มีนาคม ค.ศ. 1997 193 78 325 317 ตุรกี เอจซาซีบาซี วิตรา บีหลัง
19. โบยาน่า มิเลนโควิช 6 มีนาคม ค.ศ. 1997 185 70 294 288 โรมาเนีย ซีเอสเอ็ม ออลบา บลาจ ตัวตบหัวเสา
20. เจเลน่า บลาโกเจวิช 1 ธันวาคม ค.ศ. 1988 181 68 302 284 โปแลนด์ เคเอส เดเวลอปเรส แชชุฟ ตัวตบหัวเสา

ผลงาน[แก้]

โอลิมปิกฤดูร้อน[แก้]

  • จีน 2008 – อันดับที่ 5
  • สหราชอาณาจักร 2012 – อันดับที่ 11
  • บราซิล 2016 เหรียญเงิน
  • ญี่ปุ่น 2020 เหรียญทองแดง

วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก[แก้]

  • ญี่ปุ่น 1998 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
  • เยอรมนี 2002 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
  • ญี่ปุ่น 2006 : เหรียญทองแดง
  • ญี่ปุ่น 2010 : อันดับที่ 8
  • อิตาลี 2014 : อันดับที่ 7
  • ญี่ปุ่น 2018 : เหรียญทอง
  • เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ 2022 :เหรียญทอง

วอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ[แก้]

  • ญี่ปุ่น 2007 : อันดับที่ 5
  • ญี่ปุ่น 2011 : อันดับที่ 7
  • ญี่ปุ่น 2015 : เหรียญเงิน
  • ญี่ปุ่น 2019 : อันดับที่ 9

วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์[แก้]

  • มาเก๊า 2011 : เหรียญทองแดง
  • จีน 2012 : อันดับที่ 11
  • ญี่ปุ่น 2013 : เหรียญทองแดง
  • ญี่ปุ่น 2014 : อันดับ 8
  • สหรัฐ 2015 : อันดับ 8
  • ไทย 2016 : อันดับ 7
  • จีน 2017 : เหรียญทองแดง

เนชันส์ลีก[แก้]

วอลเลย์บอลชิงแชมป์ยุโรป[แก้]

  • ตุรกี 2003 : อันดับที่ 9
  • โครเอเชีย 2005 : อันดับที่ 7
  • เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก 2007 : เหรียญเงิน
  • โปแลนด์ 2009 : อันดับที่ 7
  • อิตาลี เซอร์เบีย 2011 : เหรียญทอง
  • เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ 2013 : อันดับที่ 4
  • เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม 2015 : เหรียญทองแดง
  • อาเซอร์ไบจาน ประเทศจอร์เจีย2017 : เหรียญทอง
  • ตุรกีโปแลนด์สโลวาเกียฮังการี 2019 : เหรียญทอง

วอลเลย์บอลหญิงยูโรเปียนลีก[แก้]

  • ตุรกี 2009 : เหรียญทอง
  • ตุรกี 2010 : เหรียญทอง
  • ตุรกี 2011 : เหรียญทอง
  • เช็กเกีย 2012 : เหรียญทองแดง
  • บัลแกเรีย 2013 : อันดับที่ 5

เมดิเตอร์เรเนียนเกมส์[แก้]

  • แอลจีเรีย 1975 : เหรียญทอง
  • สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1979 : เหรียญเงิน
  • โมร็อกโก 1983 : เหรียญทองแดง
  • อิตาลี 1997 : อันดับที่ 4
  • ตูนิเซีย 2001 : อันดับที่ 6

อ้างอิง[แก้]