วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาบริเวณวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ในปี ค.ศ. 1942
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อ แสดงภาพสันติภาพระหว่างญี่ปุ่น จีนฮั่น และแมนจูกัว
สแตมป์รูปแผนที่วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา (ญี่ปุ่น: 大東亜共栄圏; อังกฤษ: Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่จะรวบรวมและสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก[1] โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพลฮาจิโร อาริตะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia)

ในระหว่างที่สงครามกำลังดำเนินอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีประโยคที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asians) โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติในเอเชียให้หลุดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยทำการบุกประเทศเพื่อนบ้าน และขับไล่ทหารอังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกันออกไปจากภูมิภาคนี้

ปัจจัยที่ผลักดันให้ญี่ปุ่นคิดสร้างวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา[แก้]

  1. มีความคิดที่ว่าญี่ปุ่นมีชาติพันธุ์ที่เหนือกว่าชาติอื่นในเอเชีย ในเมื่อปกครองโดยพระจักรพรรดิผู้ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์มาอย่างไม่ขาดสาย จึงมีสิทธิชอบธรรมที่จะเป็นใหญ่คุ้มครองชาติอื่น
  2. ญี่ปุ่นคิดว่าวัฒนธรรมตะวันตกหรือปรัชญาตะวันตกเป็นยาพิษของตะวันออกและเป็นวัฒนธรรมที่เสื่อมทราม จึงจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูระเบียบสังคมและวัฒนธรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตะวันออกที่เป็นแบบอำนาจนิยมขึ้นมาแทนระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก เพื่อให้เอเชียเป็นของชาวเอเชียเท่านั้น

ขอบเขตพื้นที่โครงการสร้างมหาเอเชียบูรพา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Greater East Asia Co-Prosperity Sphere". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.