ลูมินอล
ลูมินอล[1] | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | 5-Amino-2,3-dihydro- 1,4-phthalazinedione |
ชื่ออื่น | o-Aminophthaloyl hydrazide o-Aminophthalyl hydrazide 3-Aminophthalhydrazide 3-Aminophthalic hydrazide |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [521-31-3] |
EC number | |
SMILES | |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C8H7N3O2 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 177.16 g/mol |
จุดหลอมเหลว |
319-320 °C |
ความอันตราย | |
MSDS | MSDS for luminol |
NFPA 704 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
ลูมินอล (อักษรละติน: Luminol) เป็นสารเคมีที่สามารถตรวจพบร่องรอยของเลือดได้ ซึ่งหน่วยงาน Crime Scene Investigation หรือ CSI จะใช้บ่อยเพื่อหาร่องรอยของเลือด ถึงแม้ว่าจะใช้ไม้ถูพื้นทำความสะอาดลบรอยเลือดก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช้สารเคมีช่วย ล้างรอยเลือด รอยเลือดจะติดอยู่นานเป็นปีโดยที่คนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิธีการคร่าวๆคือสารลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับ ฮีโมโกลบิน ทำให้แสงเปล่งออกมา เป็นกระบวนการที่พลังงานของสารเริ่มต้นมากกว่าพลังงานของสารผลิตภัณฑ์ ทำให้โมเลกุลนำพลังงานที่เหลือออกมาในรูปแบบของโฟตอนแสง กระบวนการนี้เรียกว่า Chemiluminescence
วิธีเตรียมสารของ CSI[แก้]
ลูมินอลที่เป็นสารชนิดผงนำมาผสมกับของเหลวที่มีส่วนประสมของ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไฮดรอกไซด์ และอื่นๆ ซึ่ง ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และ ลูมินอล เป็นส่วนผสมหลัก ผสมเสร็จก็นำมาใส่ขวดสเปรย์ไว้ก็พร้อมใช้งานแต่ถ้าแค่นั้น ปฏิกิริยาจะเกิดช้าจึงต้องการตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเห็นแสงที่เปร่งออกมาได้ไวขึ้น ซึ่งในกรณีเลือด เหล็กที่อยู่ในฮีโมโกบิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Merck Index, 11th Edition, 5470.