ลูกัส บิเกลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกัส บิเกลีย
บิเกลียขณะลงเล่นให้กับอาร์เจนตินาในฟุตบอลโลก 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ลูกัส โรดริโก บิเกลีย[1]
วันเกิด (1986-01-30) 30 มกราคม ค.ศ. 1986 (38 ปี)[2][3]
สถานที่เกิด เมร์เซเดส, บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา
ส่วนสูง 1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)[4]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ฟาตีห์คารากุมรุค
หมายเลข 6
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2004–2005 อาร์เฆนติโนสยูนิออร์ส 17 (1)
2005–2006 อินเดเปนดิเอนเต 49 (0)
2006–2013 อันเดอร์เลคต์ 221 (12)
2013–2017 ลาซีโอ 109 (13)
2017–2020 เอซี มิลาน 58 (2)
2020– ฟาตีห์คารากุมรุค 35 (3)
ทีมชาติ
2003 อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 17 ปี 3 (1)
2005 อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 20 ปี 8 (1)
2011–2018 อาร์เจนตินา 58 (1)
เกียรติประวัติ
ฟุตบอลชาย
ตัวแทนของ ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
ฟุตบอลโลก
รองชนะเลิศ บราซิล 2014
โกปาอาเมริกา
รองชนะเลิศ ชิลี 2015
รองชนะเลิศ สหรัฐ 2016
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12:50, 10 พฤษภาคม 2021 (UTC)

ลูกัส โรดริโก บิเกลีย (สเปน: Lucas Rodrigo Biglia; เกิด 30 มกราคม ค.ศ. 1986) เป็นนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางให้กับฟาตีห์คารากุมรุคในซือเปร์ลีก

สโมสรอาชีพ[แก้]

ทีมในอาร์เจนตินา[แก้]

บิเกลียเริ่มต้นอาชีพโดยเล่นให้กับอาร์เฆนติโนสยูนิออร์สโดยเซ็นสัญญาอาชีพในปี 2004[5] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมในวันที่ 1 มิถุนายน 2004 และลงเล่นให้กับทีมไปทั้งหมด 17 ทำได้ 1 ประตู

จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 บิเกลียย้ายไปร่วมทีมอินเดเปนดิเอนเตโดยไม่เปิดเผยค่าตัว[6][7] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2005 ในเกมที่แพ้ให้กับลานุส 1–0[8]

อันเดอร์เลคต์[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม 2006 หลังจากเล่นให้อินเดเปนดิเอนเตไปหนึ่งฤดูกาลครึ่ง บิเกลียได้เซ็นสัญญากับอันเดอร์เลคต์ในเบลเจียนโปรลีกเป็นเวลา 4 ปี[9] โดยสวมเสื้อหมายเลข 5[10][11]

ฤดูกาล 2006–07 บิเกลียลงเล่นนัดแรกให้กับทีมในนัดเปิดฤดูกาลที่พบกับซินต์-เตรยเดิน[12] เดือนถัดมาเขาลงเล่นนัดแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มที่เสมอกับลีล 1–1[13] และหลังจากนั้นเขาทำผลงานให้กับทีมได้อย่างยอดเยี่ยมทำให้เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งแห่งปีของลีกเบลเยียมในเดือนมกราคม ปี 2007[14][15] เขาทำประตูแรกให้กับทีมได้จากลูกจุดโทษในนัดที่ชนะบรัสเซลส์ 6–0[16]

ลาซีโอ[แก้]

วันที่ 23 กรกฎาคม 2013 ลาซีโอประกาศเซ็นสัญญากับบิเกลียเป็นเวลา 5 ปีโดยไม่เปิดเผยค่าตัว[17] แต่จากรายงานทางการเงินของลาซีโอระบุว่าบิเกลียมีค่าตัว 8.4 ล้านยูโร โดยมีค่านายหน้า 750,000 ยูโร[18] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมในนัดเปิดฤดูกาลที่ชนะอูดีเนเซ 2–1[19] บิเกลียทำประตูแรกให้ทีมในวันที่ 22 ธันวาคมปีเดียวกันในนัดที่แพ้ต่อเวโรนา 4–1[20] โดยในฤดูกาลแรกเขาลงสนาม 32 นัด ทำได้ 2 ประตู

ฤดูกาล 2015–16 บิเกลียได้รับการตั้งให้เป็นกัปตันทีม[21] โดยเขาทำหน้าที่เป็นกัปตันนัดแรกในรายการซูแปร์โกปปาอีตาเลียนาที่ทีมของเขาแพ้ให้กับยูเวนตุส 2–0[22]

เอซี มิลาน[แก้]

ลาซีโอและเอซี มิลานประกาศในเดือนกรกฎาคม 2017 ว่าบิเกลียได้ย้ายไปร่วมทีมเอซี มิลาน[23][24] การย้ายทีมได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2017 โดยบิเกลียเซ็นสัญญากับทีมไปจนถึงปี 2020[25] และมีรายงานค่าตัวเป็นเงิน 17 ล้านยูโร[26] เขาถูกปล่อยตัวออกจากทีมเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2019–20 เนื่องจากหมดสัญญากับทีม

ฟาตีห์คารากุมรุค[แก้]

วันที่ 14 กันยายน 2020 บิเกลียร่วมทีมฟาตีห์คารากุมรุคที่เพิ่งเลื่อนชั้นมาในซือเปร์ลีกโดยไม่มีค่าตัว

การเล่นทีมชาติ[แก้]

บิเกลียถูกเรียกติดทีมชาติครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2010 ในนัดที่พบกับบราซิล แต่ไม่ได้ลงเล่น[27] จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เขาได้ลงเล่นให้ทีมเป็นครั้งแรกในเกมกระชับมิตรที่พบกับโปรตุเกส[28] ในปีเดียวกันบิเกลียถูกเรียกตัวไปแข่งโกปาอาเมริกา แม้จะมีอาการบาดเจ็บ[29][30] และได้ลงเล่นเป็นตัวสำรอง 2 นัด

วันที่ 2 มิถุนายน 2014 บิเกลียถูกเรียกติดทีมไปเล่นในฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล[31] เขาลงเล่นเป็นตัวสำรองในช่วงแรกของการแข่งขัน จากนั้นจึงได้ลงเล่นเป็นตัวจริงตั้งแต่รอบก่อนรองชนะเลิศ โดยนัดชิงชนะเลิศอาร์เจนตินาแพ้ให้กับเยอรมนี 0–1[32] นอกจากนี้บิเกลียได้ลงเล่นในโกปาอาเมริกา 2015 เป็นจำนวน 5 ใน 6 นัด รวมถึงนัดชิงชนะเลิศที่แพ้การดวลจุดโทษให้กับชิลี[33]

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2015 เขาทำประตูแรกในนามทีมชาติได้ในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก ที่ชนะโคลอมเบีย 1–0[34]

บิเกลียได้ลงเล่นในโกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอ[35] และได้เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศที่พบกับชิลี โดยเขาได้ลงเล่นเป็นเวลา 120 นาที หลังจากช่วงต่อเวลาทั้งสองทีมเสมอกัน 0–0 จึงต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษและจุดโทษของเขาถูกเซฟโดยเกลาดิโอ บราโบ และชิลีชนะ 4–2[36]

เดือนพฤษภาคม 2018 มีชื่อเป็น 23 คนสุดท้ายของทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018ที่ประเทศรัสเซีย[37] เขาได้ลงเล่นเพียงนัดเดียวในรอบแบ่งกลุ่มที่เสมอกับไอซ์แลนด์ 1–1 ในวันที่ 16 มิถุนายน โดยเขาลงไปแทนเอเบร์ บาเนกาในครึ่งหลัง[38] จากนั้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2018 หลังจากอาร์เจนตินาแพ้ให้กับฝรั่งเศส 4–3 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย บิเกลียได้ประกาศเลิกเล่นทีมชาติด้วยสถิติลงเล่น 58 นัด ทำได้ 1 ประตู[39]

สถิติอาชีพ[แก้]

สโมสร[แก้]

ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2021[40]
สโมสร ฤดูกาล ลีก ฟุตบอลถ้วย ทวีป รายการอื่น รวม
ดิวิชัน ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
อินเดเปนดิเอนเต 2005–06 ปริเมราดิบิซิออน 7 0 7 0
อันเดอร์เลคต์ 2006–07 เบลเจียนโปรลีก 33 1 7 0 6[a] 0 46 1
2007–08 30 1 8 0 11[b] 0 49 1
2008–09 32 2 1 0 1[a] 1 1[c] 0 35 3
2009–10 34 1 2 1 12[d] 2 48 4
2010–11 26 0 1 0 7[e] 0 1[c] 0 35 0
2011–12 30 2 1 0 7[f] 0 38 2
2012–13 36 5 4 0 10[a] 0 1[c] 0 51 5
รวม 221 12 24 1 54 3 3 0 302 16
ลาซีโอ 2013–14 เซเรียอา 26 2 1 0 4[f] 0 1[g] 0 32 2
2014–15 27 3 4 1 0 0 31 4
2015–16 27 4 2 0 6[h] 1 1[g] 0 36 5
2016–17 29 4 5 1 34 5
รวม 109 13 12 2 10 1 2 0 133 16
เอซี มิลาน 2017–18 เซเรียอา 28 1 4 0 5[f] 0 37 1
2018–19 16 1 1 0 2[f] 0 19 1
2019–20 14 0 0 0 14 0
รวม 58 2 5 0 7 0 70 2
ฟาตีห์คารากุมรุค 2020–21 ซือเปร์ลีก 35 3 0 0 35 3
รวมทั้งหมด 490 30 41 3 71 4 5 0 549 37
  1. 1.0 1.1 1.2 ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
  2. ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 นัด, ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก 9 นัด
  3. 3.0 3.1 3.2 ลงเล่นในเบลเจียนซูเปอร์คัพ
  4. ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 3 นัด, ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก 9 นัด ทำได้ 2 ประตู
  5. ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 นัด, ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก 5 นัด
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
  7. 7.0 7.1 ลงเล่นในซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา
  8. ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 นัด, ลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก 5 นัด

ทีมชาติ[แก้]

ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2018[41]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
อาร์เจนตินา 2011 6 0
2012 1 0
2013 9 0
2014 12 0
2015 10 1
2016 11 0
2017 6 0
2018 3 0
รวม 58 1

ประตูในนามทีมชาติ[แก้]

ประตูที่ วันที่ สนาม คู่แข่ง คะแนน ผล รายการแข่งขัน
1
17 พฤศจิกายน 2015 สนามกีฬาเมโตรโปลิตาโนโรเบร์โตเมเลนเดซ บาร์รังกิยา โคลอมเบีย ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย
1–0
1–0
ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก

เกียรติประวัติ[แก้]

สโมสร[แก้]

อันเดอร์เลคต์

ทีมชาติ[แก้]

อาร์เจนตินา รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี

รางวัลส่วนตัว[แก้]

  • นักฟุตบอลดาวรุ่งแห่งปีของลีกเบลเยียม: 2006–07

อ้างอิง[แก้]

  1. "FIFA World Cup Russia 2018: List of Players: Argentina" (PDF). FIFA. 15 July 2018. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2019.
  2. "2014 FIFA World Cup Brazil: List of Players" (PDF). FIFA.com. 11 June 2014. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  3. https://www.acmilan.com/en/news/official-statement/2017-07-16/official-biglia-is-now-red-and-black
  4. https://it.eurosport.com/calcio/lucas-biglia_prs89113/person.shtml
  5. "El calendario: es la preocupación de Pastoriza" (ภาษาสเปน). La Nacion. 21 March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  6. "Independiente Arregló Lucas Biglia" (ภาษาสเปน). La Nacion. 11 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-04. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  7. "Creo que la gente fue generosa" (ภาษาสเปน). La Nacion. 15 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  8. "Muy desorientado: la bronca de no ganar" (ภาษาสเปน). La Nacion. 26 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  9. "L'Argentin Lucas Biglia quatre ans à Anderlecht" (ภาษาฝรั่งเศส). Lalibre.be. 20 May 2006. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  10. "Lucas Biglia signs 4-year contract". RSCA.be. 20 May 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  11. "Biglia signs for four seasons at Anderlecht" [Biglia tekent voor 4 seizoenen bij Anderlecht] (ภาษาดัตช์). De Standaard. 20 May 2006. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  12. "LUCAS BIGLIA hoopt na valse start tegen STVV op nieuwe kans" (ภาษาดัตช์). Nieuwsblad. 5 August 2006. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  13. "Anderlecht-Argentijn LUCAS BIGLIA zeker van zijn stuk" (ภาษาดัตช์). Nieuwsblad. 13 September 2006. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  14. "Gemeente Anderlecht zet Boussoufa en co in de bloemetjes" (ภาษาดัตช์). Nieuwsblad. 17 January 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  15. "Gemeente Anderlecht zet Boussoufa en co in de bloemetjes" (ภาษาดัตช์). De Standaard. 21 February 2007. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  16. "Anderlecht in stijl kampioen" (ภาษาดัตช์). Nieuwsblad. 12 May 2006. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  17. "Biglia is (eindelijk) van Lazio" (ภาษาดัตช์). Sporza. 24 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
  18. "Bilancio S.S. LAZIO al 30 giugno 2014" (PDF) (ภาษาอิตาลี). S.S. Lazio. 7 October 2014. pp. 6, 148. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-02. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
  19. "Lazio-Udinese 2–1: biancocelesti perfetti per un'ora, poi Zielinski li grazia" (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. 25 August 2013. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  20. "Verona-Lazio 4–1, Hellas da applausi, Petkovic rischia l'esonero" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta dello Sport. 22 December 2013. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  21. "Lazio, Biglia nuovo capitano: scoppia il caso Candreva" (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. 30 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  22. "Juventus-Lazio 2–0, Mandzukic e Dybala decidono la Supercoppa". La Repubblica. 8 August 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  23. "Lazio-Biglia, aria di addio: "Non so se vado in ritiro". Milan sempre più vicino" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta Dello Sport. 10 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  24. "Biglia fa le visite mediche e raggiunge la Lazio in ritiro" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta Dello Sport. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  25. "UFFICIALE: BIGLIA È ROSSONERO" (ภาษาอิตาลี). A.C. Milan Official Website. 16 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  26. "Milan-Biglia, ora è ufficiale. L'ex Lazio ha firmato fino al 2020" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta Dello Sport. 16 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  27. "Argentijnse bondscoach roept Lucas Biglia op" (ภาษาดัตช์). Sporza.be. 2 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  28. "Argentina 2–1 Portugal: Last-gasp Lionel Messi penalty secures entertaining victory after Cristiano Ronaldo equaliser". Goal.com. 9 February 2011. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  29. "Biglia wil operatie uitstellen om Copa te spelen" (ภาษาดัตช์). Sporza.be. 3 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-30. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  30. "Biglia mag naar Copa America" (ภาษาดัตช์). HLN.be. 26 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  31. "Lucas Biglia mag met Argentinië naar Brazilië" (ภาษาดัตช์). HLN.be. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 6 March 2017.
  32. "Germany 1–0 Argentina". BBC. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  33. "Chile 0–0 Argentina". BBC. 5 July 2015.
  34. "Biglia goal gives Argentina vital win over Colombia". SBS. 18 November 2015.
  35. "Carlos Tevez, Paulo Dybala left off Argentina's Copa America squad". ESPN FC. 20 May 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  36. Doug McIntyre (26 June 2016). "Chile keep Lionel Messi at bay in defence of Copa America crown". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 27 July 2016.
  37. "Argentina World Cup squad: Paulo Dybala included but Mauro Icardi misses out on 23-man group for Russia". The Independent. 21 May 2018. สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
  38. Chris Bevan (16 June 2018). "Argentina 1–1 Iceland". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  39. "Biglia retires from Argentina". Football Italia. 30 June 2018.
  40. "Argentina – L. Biglia – Profile with news, career statistics and history". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 4 June 2018.
  41. Strack-Zimmermann, Benjamin. "Lucas Biglia". National Football Teams (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]