ลูกขวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกขวาน

ลูกขวาน เป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่คนไทยโบราณมักพกพาอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนภาคใต้ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจนถึงจังหวัดสงขลา มีประโยชน์ในการใช้ป้องกันตัวจากภัยต่าง ๆ เช่น การต่อสู้ การทะเลาะวิวาท ฯลฯ ลูกขวานเป็นอาวุธที่มีลักษณะคล้ายขวาน เพียงแต่มีขนาดที่เล็กกว่าคือมีขนาดประมาณความกว้าง 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 นิ้ว ลูกขวานชนิดนี้นิยมเรียกกันว่า "ลูกขวานหย่านมแม่" วัสดุที่นิยมใช้ในการทำลูกขวานคือเขาสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เขาวัว เขาควาย ฯลฯ การใช้งานลูกขวานในการป้องกันตัวนี้ นิยมใช้อยู่ 2 วิธี คือการฟันเข้าไปที่หน้าคู่วิวาท ซึ่งเรียกกันว่า "สับหน้า" และการสับกะโหลกศีรษะของคู่วิวาท ซึ่งเรียกกันว่า "เฉียงหัว"

ลูกขวานในปัจจุบัน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]