ลีออนโทโพลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลีออนโทโพลิส เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณดอนปากแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ล่าง จะทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม ปัจจุบันยังคงเหลือซากโบราณสถานและการตั้งถิ่นฐาน และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือ คาฟร์ อัล มักดาม

ชื่อ[แก้]

เมืองนี้เป็นชื่อภาษากรีกโบราณ "ลีออนโทโพลิส" Λεόντων πόλις[1] (มีความหมายว่า "เมืองแห่งสิงโต") หรือ ลีออนโท Λεοντώ, ("สิงโต")[2] ซึ่งได้รับวัฒนธรรมกรีกจากการเข้าของราชวงศ์ปโตเลมี โดยชาวอียิปต์โบราณเรียกเมืองนี้ว่า ทาเรมู ("ดินแดนแห่งปลา")[3] และเมื่อวัฒนธรรมของอาหรับได้เข้ารุ่งเรืองจึงเปลี่ยนเป็น แทล เอล-มักดาม ("เนินดินของเมือง")

ประวัติ[แก้]

ภาพสลักฟาโรห์ลูพุดที่ 2 ที่ลีออนโทโพลิส

เมืองนี้ตั้งอยู่ในภาคกลางของพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และน่าจะเป็นศูนย์กลางของอำนาจฟาโรห์ภายใต้ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม ในแผ่นหินสลักที่ค้นพบในแม่น้ำไนล์ที่เจเบล บาร์กัล ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับฟาโรห์ปิเยได้พิชิตฟาโรห์ลูพุตที่ 2 ผู้ปกครองเมืองลีออนโทโพลิส[4] สตราโบเป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองลีออนโทโพลิส และอาจเป็นที่มาหรือความสำคัญ

ชื่อเมืองในภาษากรีกหมายถึง "เมืองแห่งสิงโต" โดยคำนึงถึงการปรากฏตัวของเทพธิดาบาสเทต เทพธิดาเซคเมต และโอรสของพระองค์นามว่า มาเฮต ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งสิงโต มัมมี่สิงโตถูกเก็บไว้ที่วัดในช่วงเวลาของการยึดครองกรีก

อ้างอิง[แก้]

  1. Hieronym. ad Jovian. ii. 6
  2. Ptol. iv. 5. § 51, Strabo xvii. pp. 802, 812
  3. GDG VI, 26; LÄ VI, 351
  4. TUAT 1, 1985, 557ff.