ข้ามไปเนื้อหา

ลีกออฟเลเจนดส์: ไวลด์ริฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลีกออฟเลเจนดส์: ไวลด์ริฟต์
ผู้พัฒนาไรออตเกมส์
ผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก: ไรออตเกมส์
ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน: ไต้หวันโมไบล์
กำกับคริสตินา นอร์แมน[1]
อำนวยการผลิต
  • ไมเคิล ชาว[2]
  • โจนาธาน เชา[3]
  • เดวิด ซู
  • คริสตินา วัน
ออกแบบไบรอัน ฟีนีย์
ชุดลีกออฟเลเจนดส์
เอนจินยูนิตี[4]
เครื่องเล่นแอนดรอยด์, ไอโอเอส, คอนโซล
วางจำหน่าย27 ตุลาคม 2563
แนวโมบา
รูปแบบหลายผู้เล่น

ลีกออฟเลเจนดส์: ไวลด์ริฟต์ (อังกฤษ: League of Legends: Wild Rift, ย่อ: LoL: WR) เป็นวิดีโอเกมโมบาที่พัฒนาและวางจำหน่ายโดยไรออตเกมส์สำหรับแอนดรอยด์, ไอโอเอส, และคอนโซล เกมเป็นเวอร์ชันย่อของ "ลีกออฟเลเจนดส์" พีซี [5]

เช่นเดียวกับ ลีกออฟเลเจนดส์ ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็น "ซัมมอนเนอร์" ควบคุม "แชมเปี้ยน" ที่มีความสามารถพิเศษและต้องต่อสู้กับทีมอื่น ๆ หรือเอไอที่ควบคุมแชมเปี้ยน เป้าหมายคือการทำลาย "เน็กซัส" ของทีมศัตรูซึ่งเป็นโครงสร้างในใจกลางของฐานที่ได้รับการปกป้องโดยเลนต่าง ๆ

ประวัติ

[แก้]

เมื่อปี 2558 เทนเซ็นต์ขอความร่วมมือกับไรออตเกมส์ ซึ่งเทนเซ็นต์เป็นเจ้าของ และขอให้พวกเขาเปลี่ยน ลีกออฟเลเจนดส์ เกมยอดนิยมของพวกเขาให้กลายเป็นรูปแบบโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตามไรออตเกมส์ปฏิเสธและอ้างว่ารูปแบบการเล่นของ ลีกออฟเลเจนดส์ ไม่สามารถเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ต่อมาเทนเซ็นต์ก็สร้างเกมโทรศัพท์มือถือของตัวเองที่มีชื่อว่า Wangzhe Rongyao แปลเป็นภาษาอังกฤษคร่าว ๆ ว่า King of Glory[6] ซึ่งมีรุ่นต่างประเทศชื่อ อารีนาออฟเวเลอร์

เมื่อปี 2560 ไรออตเกมส์ยื่นฟ้อง Moonton Technology Co. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมมือถือ โมบายล์เลเจ็นดส์: บังก์ บังก์ เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยอ้างถึงความคล้ายคลึงกันระหว่าง โมบายล์เลเจ็นดส์ และ ลีกออฟเลเจนดส์[7][8]

ตั้งแต่ปี 2559 เทนเซนต์มีผู้ใช้รายวันมากกว่า 50 ล้านคนต่อวันและผู้ใช้ที่ลงทะเบียนมากกว่า 200 ล้านคนใน Honor of Kings และอารีนาออฟเวเลอร์ [9] ในปี 2019 ทั้ง Honor of Kings และอารีนาออฟเวเลอร์ เป็นเกมมือถือที่ใหญ่ที่สุดในเวทีอีสปอรต์ ไรออตเกมส์ได้ตระหนักถึงศักยภาพที่ใหญ่ในตลาดมือถือ ลีกออฟเลเจนดส์: ไวลด์ริฟต์ ประกาศเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2019 ในช่วงครบรอบปีที่สิบของ ลีกออฟเลเจนดส์

การเปิดตัว

[แก้]

ลีกออฟเลเจนดส์: ไวลด์ริฟต์ มีกำหนดจะเปิดตัวในปี 2020[10] พร้อมด้วยเริ่มดำเนินการแอลฟาที่จำกัดในประเทศบราซิลและฟิลิปปินส์[11] เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 เปิดโคลสเบต้าแบบปิดในประเทศอินโดนีเซีย (ทดสอบกับจำนวนผู้เล่นที่ได้รับเชิญจำนวนน้อยมาก) และ 18 กันยายน 2563 อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซียและไทย[12] และเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เปิดโอเพนเบต้าในประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://twitter.com/truffle
  2. RiotFeralPony [@RiotFeralPony] (February 6, 2020). "I've been the design lead for about the last year and change. Michael Chow is the overall director / executive producer" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  3. /dev diary: May 2020 - Gameplay Reveal - League of Legends: Wild Rift
  4. ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:TwitterSnowflake บรรทัดที่ 48: attempt to index local 'x' (a nil value)
  5. https://www.engadget.com/2019/10/15/league-of-legends-wild-rift/
  6. Mickunas, Aaron. "Riot's relationship with Tencent has reportedly been strained over declining profits and mobile games". dotesports. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. Mickunas, Aaron (18 กรกฎาคม 2561). "Riot Games parent Tencent wins $2.9 million in lawsuit against Moonton CEO". Dot Esports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. Lanier, Liz (19 กรกฎาคม 2561). "เทนเซ็นต์ชนะคดี Copycat 'ลีกออฟเลเจนดส์'". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "World's top-grossing game Honour of King is coming to Europe and the US". TechNode. July 7, 2017.[ลิงก์เสีย]
  10. "League of Legends Mobile release date WARNING ahead of LoL Wild Rift beta news". Express.co.uk. 19 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. https://dotesports.com/mobile/news/how-to-join-league-of-legends-wild-rift-alpha-test
  12. https://www.riotgames.com/en/news/lol-wild-rift-closed-beta-tha

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]