ลินคอล์น คอนติเนนทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลินคอล์น คอนติเนนทัล
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตลินคอล์น (ฟอร์ดมอเตอร์)
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 1939 - 1941
ค.ศ. 1946 - 1948
ค.ศ. 1956 - 2002
ค.ศ. 2016 - 2020
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size Luxury Car)(รุ่นที่ 1-5, รุ่นที่ 10)
รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลาง (Mid-size Luxury Car) (รุ่นที่ 6-9)
รูปแบบตัวถังซีดาน 2 ประตู
ซีดาน 4 ประตู
คูเป้ 2 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันเอาดี้ เอ8
เล็กซัส แอลเอส
อินฟินิที คิว45
บีเอ็มดับเบิลยู 7 ซีรีส์
ลินคอล์น ทาวน์ คาร์
จากัวร์ เอ็กซ์เจ
มาเซราตี ควอตโตรปอร์เต
โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา
นิสสัน ซิมา
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์4.8-7.6 ลิตร V8, V12 และ 2.7-3.7 ลิตร V6
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าลินคอล์น เอ็มเคเอส (สำหรับรถหรูหราขนาดกลาง)
รุ่นต่อไปลินคอล์น แอลเอส (สำหรับรถหรูหราขนาดกลาง)
ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ (สำหรับรถหรูหราขนาดใหญ่)
ลินคอล์น เซเปียร์ (ประเทศจีน)

ลินคอล์น คอนติเนนทัล (อังกฤษ: Lincoln Continental) เป็นอดีตรถธงของลินคอล์น (บริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันในสังกัดฟอร์ดมอเตอร์) เริ่มผลิตครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 1939 - ค.ศ. 1941 แล้วมาผลิตรอบที่สองอีกใน ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1948 เกือบตลอดช่วงเวลาที่ผลิต ลินคอล์นยกให้คอนติเนนทัลเป็นรถธง ก่อนที่จะเลิกผลิตและถูกแทนที่โดย ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ (อังกฤษ: Lincoln Town Car)

ตลอดระยะเวลาการผลิต คอนติเนนทัลมีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาแบ่งได้ 10 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 (ค.ศ. 1939 - 1948)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 1

คอนติเนนทัลรุ่นแรก เดิมทีได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลของ เอ็ดเซล ไบรอันท์ ฟอร์ด (อังกฤษ: Edsel Bryant Ford) ประธานคนที่ 2 ของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ซึ่งใน ค.ศ. 1938 เอ็ดเซล ได้ให้หัวหน้านักออกแบบของบริษัท ชื่อ ยูจีน เกรกอรี (อังกฤษ: Eugene Gregorie) ได้ร่างแบบพาหนะรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็นรถส่วนบุคคลให้เอ็ดเซลนำไปใช้ในการท่องเที่ยวในช่วงวันพักร้อนของเขา เกรกอรีได้ออกแบบโดยนำต้นแบบมาจากรถรุ่น ลินคอล์น ซีเฟียร์ (อังกฤษ: Lincoln Zephyr) โดยดัดแปลงรายละเอียดในและนอกตัวรถ และเปลี่ยนรูปแบบเป็นรุ่นใหม่ที่ดูสง่างาม

ต้นปี ค.ศ. 1939 รถคันใหม่ได้ถูกผลิตขึ้น ทันช่วงวันพักร้อนของเอ็ดเซล เมื่อเอ็ดเซลนำไปใช้ในวันพักร้อนของเขากันเพื่อนๆ ก็พบว่า เพื่อนๆ และผู้คนมากมายให้ความสมใจ เอ็ดเซลจึงส่งโทรเลขกลับมาที่บริษัท ว่าเขาต้องการให้ผลิตรถแบบเดียวกับที่ผลิตให้เขาเพื่อการค้าขาย เมื่อทางบริษัทได้รับโทรเลขดังกล่าว ก็ไม่รีรอ เริ่มการผลิตทันที โดยรถรุ่นใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นเป็นรถแบบผลิตด้วยมือ (Hand-Made) ไม่ใช่ผลิตด้วยเครื่องจักร ทำให้เป็นรถที่มีรายละเอียดประณีต สง่างาม แต่การผลิตจะช้า และทำให้ราคาแพง โดยในปี 1939 คอนติเนนทัลถูกผลิตขึ้นเพียง 24 คัน และในปี 1940 ผลิตได้เพียง 400 คัน จึงมีราคาแพงมาก แต่ก็สามารถขายได้ดี

ใน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่สอง อุบัติขึ้น ในช่วงแรก สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง ยังไม่เข้าร่วมรบ ทำให้ลินคอล์น ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกัน สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ แต่ใน ค.ศ. 1941 กองทัพญี่ปุ่น หนึ่งในแกนนำฝ่ายอักษะ ได้เข้าโจมตีฐานทัพเรือในอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ซึ่งเป็นอาณาเขตของสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐฯ ต้องประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้อเมริกาเข้าสู่ภาวะสงคราม ลินคอล์นจึงต้องหยุดผลิตคอนติเนนทัลลงไปชั่วคราว แล้วมาผลิตใหม่อีกครั้งใน ค.ศ. 1946 หลังจากสงครามสิ้นสุดลง 1 ปี (ผลของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ)

รุ่นที่ 2 (ค.ศ. 1956 - 1957)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 2

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 2 ในการผลิตขายจะใช้ชื่อว่า คอนติเนนทัล มาร์ค ทู (อังกฤษ: Continental Mark II) ซึ่งคอนติเนนทัลมีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ และผู้สนใจและผู้ใช้รถ ต่างยกย่องว่ามีคุณภาพ (โดยภาพรวม) ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์วงการรถยนต์ และมีการตกแต่งภายในอย่างหรูหราเต็มพิกัด ใช้เครื่องยนต์ 6000 ซีซี วี8

เมื่อคอนติเนนทัลรุ่นที่ 2 เป็นรถที่คุณภาพสูง แน่นอนว่า ราคารถต้องสูง โดยมีราคา 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เงิน 10,000 ดอลลาร์ในปี 1956 เทียบเท่า 80,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2.6 ล้านบาทในปัจจุบัน และรถยนต์ที่มีขายในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีราคาแพงกว่าราคาในต่างประเทศเฉลี่ยประมาณ 2-3 เท่า เพราะภาษีรถยนต์ประเทศไทยสูง) ซึ่งสูงเกือบเท่ารถยนต์ โรลส์-รอยซ์ เลยทีเดียว แต่ทว่า ด้วยราคาดังกล่าว เมื่อฟอร์ดมาทบทวนต้นทุนอีกครั้งในภายหลัง พบว่า 10,000 ดอลลาร์ ยังเป็นราคาที่ขาดทุนอยู่อีกหลายพันดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ฟอร์ดได้ตรึงราคาคอนติเนนทัลไว้ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของลินคอล์น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของลินคอล์นว่าเป็นรถที่มีคุณภาพเกินราคา (ในปัจจุบัน รถที่มีคุณภาพเทียบเท่าคอนติเนนทัลรุ่นที่ 2 มีราคาในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาท) และนอกจากนี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ก็ได้เลือกซื้อคอนติเนนทัลรุ่นที่ 2 เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล เช่น พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ประมุขแห่งอิหร่าน, เนลสัน รอคเคเฟลเลอร์ รองประธานาธิบดีคนที่ 41 แห่งสหรัฐอเมริกา, เฮนรี คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 56 ที่ปรึกษาความมั่นคงคนที่ 8 แห่งสหรัฐอเมริกา เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี ค.ศ. 1973, แฟรงก์ ซินาตรา และ เอลวิส เพรสลีย์

ตลอดช่วง 2 ปีที่ผลิต ฟอร์ดผลิตคอนติเนนทัลรุ่นที่ 2 จำนวนประมาณ 3,000 คัน ปัจจุบัน ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ยังต้องการการซ่อมแซม และโชคดีที่อะไหล่ส่วนใหญ่ยังเป็นอะไหลที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ทำให้การซ่อมแซมรถคอนติเนนทัลมาร์คทู สามารถทำได้ง่ายเหมือนซ่อมรถยุคใหม่ๆ และราคาของมันในตลาดรถปัจจุบัน อยู่ระหว่าง 8,000 - 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ

รุ่นที่ 3 (ค.ศ. 1961 - 1969)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 3

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 3 ได้รับการออกแบบใหม่โดย เอลวูด เอนเจล (อังกฤษ: Elwood Engel) ซึ่งแบบที่ออกมาใหม่นั้นเดิมทีออกแบบมาเพื่อเป็นรถรุ่นใหม่ของ ฟอร์ด ธันเดอร์เบิร์ด (อังกฤษ: Ford Thunderbird) แต่แบบของรถนั้นกว้างเกินกว่าที่จะเป็นธันเดอร์เบิร์ด จึงเปลี่ยนมาเป็นรถรุ่นใหม่ของ ลินคอล์น คอนติเนนทัล แทน ซึ่งทำให้ผู้ที่ติดตามสนใจคอนติเนนทัลแปลกใจ เพราะคอนติเนนทัลใหม่ มีตัวถังสั้นกว่าเดิมถึง 2 ฟุต (61 เซนติเมตร) และอีกเอกลักษณ์หนึ่งที่ทำให้คอนติเนนทัลรุ่นนี้เป็นที่รู้จัก คือ ประตูตู้กับข้าว หรือประตูหลังที่เปิดจากด้านหน้า ประตูหน้าที่เปิดจากด้านหลัง (คล้ายๆกับกระบะรุ่นตอนครึ่งที่แค็บเปิดได้) และรุ่นนี้ รถที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นรถแบบ 4 ประตู (ซีดาน กับ เปิดประทุน) ยอดขายของคอนติเนนทัลเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ใน ค.ศ. 1961 สามารถขายคอนติเนนทัลได้ 25,160 คัน

หลังจากเริ่มขายไปได้สักพัก มีเสียงเรียกร้องจากผู้ใช้รถว่าที่นั่งด้านหลังนั้นชิดเบาะหน้าเกินไป ทำให้ไม่สามารถเยียดขาได้มากนัก ลินคอล์นจึงออกแบบเก้าอี้แถวหน้าของคอนติเนนทัลใหม่ในปี 1963 ให้เก้าอี้หน้ามีขนาดเล็กลง แต่ก็ยังไม่เพียงพอนัก จึงต้องเพิ่มความยาวรถมากขึ้น 7.6 เซนติเมตร

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 3 เคยได้รับเลือกให้เป็นรถขบวนลีมูซีนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และรถลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นเปิดประทุน 4 ประตู ปี 1961 คือรถที่จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 35 โดยสารอยู่ในขณะที่ท่านถูกลอบสังหาร

ภาพยนตร์สมัยใหม่ๆ หลายเรื่อง ได้นำ ลินคอล์น คอนติเนนทัล ไปประกอบการแสดงในภาพยนตร์ เช่น The Matrix (เดอะ เมทริกซ์ : เพาะพันธุ์มนุษย์เหนือโลก 2199) นำแสดงโดย คีอะนู รีฟส์, Last Action Hero (คนเหล็กทะลุมิติ) นำแสดงโดย อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์, Inspector Gadget (จี นักสืบสมองกล) นำแสดงโดย แมททิว บรอเดริก

รุ่นที่ 4 (ค.ศ. 1970 - 1979)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 4

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 4 มีลูกเล่นใหม่คือการซ่อนไฟหน้า เมื่อไม่ได้ใช้งานไฟหน้า ไฟหน้าจะถูกซ่อนไว้ และจะโผล่ออกมาเมื่อเปิดไฟ และยังมีหน้าต่างขนาดเล็กบนเสาหลัง (Opera Window) และใน ค.ศ. 1974 ยังมีการตั้งชื่อเสริมพิเศษให้กับคอนติเนนทัลรุ่น 4 ประตูว่า คอนติเนนทัล ทาวน์ คาร์ (อังกฤษ: Lincoln Continental Town Car) และตั้งชื่อให้รุ่น 2 ประตูว่า คอนติเนนทัล ทาวน์ คูเป้ (อังกฤษ: Lincoln Continental Town Coupé) ซึ่งชื่อทาวน์คาร์ ต่อมาได้แยกออกเป็นรุ่นใหม่ อิสระไม่ขึ้นตรงกับคอนติเนนทัล

ในช่วงของการผลิตคอนติเนนทัลรุ่นที่ 4 ได้เกิดวิกฤติราคาน้ำมันแพงขึ้น 2 รอบซ้อน ในปี 1973 และ 1979 ส่งผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งขึ้นรวม 10 เท่า (จาก 4 เป็น 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเจ็ดปี) ทำให้ประชาชนเกือบที่จะไม่สนใจรถใหญ่ที่ใช้น้ำมันมากอีกต่อไป ยอดขายรถใหญ่ทุกชนิดน้อยลงอย่างฮวบฮาบ ค่ายรถส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเน้นพัฒนาให้รถมีขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน แต่ไม่ใช่กับคอนติเนนทัล คอนติเนนทัลรุ่นที่ 4 สวนกระแส โดยได้เปลี่ยนระบบเกียร์เป็นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด (เกียร์อัตโนมัติสมัยนั้นยังไม่พัฒนา) ส่วนเครื่องยนต์นั้นช่วงแรกจะใช้เครื่องยนต์ 6600 ซีซี วี8 ใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ย 5 กิโลเมตรต่อลิตร แต่ช่วงหลังๆ ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ 7500 ซีซี ใช้เชื่อเพลิง 4.2 กิโลเมตรต่อลิตร

นอกจากนี้การที่คอนติเนนทัล ไม่ลดขนาด ทำให้ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 คอนติเนนทัลเป็นรถที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ในตลาดรถ แต่นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คอนติเนนทัลเริ่มเสื่อมความนิยมลงครั้งหนึ่ง

รุ่นที่ 5 (ค.ศ. 1980 - 1981)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 5

ฟอร์ดจำเป็นต้องลดขนาดของคอนติเนนทัลรุ่นที่ 5 ลง ด้วยแรงกดดันจากวิกฤติน้ำมันและกระแสสังคม คอนติเนนทัลใหม่มีน้ำหนักเบาลง 363 กิโลกรัม ลดขนาดเครื่องยนต์จาก 7500 เป็น 4900 ซีซี ในรุ่นมาตรฐาน และ 5800 ซีซี ในรุ่นพิเศษ ทำให้สามารถประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น และสามารถขายรถได้มากขึ้น ฟื้นฟูความนิยมของคอนติเนนทัลขึ้นได้อีกครั้ง

หลังจากยุติการผลิตรุ่นที่ 5 แล้ว ฟอร์ดได้แยกรุ่นคอนติเนนทัล ทาวน์คาร์ ออกมาเป็นรถรุ่นใหม่ เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงกับคอนติเนนทัล โดยเป็จัดอยู่ในเกรดรถหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size Luxury Car) แทนที่คอนติเนนทัล ส่วนคอนติเนนทัล (ที่เคยเป็นรถเกรดหรูหราขนาดใหญ่ดังกล่าว) ถูกลดเกรดลงเป็นรถหรูหราขนาดกลาง (Mid-size Luxury Car) ในรุ่นที่ 6

รุ่นที่ 6 (ค.ศ. 1982 - 1987)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 6

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 6 หลังจากถูกลดเกรดลง ลินคอล์น เวอร์ซาอิลเลส (อังกฤษ: Lincoln Versailles) ซึ่งเป็นรถหรูหราขนาดกลางของเดิมได้ถูกยกเลิกการผลิต คู่แข่งที่สำคัญของคอนติเนนทัลในช่วงนี้เปลี่ยนเป็น คาดิลแลค เซวิลล์ (อังกฤษ: Cadillac Seville) ซึ่งจุดแข็งของคอนติเนนทัลคือ รูปทรงที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นว่าดูสง่างามกว่าเซวิลล์ และเสียงตอบรับจากผู้ใช้ที่มองว่าคอนติเนนทัลมีภาพรวมที่แข็งแกร่งทนทาน ไม่มีปัญหาจุกจิก แต่ว่าเซวิลล์เองก็มีจุดแข็งที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งรถเกรดหรูหราที่ขับเคลื่อนล้อหน้ากำลังเป็นที่สนใจของลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากในขณะนั้น ในขณะที่คอนติเนนทัลยังขับเคลื่อนล้อหลัง อีกทั้งเซวิลล์ก็ได้เปิดตัวรุ่นใหม่ก่อนคอนติเนนทัลนานถึง 2 ปี ทำให้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อหลายคนได้ซื้อเซวิลล์ไปแล้ว และไม่ต้องการซื้อรถเพิ่ม ทำให้ทั้งสองรุ่นมีการต่อสู้ในภาพรวมที่สูสี

สำหรับเครื่องยนต์นั้น คอนติเนนทัลจะใช้เครื่อง 4900 ซีซี วี8 เป็นมาตรฐาน และมีเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล 2400 ซีซีเป็นรุ่นพิเศษ

รุ่นที่ 7 (ค.ศ. 1988 - 1994)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 7

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 7 ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องวี6 แทนเครื่อง วี8 ทั้งหมด เปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และลดขนาดเครื่องยนต์จาด 4900 เหลือ 3800 ซีซี ทำให้เครื่องยนต์ของคอนติเนนทัลใหม่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้างเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ที่นั่งภายใน 6 ที่นั่ง ปริมาตรช่องเก็บสัมภาระด้านหลังขึ้นเป็น 19 คิวบิกฟุต (ประมาณ 538 ลิตร) จาก 15 คิวบิกฟุต (425 ลิตร) ตัวรถยาวขึ้น 102 มิลลิเมตร แต่เบาลง 77 กิโลกรัม คู่แข่งที่สำคัญของคอนติเนนทัลในช่วงนี้คือ คาดิลแลค เดอวิลล์ (อังกฤษ: Cadillac Deville)

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 7 มีราคาที่ถูกกว่ารุ่นก่อน และมีภาพรวมในช่วงแรกที่ดี จนได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1989 โดยนิตยสาร Car and Driver แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่า คอนติเนนทัลรุ่นใหม่ไม่ทนทานเหมือนก่อน ผู้ใช้บางคนเริ่มพบปัญหาจุกจิกเมื่อใช้งานไปนานๆ ทำให้รถรุ่นนี้ เมื่อเก่าไปจึงไม่ใช่รถที่ผู้สนใจรถต้องการสักเท่าใด ราคาในตลาดรถ (มือสอง) ในปัจจุบันของคอนติเนนทัลรุ่นที่ 7 จึงไม่ต่างจากรถรุ่นอื่นๆ ทั่วๆ ไป และส่งผลกระทบให้ภาพพจน์ของคอนติเนนทัลเสื่อมเสียไปอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลทางอ้อมถึงขนาดที่ต้องยุติสายการผลิตของคอนติเนนทัลในเวลาต่อมา

รุ่นที่ 8 (ค.ศ. 1995 - 1997)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 8

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 8 ได้เปลี่ยนไปกลับใช้เครื่องยนต์แบบวี8 4600 ซีซี 32วาล์ว DOHC เป็นเครื่องรุ่นเดียวกันกับ ฟอร์ด มัสแตง คอบรา (มัสแตงรุ่นที่ 4) ให้กำลังสูงสุด 260 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 359 นิวตัน-เมตร ภายในรถตกแต่งด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น เครื่องเล่นซีดี เก็บแผ่นได้ 6 Disc (รถส่วนใหญ่ในยุคนั้นยังใช้เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์) มีหลังคามูนรูฟ (หน้าต่างบนหลังคา สำหรับดูท้องฟ้า) แบบใช้ไฟฟ้าเปิด-ปิด และมีติดตั้งช่องแอร์ในที่นั่งด้านหลังด้วย แต่ภาพลักษณ์โดยรวมของรุ่นนี้ ก็ไม่โดดเด่นพอที่จะกู้ภาพลักษณ์ของคอนติเนนทัลได้มากนัก

รุ่นที่ 9 (ค.ศ. 1998 - 2002)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 9

คอนติเนนทัลรุ่นที่ 9 ใช้เครื่องยนต์วี8 4600 ซีซี DOHC รุ่นเดิม แต่สามารถพัฒนาให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 275 แรงม้า และแรงบิดเพิ่มเป็น 373 นิวตัน-เมตร มีราคามาตรฐานอยู่ที่ 38,325 ดอลลาร์สหรัฐ แต่มีชุดอุปกรณ์เสริมพิเศษขายมากมาย เช่น ชุด Remote Emergency Satellite Cellular Unit Package ที่จะสามารถระบุตำแหน่งของรถได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถส่งสัญญาณของความช่วยเหลือไปยังศูนย์บริการโดยอัตโนมัติหากเกิดอุบัติเหตุ ขาย 2,345 ดอลลาร์, โฮมลิงก์ไวร์เลสคอนโทรล 120 ดอลลาร์ และชุดแต่งอีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม ผู้คนในยุคนั้นที่มีกำลังซื้อมากหมดความสนใจในรถหรูหราที่ขับเคลื่นล้อหน้า หันกลับไปสนใจรถหรูหราที่ขับเคลื่อนล้อหลัง จึงทำให้คอนติเนนทัลไม่สามารถขายได้ดีนัก อีกทั้งกับภาพลักษณ์ของชื่อคอนติเนนทัลที่เสื่อมเสียมาตั้งแต่รุ่นที่ 7 และรุ่นที่ 8 ก็มีภาพลักษณ์โดยรวมที่ไม่โดดเด่นนัก อีกทั้งรูปทรงที่คล้ายกับรุ่น 7 และรุ่น 8 ส่งผลให้ผู้คนยังตัดสินใจไปซื้อรถทางเลือกอื่นๆ จึงสายเกินไปที่จะกู้ภาพลักษณ์ของคอนติเนนทัล ทำให้ยอดขายของคอนติเนนทัลตกต่ำถึงขีดสุด จนต้องเลิกการผลิตคอนติเนนทัลในปี 2002 โดยต้องเปลี่ยนไปผลิตลินคอล์นอีกรุ่นหนึ่งมาเป็นรถหรูหราขนาดกลางแทนคอนติเนนทัล ชื่อว่า ลินคอล์น แอลเอส (อังกฤษ: Lincoln LS) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีกว่า ตำนานของคอนติเนนทัลจึงสิ้นสุดลงหลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึง 63 ปี

หลังจากที่การผลิตยุติลง รถธงของลินคอล์นเปลี่ยนจากคอนติเนนทัลเป็นรุ่น ลินคอล์น ทาวน์ คาร์

รุ่นที่ 10 (ค.ศ. 2017 - 2020)[แก้]

ลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 10

หลังจากที่หายไปจากตลาด 15 ปี ลินคอล์นได้ออกมาประกาศว่าจะเริ่มการผลิตรุ่นคอนติเนนทัลอีกครั้ง และได้เปิดตัวรถต้นแบบในปี 2015 ก่อนที่รุ่นผลิตจริงถูกเปิดตัวเมื่อปี 2016 โดยใช้เครื่องยนต์ ฟอร์ด อีโค่บูสต์ วี 6 ขนาด 3000 ซีซี ทวินเทอร์โบ กำลังการผลิต 400 แรงม้า

ถือเป็นการกลับมาอย่างเป็นทางการ กับเรือธงโมเดลล่าสุดปี 2017 ซีดานขนาดใหญ่สุดแสนสบาย มุ่งเน้นเสนอความหรูหราแบบเรียบง่าย ดีไซน์ที่เรียบหรูสวยงามต่อเนื่องตลอดทั้งคัน เพื่อตลาดในอเมริกา และจีน ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้

ลินคอล์นคอนติเนนทัล เดบิวต์ที่จะประโคมตันเท่านั้นที่จะได้พบกับตลาดทันทีและอย่างไร้ความปราณีย้ายจากรถซีดานไปยัง SUVs ดังนั้นข่าวลือเกี่ยวกับการตายของลินคอล์นคอนติเนนตัล เริ่มวนรอบไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าพวกเขาใกล้จะบรรลุผลแล้ว แถมมีข่าวลือเริ่มต้นระบุว่า Continental จะถูกยกเลิกในตอนท้ายของการรันโมเดลปัจจุบันและตามแหล่งข่าวในฟอร์ดที่พูดกับ Jalopnik นั่นน่าจะเป็นปี 2020 ผู้ใช้ในฟอรัม Blue Oval ดูเหมือนจะชี้ไปที่ข้อสรุปเดียวกับที่ผู้ใช้รายหนึ่งแจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงในโรงงานประกอบ Flat Rock กำลังจะมาถึงและพวกเขาอ้างว่า พวกเขาได้รับการบอก ว่า Continental จะยุติการผลิตในช่วงฤดูร้อนหน้า

ถึงแม้จะเลิกผลิตและขายในตลาดอเมริกา แต่ในตลาดจีน รุ่น Continental จะยังไม่เลิกผลิต และยังจำหน่ายอยู่

หลังจากนั้น ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ลินคอล์นก็ยุติการผลิตคอนติเนนทัล และไม่มีการผลิตรถซีดานประเภทหรูหราขนาดใหญ่อีกเลย

อ้างอิง[แก้]