ข้ามไปเนื้อหา

ลำดับสงวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การวางแนวลำดับ (sequence alignment) ของโปรตีนฮิสโตนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยใช้โปรแกรม ClustalO ลำดับที่เห็นเป็นกรดอะมิโนที่เรซิดิว (residue) 120-180 ของโปรตีน เรซิดิวที่สงวนข้ามสายพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ มีสีเทา แถวล่างสุดเป็นตัวบ่งสภาวะสงวนรวมทั้ง ลำดับสงวน (*) conservative mutation (:) semi-conservative mutations (.) และ non-conservative mutation ( )[1]

ในชีววิทยาวิวัฒนาการ ลำดับสงวน (อังกฤษ: conserved sequence) เป็นลำดับที่คล้ายหรือเหมือนกันภายในกรดนิวคลีอิก (ไม่ว่าจะเป็นดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ) ในโปรตีน หรือในพอลิแซ็กคาไรด์ ข้ามสปีชีส์ต่าง ๆ หรือแม้แต่ภายในโมเลกุลต่าง ๆ กันในสิ่งมีชีวิตเดียวกัน สภาพสงวนข้ามสปีชีส์บ่งว่า กระบวนการวิวัฒนาการได้ดำรงรักษาลำดับหนึ่ง ๆ ไว้แม้จะได้แยกเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน ลำดับที่สงวนไว้อย่างดียิ่ง (highly conserved sequence) ก็คือที่รักษาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแม้ไต่ขึ้นไปตามต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ และดังนั้น จึงเป็นของเก่าแก่ในระดับธรณีกาล ยกตัวอย่างเช่น ลำดับดีเอ็นเอที่เรียกว่า homeobox[A] ได้สงวนไว้ข้ามไฟลัมต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์ขาปล้อง (เช่น แมลงหวี่) และสัตว์มีกระดูกสันหลัง (เช่น หนูหริ่งและมนุษย์) ดังนั้น ลำดับเช่นนี้ได้รักษาไว้อย่างไม่เปลี่ยนตั้งแต่เหตุการณ์ Cambrian explosion ที่แยกสัตว์ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เมื่อ 500 ล้านปีก่อน ลำดับดีเอ็นเอที่สงวนไว้มากที่สุดข้ามโดเมนสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ก็คือ ส่วนต่าง ๆ ของ 16S rRNA gene และ 23S rRNA gene[2] ลำดับที่สงวนไว้ดีมากปกติบ่งว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติได้กำจัดรูปแบบที่กลายพันธุ์จากลำดับนั้นอย่างต่อเนื่อง

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. homeobox เป็นลำดับดีเอ็นเอ ซึ่งยาวประมาณ 180 คู่เบส ที่พบในยีนซึ่งมีบทบาทควบคุมรูปแบบพัฒนาการทางสรีรภาพ (morphogenesis) ในสัตว์ เห็ดรา และพืช

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Clustal FAQ #Symbols". Clustal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2012-08-14.
  2. Isenbarger, Thomas A.; Carr, Christopher E.; Johnson, Sarah Stewart; Finney, Michael; Church, George M.; Gilbert, Walter; Zuber, Maria T.; Ruvkun, Gary (14 October 2008). "The Most Conserved Genome Segments for Life Detection on Earth and Other Planets". Origins of Life and Evolution of Biospheres. 38 (6): 517–533. Bibcode:2008OLEB...38..517I. doi:10.1007/s11084-008-9148-z. PMID 18853276. S2CID 15707806.