ข้ามไปเนื้อหา

ลำดับอาวุโสในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลำดับอาวุโสในสาธารณรัฐประชาชนจีน คือการจัดอันดับผู้นำทางการเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านงานพิธีการต่าง ๆ และเพื่อจัดลำดับชื่อในข่าวสารอย่างเป็นทางการทั้งในรูปแบบลายลักษณ์อักษรและทางโทรทัศน์ บางครั้งถูกใช้เพื่อประเมินระดับอำนาจทางการเมืองที่รับรู้ได้ แม้จะไม่มีการจัดลำดับที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการ แต่โดยทั่วไปแล้วมีธรรมเนียมปฏิบัติและระเบียบการที่กำหนดไว้ และตำแหน่งสัมพันธ์ของบุคคลทางการเมืองจีนมักสามารถอนุมานได้จากลำดับในการประชุมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากระยะเวลาและลำดับที่บุคคลเหล่านั้นได้รับการนำเสนอโดยสื่อทางการ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1982 เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลำดับจะแตกต่างกันไปตามบุคคลและช่วงเวลา นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 ตำแหน่งทางการเมืองของจีนได้รับการสถาปนาให้เป็นสถาบันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของอำนาจที่ผู้นำจีนมีอยู่นั้นยังคงมาจากตัวตนของพวกเขา มากกว่าจะมาจากตำแหน่งที่พวกเขาดำรงอยู่

บุคคลหนึ่ง ๆ สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูงหลายตำแหน่งพร้อมกันแต่ก็ไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นผู้นำโดยพฤตินัย ตัวอย่างเช่นกรณีของฮฺว่า กั๋วเฟิงที่ดำรงตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในสมัยที่เติ้ง เสี่ยวผิง เป็น "ผู้นำสูงสุด" ระบบการจัดลำดับแบบดั้งเดิมนั้นมีพื้นฐานบนลำดับอาวุโสของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชื่อในรายการนี้รวมบรรดาผู้นำพรรคและรัฐที่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นทางการทั้งหมด

ลำดับอาวุโส

[แก้]

การประยุกต์ใช้

[แก้]

ลำดับอาวุโสค่อย ๆ กลายเป็นมาตรฐานเมื่อสถาบันต่าง ๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความมั่นคงและเป็นระบบมากขึ้น สิ่งพิมพ์ภายในและสื่อทางการจะปฏิบัติตามระเบียบการจัดลำดับอาวุโสอย่างเคร่งครัดเมื่อรายงานข่าวหรือประกาศต่อสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผู้นำหลายคน ในทำนองเดียวกัน ลำดับอาวุโสจะถูกปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเมื่อจัดที่นั่งผู้นำในการประชุมและงานพิธีการต่าง ๆ

บ่อยครั้งที่รายการข่าวของสื่อรัฐ เช่น ซินเหวินเหลียนปัว มองข้ามความสำคัญที่แท้จริงของเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้นำแต่ละคน แท้จริงแล้วลำดับข่าวถูกกำหนดโดยลำดับทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น หากผู้นำระดับสูงกว่ากำลังเป็นประธานในการประชุมประจำ ขณะที่ผู้นำระดับต่ำกว่ากำลังลงพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว การประชุมประจำนั้นจะได้รับความสำคัญเหนือกว่าภัยพิบัติในลำดับของการรายงาน

การจัดลำดับผู้นำอาจเห็นได้ชัดเจนที่สุดในการชุมนุมขนาดใหญ่ของผู้นำพรรคและรัฐ เช่น การประชุมพรรค การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ พิธีศพหรือพิธีรำลึกถึงอดีตผู้นำ หรือการเฉลิมฉลองครบรอบที่สำคัญ

ลำดับอาวุโสในปัจจุบันใช้กับผู้นำพรรค รัฐ และกองทัพ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปตามลำดับที่กำหนดโดยสถาบันที่ผู้นำเหล่านี้สังกัดอยู่ และจะมีการจัดลำดับผู้นำแต่ละคนเพิ่มเติมภายในแต่ละสถาบันนั้น ๆ หากบุคคลหนึ่งดำรงตำแหน่งในสถาบันพรรคและรัฐหลายแห่ง พวกเขาจะถูกกล่าวถึงในครั้งแรกสำหรับตำแหน่งสูงที่สุดของพวกเขาเท่านั้น เนื่องจากจีนเป็นรัฐคอมมิวนิสต์พรรคเดียว โดยทั่วไปจึงถือว่าเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนดำรงตำแหน่งสูงสุดในระบบการเมือง

ลำดับของสถาบัน

[แก้]

องค์กรของพรรค รัฐ และกองทัพ มีลำดับชั้นที่ใช้กันทั่วไป ดังนี้:

  1. คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
    1. กรมการเมือง
      1. คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง
    2. สำนักเลขาธิการ
  2. องค์กรอำนาจรัฐและนิติบัญญัติสูงสุด: สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC)
    1. คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (NPCSC)
  3. ประธานาธิบดี (ในฐานะองค์กรรัฐ)
  4. องค์กรบริหารสูงสุด: คณะมนตรีรัฐกิจ
  5. องค์กรแนวร่วมระดับสูง:
    คณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน (CPPCC)
  6. องค์กรทหารสูงสุด: คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (CMC), "หนึ่งสถาบัน สองชื่อ":
    1. คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวินสต์จีน
    2. คณะกรรมการการทหารส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน
  7. องค์กรกำกับดูแลสูงสุด (สองสถาบันใช้สำนักงานร่วมกัน):
    1. คณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง (CCDI)
    2. คณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NSC)
  8. องค์กรตุลาการสูงสุด:
    1. ศาลประชาชนสูงสุด (SPC)
    2. สำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด (SPP)

ลำดับของผู้นำ

[แก้]

ลำดับชื่อในข่าวทางการ

[แก้]
  1. สมาชิกปัจจุบันของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยปกติประกอบด้วย:
    1. เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
    2. ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
    3. ประธานคณะมนตรีรัฐกิจ
    4. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
    5. ประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน
    6. ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
    7. สมาชิกคนอื่น ๆ ในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองโดยปกติรวมถึง:
  2. รองประธานาธิบดี
  3. สมาชิกปัจจุบันคนอื่น ๆ ของกรมการเมืองโดยปกติรวมถึง:
  4. อดีตเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  5. อดีตสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง
  6. สมาชิกปัจจุบันของสำนักเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  7. รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
  8. มนตรีรัฐกิจ
  9. ผู้อำนวยการคณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติ
  10. ประธานศาลประชาชนสูงสุด
  11. อัยการสูงสุดของสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด
  12. รองประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน อยู่ท้ายรายชื่อ "ผู้นำพรรคและรัฐ" ระดับชาติปัจจุบัน (党和国家领导人)
  13. "ผู้นำพรรคและรัฐ" ที่เกษียณอายุแล้ว ยกเว้นอดีตสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญปรจำกรมการเมือง ซึ่งได้รับการจัดลำดับตามตำแหน่งสูงสุดที่พวกเขาเคยดำรง จัดลำดับแบบเดียวกับข้างต้น
  14. สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ยกเว้นประธานและรองประธาน ไม่ถือเป็น "ผู้นำพรรคและรัฐ" ระดับชาติ แต่เป็นเพียงผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนเท่านั้น และโดยทั่วไปมีรายชื่อแยกตามระเบียบการ
    1. สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลางปัจจุบัน (ยกเว้นประธานและรองประธาน)
    2. อดีตสมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (ยกเว้นประธานและรองประธาน)
  15. เจ้าหน้าที่ระดับมณฑล-กระทรวง

ลำดับที่นั่ง

[แก้]
  1. เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนปัจจุบัน
  2. อดีตเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  3. สมาชิกปัจจุบันของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ยกเว้นเลขาธิการใหญ่ โดยปกติประกอบด้วย:
    1. ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
    2. ประธานคณะมนตรีรัฐกิจ
    3. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
    4. ประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน
    5. ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
    6. สมาชิกคนอื่น ๆ ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง โดยปกติรวมถึง:
  4. รองประธานาธิบดี
  5. อดีตสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง
  6. สมาชิกปัจจุบันคนอื่น ๆ ของกรมการเมืองโดยปกติรวมถึง:
  7. สมาชิกปัจจุบันของสำนักเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  8. รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
  9. มนตรีรัฐกิจ
  10. ผู้อำนวยการคณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติ
  11. ประธานศาลประชาชนสูงสุด
  12. อัยการสูงสุดของสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด
  13. รองประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน อยู่ท้ายรายชื่อ "ผู้นำพรรคและรัฐ" ระดับชาติปัจจุบัน" (党和国家领导人)
  14. "ผู้นำพรรคและรัฐ" ที่เกษียณอายุแล้ว ยกเว้นอดีตสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญปรจำกรมการเมือง ซึ่งได้รับการจัดลำดับตามตำแหน่งสูงสุดที่พวกเขาเคยดำรง จัดลำดับแบบเดียวกับข้างต้น
  15. สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ยกเว้นประธานและรองประธาน ไม่ถือเป็น "ผู้นำพรรคและรัฐ" ระดับชาติ แต่เป็นเพียงผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนเท่านั้น
    1. สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลางปัจจุบัน (ยกเว้นประธานและรองประธาน)
    2. อดีตสมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (ยกเว้นประธานและรองประธาน)
  16. เจ้าหน้าที่ระดับมณฑล-กระทรวง

หมายเหตุ:

  • การจัดลำดับของรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยปกติจะขึ้นอยู่กับว่ารองประธานาธิบดีคนนั้นเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองปัจจุบันหรืออดีต หรือเป็นสมาชิกคนอื่นของกรมการเมือง การรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 จัดลำดับหวัง ฉีชาน รองประธานาธิบดีคนใหม่ ไว้ในลำดับต่อจากคณะกรรมาธิการสามัญ ซึ่งเขาเพิ่งเกษียณจากตำแหน่งนั้น

ผู้นำระดับชาติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]