ข้ามไปเนื้อหา

ลานรับความรู้สึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลานรับความรู้สึก (อังกฤษ: receptive field) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกก็คือ เขตในปริภูมิที่ถ้ามีตัวกระตุ้น จะสามารถเปลี่ยนการยิงกระแสประสาทของเซลล์นั้น ๆ ปริภูมิที่กล่าวถึงอาจจะ

  • อยู่ภายในสัตว์นั้น เช่น ผิวหนังเป็นลานรับความรู้สึกของเซลล์ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางผิวหนัง
  • อยู่รอบ ๆ สัตว์นั้น เช่นปริภูมิของเสียง ในระยะและพิกัดของการได้ยิน ที่ไม่ได้อยู่กับที่แต่เป็นไปตามตำแหน่งของตัวสัตว์ เป็นลานรับความรู้สึกของระบบการได้ยิน
  • เป็นตำแหน่งที่อยู่เป็นที่โดยไม่เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวสัตว์ เช่นมุมหนึ่งของห้อง เป็นลานรับความรู้สึกของเซลล์ประสาทสถานที่ (place cell[A])

คำว่า "ลานรับความรู้สึก" ยังใช้กับระบบประสาทชั้นสูง ๆ ยิ่งขึ้นไปนอกจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ถ้าตัวรับความรู้สึกหลายตัว ส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทตัวหนึ่งในชั้นที่สูงขึ้น ตัวรับความรู้สึกเหล่านั้นรวม ๆ กันจะเป็นลานรับสัญญาณของเซลล์ประสาทในชั้นที่สูงขึ้นนั้น ตัวอย่างเช่น ลานรับสัญญาณของเซลล์ปมประสาท (ganglion cell) ในเรตินาของมนุษย์ ประกอบด้วยตัวรับแสง (photoreceptors) หลายเซลล์ ซึ่งส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์ปมประสาทนั้น และโดยนัยเดียวกัน เซลล์ปมประสาทหลายเซลล์ ก็เป็นลานรับสัญญาณของเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งในชั้นที่สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เพราะเซลล์ปมประสาทต่างส่งสัญญาณไปให้เซลล์นั้น

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เซลล์ประสาทสถานที่ (place cell) เป็นเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัส ที่ยิงกระแสประสาทเมื่อสัตว์ดำรงอยู่ในตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ ภายในสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งนั้นเป็นลานรับความรู้สึกของเซลล์ประสาทนั้น ๆ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • An open-access, refereed article on receptive fields: Alonso, J.-M., & Chen, Y. (2008). Receptive field. Scholarpedia [[1]], 4(1), 5393. doi: 10.4249/scholarpedia.5393
  • Hubel, D. H. (1963). The visual cortex of the brain. Scientific American, 209(5), 54-62.
  • Kandel E.R., Schwartz, J.H., Jessell, T.M. (2000). Principles of Neural Science, 4th ed., pp. 515-520. McGraw-Hill, New York.