ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิมังสวิรัติแบบเชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพแสดงการเปรียบเทียบการทานอาหารแบบเชนกับแนวคิดอหิงสา อันเป็นหลักสำคัญของศาสนาเชน

อาหารมังสวิรัติแบบเชนเป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและปรัชญาของศาสนาเชน รูปแบบอาหารของเชนเป็นหนึ่งในการทานอาหารที่มีกฎเคร่งครัดมากที่สุดชนิดหนึ่ง อาหารเชนมีลักษณะเป็นมังสวิรัติแบบแล็กโท (lacto vegetarian) และมีข้อห้ามทานผักในดิน เช่น มันฝรั่ง, กระเทียม และหอมใหญ่ โดยปฏิบัติดังนั้นเพื่อไม่ให้ทำอันตรายแก่แมลงและสิ่งมีชีวิตเล็กน้อยในดิน และไม่ให้พืชทั้งต้นถูกถอนรากถอนโคนจนเสียชีวิต การทานอาหารแบบเชนเช่นนี้ปฏิบัติในนักบวชและศาสนิกชนขณะถือศีล[1][2]

ศาสนิกชนเชนไม่ทานเนื้อสัตว์และไข่ทุกชนิดโดยมีรากฐานมาจากหลักอหิงสาในศาสนาเชน โดยแสดงออกผ่านการ "ไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิตอื่น" (non-injuring) การปฏิบัติเช่นนี้เพื่อเป็นการลดการสะสมกรรมที่กระทำต่อสิ่งมีชีวิตอื่น[3][4] ถึงแม้แนวคิดเดียวกันนี้จะปรากฏในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน แต่การนำไปปฏิบัติและส่วนที่เน้นในการแสดงออกนั้นแตกต่างกัน ศาสนาเชนเชื่อว่าอหิงสาคือวัตรทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของทุกคน (อหิงสาปรโมธรรมห์)[5][6][7] และเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด[8] อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของศาสนาเชน การนำเอาหลักการอหิงสามาปฏิบัติอย่างจริงจังในชีวิตประจำวันไปจนถึงการทานอาหารนี้เป็นเอกลักษณ์สำคัญของศาสนาเชนที่ต่างจากฮินดูและพุทธ[9][10][11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "An eggplant (aubergine) dish that's fit for a king!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  2. Natubhai Shah 2004, p. 249.
  3. Laidlaw 1995, pp. 26–30.
  4. Laidlaw 1995, pp. 191–195.
  5. Dundas 2002, p. 160.
  6. Wiley 2006, p. 438.
  7. Laidlaw 1995, pp. 153–154.
  8. Hemacandra, Yogashastra 2.31.
  9. Laidlaw 1995, pp. 154–160.
  10. Jindal 1988, p. 74-90.
  11. Tähtinen 1976, p. 110.
  12. Dundas 2002, pp. 176–177.

บรรณานุกรม

[แก้]