ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่
ลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ (Chinese : 新儒家 ;ซินหรูเจีย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางปัญญาของลัทธิขงจื่อซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในสาธารณรัฐจีนและพัฒนาต่อไปในยุคหลังเหมา และจีนร่วมสมัย ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากลัทธิขงจื่อใหม่ของราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิง (แต่ลัทธิขงจื่อใหม่กับลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ไม่เหมือนกัน) ขบวนการของกลุ่มอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ของประเพณีจีนที่หลากหลายและได้รับการยกย่องว่ามีความหรูหราทางศาสนา ซึ่งสนับสนุนองค์กรของสังคมลัทธิขงจื่อบางประการ เช่น การประสานกลมกลืนของสังคม ระบบนิเวศวิทยา และการเมือง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์กับปรัชญาตะวันตกในบริบทใหม่ เช่น เหตุผลนิยม และ มนุษยนิยม ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงกลายเป็นจุดรวมของการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการของลัทธิขงจื่อในจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา [1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคแรกของลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ (2464-2492) เป็นเพื่อการตอบสนองต่อขบวนการเคลื่อนไหวสี่พฤษภาคม และมีท่าทีต่อต้านลัทธิขงจื่อ ลัทธิขงจื่อถูกโจมตีว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์และขัดต่อความก้าวหน้าของจีนสมัยใหม่ สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตในช่วงเวลานี้คือ สยฺงฉือลี่ ผู้ซึ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งในช่วงเยาว์วัย แต่่ต่อมาเขาก็ได้คิดค้นระบบการปฏิรูปกรอบความคิดเดิมของลัทธิขงจื่อ เขาได้รับอิทธิพลแนวคิดจากสำนักหวางหยางหมิง เขาได้พัฒนาระบบอภิปรัชญาขึ้นมาสำหรับขบวนการขงจื่อสมัยใหม่และเชื่อว่าการเรียนอารยธรรมจีนนั้นเหนือกว่าการเรียนอารยธรรมตะวันตก อีกประการหนึ่ง เฝิงโหย่วหลานได้ศึกษาแนวคิดสำนักขงจื่อใหม่ของจูซี และเขาพยายามฟื้นฟูปรัชญาจีนบนพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
เมื่อจีนเริ่มต้นการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ.1949 ผู้นำกลุ่มปัญญาชนหลายคนเดินทางออกจากแผ่นดินใหญ่ไปยังไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา บุคคลสำคัญในรุ่นที่สองนี้ (ค.ศ.1950-1979) ได้แก่ ถังจวินอี้ (唐君毅) โหมวจงซาน (牟宗三) และ สวีฟู่กวาน (徐复观) ทั้งสามท่านนี้ล้วนเป็นลูกศิษย์ของ สยฺงฉือลี่ (熊十力) โดยเฉพาะโหมวจงซานซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านปรัชญาจีนโบราณและได้โต้แย้งว่าแนวคิดของค้านท์มีแนวโน้มเป็นลัทธิขงจื่อแห่งโลกตะวันตก ทั้งสามท่านนี้และจางจวฺินม่าย (Carsun Chang) ได้ตีพิมพ์ประกาศลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ ในปี 1958 ซึ่งได้รวบรวมความเชื่อและภาพวาดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางปรัชญา
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้แทนแกนนำขบวนการขงจื่อสมัยใหม่นอกประเทศจีนเป็นลูกศิษย์ของโหมวจงซาน ตู้เว่ยหมิง ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในนักปรัชญาขงจื่อสมัยใหม่ที่โดดเด่นที่สุด ได้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าลัทธิขงจื่อแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ : ลัทธิขงจื่อดั้งเดิมยุคก่อนฮั่น ลัทธิขงจื่อใหม่ยุคซ่ง-หมิง และลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ นักปรัชญารุ่นที่สามนี้ได้นำรากฐานของลัทธิขงจื่อมาใช้เป็นเครื่องมือในบริบทนอกเอเชีย ซึ่งเห็นได้จาก ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน(Boston Confucianism) และนักปรัชญาขงจื่อตะวันตกท่านอื่น ๆ ได้แก่ วิลเลียม ทีโอดอร์ เดอ แบรี่ (Wm. Theodore de Bary) [2]
ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
[แก้]หลังจากการปฏิรูปเปิดประเทศ ภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง เมื่อปี ค.ศ.1978 นักปรัชญาขงจื๊อได้เสนอความคิดเกี่ยวกับประสบการณ์ในการฟื้นฟูจีนแผ่นดินใหญ่ การปรากฎกระแสใหม่ของ "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่" ซึ่งเริ่มต้นโดยเจียงชิง เธอได้กำหนดขอบเขตอย่างเด็ดขาดของ "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในต่างประเทศ" ซึ่งพัฒนาโดยโหมวจงซานและคนอื่น ๆ ตามความเห็นของเจียงนั้น ลัทธิขงจื๊อสามารถแบ่งออกเป็นสองกระแส ได้แก่ "สำนักขงจื๊อแบบจิตใจ" และ "สำนักขงจื๊อแบบการเมือง" ลัทธิขงจื๊อได้ครอบงำสังคมจีนเป็นเวลากว่าหนึ่งพันปี โดยสำนักขงจื๊อแบบจิตใจเน้นแนวคิดความจริงซึ่งได้แยกตัวออกจากสำนักขงจื๊อแบบการเมือง เจียงได้โต้แย้งว่าการฟื้นฟูความชอบธรรมทางการเมือง เป็นแกนหลักของแนวคิดลัทธิขงจื๊อ ซึ่งรื้อฟื้นความสนใจในโครงสร้างรัฐธรรมนูญแบบขงจื๊อและการก่อตั้งลัทธิขงจื๊อให้กลายเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ [3]
นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่ในแผ่นดินใหญ่ท่านอื่น ๆ ยอมรับทัศนคติทางการเมืองแบบเสรีนิยมต่อลัทธิขงจื๊อ เฉินหมิงเห็นด้วยกับการปฏิเสธความสำคัญของอภิปรัชญาของเจียง "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในต่างประเทศ" โดยโต้แย้งว่าลัทธิขงจื๊อเป็นศาสนาพลเรือนที่ดีที่สุดในสายตาของชาวอเมริกันซึ่งเข้ากันได้กับประชาธิปไตย และมีวิถีชีวิตทางการเมืองที่สามารถแสดงแง่มุมทางศาสนาได้โดยปราศจากศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ สำหรับเฉินแล้วนั้น
ลัทธิขงจื๊อแบบโหมวจงซานมีฐานะเป็น "การสอนที่สมบูรณ์แบบ" ซึ่งดูเหมือนว่าถูกแสดงออกโดยอารมณ์ เจียงชิงมองว่าจีนควรเป็นรัฐขงจื๊อทั้งในด้านการเมืองและศาสนาซึ่งมีความเรียบง่าย โครงการของคังเสี่ยวกวาง (康晓光) ได้ปฏิรูปลัทธิขงจื๊อให้กลายเป็นศาสนาประจำรัฐที่ใช้ประโยชน์ได้ [4]
คำศัพท์
[แก้]งานเขียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของขบวนการขงจื๊อสมัยใหม่นั้น มีการแปลเป็นภาษาจีนที่หลากหลาย นักเขียนชาวไต้หวันจำนวนมากมักใช้คำว่า ลัทธิขงจื๊อร่วมสมัย (Contemporary New Confucianism - 当代新儒家 หรือ 当代新儒学) เพื่อเน้นย้ำความต่อเนื่องในการเคลื่อนไหวของลัทธิขงจื๊อใหม่ยุคซ่ง - หมิง อย่างไรก็ตามในจีนแผ่นดินใหญ่ได้เสนอคำศัพท์ใหม่ว่า "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่" (Modern New Confucianism - 现代新儒家 หรือ 现代新儒学) โดยเน้นความเป็นสมัยใหม่ในยุคสมัยหลังจากขบวนการสี่พฤษภาคม (五四)
ปรัชญา
[แก้]ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ เป็นสำนักของปรัชญาจีนที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ หลังจากเหตุการณ์ขบวนการสี่พฤษภาคม ใน ค.ศ. 1919 ซึ่งลัทธิขงจื๊อถูกโจมตีว่าเป็นจุดอ่อนของจีนและความเสื่อมถอยจากการรุกรานของตะวันตก สยฺงฺฉือลี่ (1885-1968) ผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญาจีนคนสำคัญ ได้ก่อตั้งและฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อขึ้นมาใหม่เพื่อตอบสนองต่อความเป็นสมัยใหม่ ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่เป็นปรัชญาการเมือง จริยธรรม และสังคมซึ่งใช้แนวคิดทางอภิปรัชญาจากปรัชญาตะวันตกและตะวันออก โดยแบ่งออกเป็นสามรุ่น เริ่มต้นโดย สยฺงฉือลี่ และ เฝิงโหย่วหลาน ในฐานะนักปรัชญารุ่นแรกที่วางรากฐาน รุ่นที่สอง ได้แก่ โหมวจงซาน, ถังจวินอี้ และ สวีฟู่กวาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของสยฺงฉือลี่ นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นที่สามได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1980 ไม่ได้ถูกกำหนดโดยตัวบุคคลซึ่งต่างจากรุ่นก่อน สยฺงฉืลี่ และผู้ติดตามของเขาพยายามที่จะปฏิรูปลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่โดยใช้ชื่อภาษาจีนว่า "ซินหรูเจีย"
นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นแรก
[แก้]สยฺงฉือลี่
[แก้]สยฺงฉือลี่ (1885–1968) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคิดแห่งยุคศตวรรษที่ 20 ที่วางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่[1] พื้นฐานของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ส่วนใหญ่มาจากหลักคำสอนใหม่ของสยฺงฉือลี่ ความเชี่ยวชาญด้านผลงานคลาสสิกของพุทธศาสนา สยฺงฉือลี่แย้งว่าผลงานคลาสสิกของปรัชญาตะวันออกจะต้องบูรณาการกับปรัชญาจีนร่วมสมัยเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ส ยฺงฉือลี่ยอมรับมุมมองของพุทธศาสนาในด้านมืดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ แต่ก็ยอมรับว่ามีด้านที่สว่างกว่าต่อธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงปฏิเสธการเรียนรู้ของชาวพุทธเกี่ยวกับ "การลดลงทุกวัน" ซึ่งบอกว่าการฝึกฝนเพื่อระงับธรรมชาติที่มืดมนของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เขามาได้ข้อสรุปหลังจากที่ได้ตรวจสอบงานคลาสสิกของขงจื๊อ ในขณะที่ลัทธิขงจื๊อยังตรวจสอบแง่มุมด้านลบของธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นความจำเป็นที่จะทำให้ตัวเองมีความเคยชินกับพิธีกรรม จุดประสงค์ของการฝึกฝนพิธีกรรมและการบรรลุเป้าหมายของ เหริน (仁) ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การจำกัดแง่มุมด้านที่มืดกว่าของธรรมชาติมนุษย์ แต่เป็นการพัฒนา "ความดีดั้งเดิม" ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่เมิ่งจื่อได้บันทึกเอาไว้ [5]
เพื่อที่จะรวมพุทธศาสนาเข้ากับลัทธิขงจื๊อในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาจีนร่วมสมัยของเขาซึ่งครอบคลุมถึงปรัชญาตะวันออกหลายประการ สยฺงฉือลี่ ได้เสนอการแก้ไขการเรียนรู้พุทธศาสนาของการลดลงทุกวัน สยฺง เข้าใจพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลัง "การลดลงทุกวัน" เพื่อเป็นความเชื่อทางอภิปรัชญาแบบพุทธศาสนาในเรื่อง "การแยกเชื่อมโยงระหว่างความเป็นจริงสัมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Dharma-nature หรือ ธรรมชาติของธรรมะ) กับโลกแห่งปรากฏการณ์ที่มีเงื่อนไขและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Dharma-characters หรือ ลักษณะของธรรมะ) (Xiong, 1994, pp. 69-77, 84-5, 111-12) อวี๋จี้หยวน ได้ตรวจสอบแนวคิดของสยฺงฉือลี่แล้วอธิบายว่าเป็น "ทฤษฎีการแยก" (Separation theory) ในขณะเดียวกันทฤษฎีของสยฺงฉือลี่ ที่อยู่เบื้องหลังการแก้ไข "การลดลงรายวัน" ได้อาศัยสิ่งที่อวี๋ อธิบายว่าเป็น "วิทยานิพนธ์เรื่องความเหมือนกัน" (Sameness Thesis) ในหลักคำสอนใหม่ของสยฺงนี้เรียก ว่า ธรรมชาติของธรรมะ (Dharma-nature) และ รูปลักษณ์ของธรรมะ (Dharma-characters) สยฺงโต้แย้งว่าไม่เหมือนกับศาสนาพุทธที่รับรู้ว่าโลกทั้งสองโลกมีความเป็นเอกภาพ เหตุผลของสยฺงได้แสดงในคำสอนใหม่ ฉบับปี 1985 ว่า:
หากความเป็นจริงดั้งเดิมและหน้าที่แยกออกจากกัน หน้าที่จะแตกต่างจากความเป็นจริงดั้งเดิมและดำรงอยู่อย่างอิสระ หน้าที่จะมีความเป็นจริงดั้งเดิมในตัวมันเอง เราไม่ควรแสวงหาเอกลักษณ์ที่นอกเหนือจากชื่อและหน้าที่ซึ่งเป็นความจริงดั้งเดิม นอกจากนี้ ถ้าความเป็นจริงดั้งเดิมดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากหน้าที่ ก็จะกลายเป็นความจริงที่ไร้ประโยชน์ ในกรณีนี้ ถ้าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คงที่ ก็ต้องกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ความคิดที่หลั่งไหลออกมา ข้าพเจ้าเชื่อว่าความจริงดั้งเดิมและหน้าที่ดำรงอยู่อย่างไม่แยกออกจากกัน (Xiong, 1985, p. 434)
มุมมองของเขาเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพนี้สามารถเห็นได้จากผลงานของเขาก่อนหน้านี้ เช่น ตำราใหม่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของจิตสำนึก ในบทความใหม่เขาโต้แย้งว่าความจริงมีความหมายเท่ากับจิต จิตนี้ไม่ได้หมายถึงจิตของปัจเจกบุคคล แต่หมายถึงจิตสากลซึ่งแสดงความเป็นสากลในสรรพสิ่งทั้งหมดซึ่งเป็นการดำรงอยู๋อย่างแท้จริง สยฺงฉือลี่ ได้นำแนวคิดของขงจื๊อและพุทธมาอธิบายเรื่องการควบคุมความปรารถนาของตนเอง โดยโต้แย้งว่ามีความล้มเหลวในการควบคุมความปรารถนาและจิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งถือว่าเป็น "การทับถมของวัตถุที่ตายไปแล้ว" สยฺงฉือลี่มองว่าเราควรรับรู้วัตถุของโลกทางกายภาพ เนื่องจากสิ่งภายนอกเป็นทางผ่านให้เรารับรู้ถึงโลกภายใน ซึ่งเป็นที่ที่จิตและความเป็นจริงเป็นหนึ่งเดียวกัน
นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นที่สอง
[แก้]โหมวจงซาน
[แก้]โหมวจงชานถือเป็นหนึ่งในนักปรัชญารุ่นที่สองซึ่งมีอิทธิพลมากกว่า ปรัชญาทั่วไปของโหมวจงชานที่เกี่ยวกับอภิปรัชญาอยู่ในแนวเดียวกับสยฺงฉือลี่ อย่างไรก็ตามเขาได้เสริมทฤษฎีของสยฺงฉือลี่อันเกี่ยวกับจิตและความเป้นจริงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับมุมมองทางสังคมและการเมืองมากขึ้น โหมวยืนยันว่าความเป็นสากลดำรงอยู่ในความจริงทางปรัชญาทั้งหมด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีทางการเมืองและสังคมของโลกสามารถเชื่อมโยงกันได้ในสารัตถะ โหมวได้โต้แย้งในการบรรยายของเขาว่าความพิเศษนั้นดำรงอยู่เพราะระบบที่แตกต่างกันซึ่งถูกสร้างขึ้นในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ชุดการใช้เหตุผลและการตีความเชิงปรัชญาได้บรรลุถึงความจริงทางปรัชญาในแบบเดียวกันภายใต้ระบบที่แตกต่างกัน เขาเชื่อว่าข้อจำกัดทางกายภาพของเรา นั่นคือ การดำรงอยู่ทางกายภาพของเราสร้างระบบและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ซึ่งจิตของเรา คือ รูปแบบซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์และดำรงอยู่ในโลกทางกายภาพ เราไม่ควรปล่อยให้ข้อจำกัดเหล่านี้ขัดขวางเราจากการฝึกฝนใช้เหตุผลเชิงปรัชญา
ปรัชญาการเมืองของโหมวนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเขาอภิปรายถึงความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ที่เจาะจงเรื่องการดำรงอยู่ของมนุษย์ การดำรงอยู่ของประเทศและระบบที่แตกต่างกันสามารถอธิบายได้ส่วนใหญ่เป็นเพราะความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ โหมวยืนยันว่าความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ดำรงอยู่ไม่ใช่แค่เพราะความจำเป็นเชิงตรรกะ หรือ ความจำเป็นเชิงอภิปรัชญา เท่านั้น แต่เป็นเพราะสิ่งที่เขาเรียกว่าการพัฒนาของจิตวิญญาณซึ่งเขายังระบุว่าเป็นความจำเป็นเชิงวิภาษ เขาอ้างว่าประวัติศาสตร์ควรจะถูกรับรู้และตีความว่าเป็นสิ่งที่มีทั้งความจำเป็นทางประวัติศาสตร์อย่างเช่นความจำเป็นเชิงวิภาษ และความจำเป็นเชิงศีลธรรม มีการตัดสินคุณค่าอยู่สองประเภท คือ คุณธรรมและประวัติศาสตร์ โหมวกล่าวว่าไม่ว่าจะกรีกหรือจีน สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังประวัติศาสตร์และลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์มีความเหมือนกัน ดังนั้นความเป็นสากลของความจริงเชิงปรัชญาจึงดำรงอยู่เบื้องหลังการเมืองและประวัติศาสตร์
คำประกาศของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่
[แก้]มีการใช้ศัพท์ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่เป็นวาระแรกเมื่อปี 1963 (ตามบันทึกของฮ่องกง ได้ใช้ศัพท์ว่า "人生 - เหรินเชิง") อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการใช้อย่างเป็นสาธารณะจนกระทั่งช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ได้ปรากฎในความเรียง "คำประกาศของวัฒนธรรมจีนสู่ชาวโลก" เมื่อปี 1958 โดยถังจวินอี้ โหมวจงซาน สวีฟู่กวาน และจางจวฺินม่าย ในความเรียงนี้ได้อ้างถึง "คำประกาศของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่" แม้ว่าวลีจะมิได้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นทางการ คำประกาศนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของวัฒนธรรมจีนในฐานะที่เป็นเอกภาพพื้นฐานตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งลัทธิขงจื๊อได้แสดงออกในฐานะที่อยู่สูงสุด การตีความลัทธิขงจื๊อจากคำประกาศได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อใหม่อย่างลึกซึ้ง และเป็นลัทธิิขงจื๊อใหม่ในเวอร์ชันของลู่เซี่ยงชาน (陆象山) และหวางหยางหมิง (王阳明) (ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของจูซี) ยิ่งไปกว่านั้น ในคำประกาศได้โต้แย้งอีกว่าในขณะที่จีนต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่และประชาธิปไตยจากโลกตะวันตก โลกตะวันตกก็จะต้องเรียนรู้ "เชาวน์ปัญญาที่ครอบคลุมทั้งหมด" จากจีน (โดยเฉพาะประเพณีแบบขงจื๊อ)
สังคมประสานกลมกลืน
[แก้]แนวคิดสังคมที่ประสานกลมกลืน (和谐社会 - เหอเสียเช่อฮุ่ย) สามารถสืบย้อนกลับไปในยุคของขงจื๊อ ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับการสืบทอดมาจากลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ ในยุคใหม่ แนวคิดนี้ได้พัฒนาเป็นลักษณะเฉพาะสำคัญของแนวคิดอุดมคติของหูจิ่นเทา ผู้ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ซึงได้พัฒนาแนวคิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษ 2000 โดยได้รับการรื้อฟื้นโดยคณะรัฐบาลที่นำโดยหูจิ่นเทากับเวินเจียเป่าใน สภาประชาชนแห่งชาติเมื่อปี 2005 [6][7][8][9][10][11]
ปรัชญาได้รับการยอมรับให้เป็นปฏิกิริยาสะท้อนต่อความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดขึ้นในสังคมจีนแผ่นดินใหญ่อันเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ปรัชญาการปกครองจึงเปลี่ยนย้ายฐานไปอยู่ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อความสมดุลและความประสานกลมกลืนของสังคมโดยรวม [12] สังคมที่เจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลางมักถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายระดับชาติสำหรับการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์
การส่งเสริม "สังคมประสานกลมกลืน" แสดงให้เห็นว่าปรัชญาการปกครองของหูจิ่นเทาได้แยกตัวออกไปจากนักปรัชญารุ่นก่อน [13] เมื่อใกล้สิ้นสุดวาระในการดำรงตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ.2011 ประธานหูได้แสดงการขยายอุดมการณ์สู่มิติสากลโดยให้ความสำคัญกับสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งกล่าวกันว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่ "โลกที่ประสานกลมกลืน" สีจิ้นผิง ผู้สืบทอดการปกครองประเทศของหูจิ่นเทา ได้ใช้ปรัชญาอย่างจำกัดมากขึ้น
นักวิชาการบางคนที่สำคัญ อย่างเช่น เหยียนเสวฺียทง และ Daniel A. Bell ได้สนับสนุนการฟื้นฟูสถาบันขงจื๊อที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม เช่น ฝ่ายตรวจการในประเทศจีนและพื้นที่อื่นในฐานะของส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเมืองแบบลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ นอกจากนี้ Jana S. Rošker เน้นย้ำว่าลัทธิขงจื๊อไม่ได้มีความหมายแค่เฉพาะขอบเขตเดียวหรือขอบเขตที่คงที่ในทางความคิดแบบดั้งเดิม แต่มีความหมายที่ค่อนไปทางสายธารอันแตกต่างที่สามารถนำมาใช้โดยค่อนข้างพลการและถูกเลือกโดยอุดมการณ์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน้าที่ในการทำให้ถูกกฎหมายโดยการใช้อำนาจรัฐ เมื่อพิจารณาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดการประสานกลมกลืน เราจำเป็นต้องถามตัวเองว่าอะไรคือขอบเขตประเพณีทางปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ และอะไรคือขอบเขตที่ว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงผลิตผลของความต้องการในปัจจุบัน (อุดมการณ์และการเมือง)
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ Makeham, John, บ.ก. (2003). New Confucianism: A Critical Examination. New York: Palgrave. ISBN 978-1-4039-6140-2.
- ↑ Bresciani, Umberto (2001). Reinventing Confucianism: The New Confucian Movement. Taipei: Taipei Ricci Institute. ISBN 978-957-9390-07-1.
- ↑ Fan, Ruiping. "The Rise of Political Confucianism in Contemporary China". ใน Fan, Ruiping (บ.ก.). The Renaissance of Confucianism in Contemporary China. Dordrecht: Springer. pp. 36–38.
- ↑ Billioud, Sébastien; Thoraval, Joël (2008). "The Contemporary Revival of Confucianism: Anshen liming or the Religious Dimension of Confucianism". China Perspectives (3): 104. ISSN 1996-4617.
- ↑ Yu, Jiyuan (2002). Contemporary Chinese Philosophy. Oxford: Blackwell. pp. 127–146. ISBN 0631217258.
- ↑ Guo And Guo (15 August 2008). China in Search of a Harmonious Society. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-3042-1.
- ↑ Ruiping Fan (11 March 2010). Reconstructionist Confucianism: Rethinking Morality after the West. Springer Science & Business Media. ISBN 978-90-481-3156-3.
- ↑ Daniel A. Bell, China's Leaders Rediscover Confucianism" The New York Times, 14 September 2006.
- ↑ "Confucian concept of harmonious society". koreatimes.co.kr. 18 September 2011.
- ↑ Rosker, Jana. "Modern Confucianism and the Concept of Harmony". academia.edu.
- ↑ Arnold, Perris. “Music as Propaganda: Art at the Command of Doctrine in the People's Republic of China”. Ethnomusicology 27, no. 1 (1983): 1–28.
- ↑ "China's Party Leadership Declares New Priority: 'Harmonious Society'". The Washington Post. 12 October 2006. สืบค้นเมื่อ 20 January 2011.
- ↑ Zhong, Wu. “China yearns for Hu's 'harmonious society'” เก็บถาวร 2017-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Asia Times. Last modified 11 October 2006.