ลอเรนโซ วัลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอเรนโซ วัลลา

ลอเรนโซ วัลลา (Lorenso; Laurentius Valla ค.ศ. 1406-1457) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวเมืองเนเปิลส์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ก่อนการปฏิรูปศาสนาของมาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther ค.ศ. 1483-1546) ซึ่งการเขียนประวัติศาสตร์ในยุคนี้จะมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น วัลลามีผลงานด้านประวัติศาสตร์หลายชิ้น ที่โดดเด่นและได่รับการกล่าวถึงมากที่สุดคือเรื่อง Discourse on the Forgery of the Alleged Danation of Constantine ซึ่งเขียนขึ้นใน ค.ศ. 1440

ประวัติ[แก้]

วัลลาเป็นชาวอิตาลี ครอบครัวของวัลลามาจากเมือง Piacenza บิดาของเขาคือ Luca dellea Vallea ซึ่งเป็นนักกฎหมาย วัลลาเป็นนักมนุษยนิยม นักภาษาศาสตร์ และนักศึกษาศาสตร์ วัลลามีความสนใจในการอ่านต้นฉบับของเอกสารสมัยคลาสสิคจนสามารถสังเกตวิวัฒนาการของภาษา วัลลามีไหวพริบในการวิเคราะห์ถ้อยคำและเป็นผู้บุกเบิกในการวิพากษ์วิจารณ์เอกสารต้นฉบับของจริง

การศึกษา[แก้]

วัลลาจบการศึกษาที่กรุงโรม เขาได้ศึกษาในชั้นเรียนของอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Leonardo Bruni และ Giovanni Aurispa ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้เป็นผู้สอนในด้านอักษรศาสตร์กรีกและลาตินแก่วัลลา นอกจากนี้เขายังได้เข้าศึกษาที่ University of Padua ในปี ค.ศ. 1428 เขาพยายามที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งในคณะทูตของสันตะปาปา แต่กลับถูกปฏิเสธเพราะอายุยังน้อย ต่อมาในปี ค.ศ. 1429 เขาได้รับหน้าที่ให้เข้าไปสอนวิชา rhetoric (วิชาที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ทางด้านภาษา) ที่ Padua แต่ก็ถูกบังคับให้ลาออกหลังจากที่ตีพิมพ์จดหมายที่เป็นการดูถูกวิธีการสอนการวิจัยทางนิติศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1431 วัลลาได้บวช และหลังความพยายามที่เขาจะหาความปลอดภัยจากตำแหน่งเลขานุการของผู้เผยแพร่ศาสนาในประเทศจีน เขาได้เดินทางไปที่ Piacenza และจากที่นี่เขาได้เดินทางต่อไปยัง Pavia ที่ซึ่งเขาได้รับตำแหน่งอาจารย์ในการที่จะพูดโน้มน้าวใจ วัลลาได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และมีการนัดหมายและเข้าบรรยายในหลายเมือง ในปี ค.ศ. 1433 วัลลาได้เดินทางไปยังเมืองเนเปิลส์ และราชสำนักของ Alfonso V of Aragon (Alfonso the Magnanimous, ค.ศ. 1936-1458) ซึ่ง Alfonso ทรงแต่งตั้งให้วัลลาเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ และต่อสู้คดีให้วัลลาในการที่เขาได้กล่าวโจมตีฝ่ายตรงข้าม การกล่าวโจมตีครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัลลาถูกเรียกเข้ามาสอบสวนหาความผิดในคำกล่าวของเขาเกี่ยวกับเรื่องเทววิทยา รวมถึงการที่เขาปฏิเสธว่า Apostle’s Creed (คำกล่าวของผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่เริ่มต้นว่า “I Believe in the god father Almighty …”) มิได้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาโดย 12 อัครสาวกของพระเยซู แต่ในที่สุดคำกล่าวหาพวกนี้ก็หมดลง

การเปิดเผยความหลอกลวงของประวัติศาสตร์[แก้]

วัลลาเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ที่เฉียบแหลม และมีความรู้เกี่ยวกับ Classical Latin Style ซึ่งถูกนำไปใช้ในงานเขียนของเขาที่ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1439 คือ De falso credita et ementita Constantini donatione declamatio ในสมัยของสันตะปาปา Eugene IV (ค.ศ. 1383-1447) วัลลาได้ทำงานให้กับ Alfonso of Aragon ซึ่งขณะนั้นทรงมีปัญหาพิพาทอยู่กับสันตะปาปา วัลลาได้วิพากษ์วิจารณ์เอกสารที่สันตะปาปาทรงใช้เป็นหลักฐานในการอ้างว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงมอบที่ดินให้กับศาสนจักร วัลลาอาศัยการวิเคราะห์ทาง[[ประวัติศาสตร์ลล และภาษาศาสตร์ เช่น เขาระบุว่าการพบคำว่า “fief” ในเอกสารดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่าเอกสารดังการน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 บทความของวัลลานี้ถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1440 เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าบทความ “Constitutum Constantini” ไม่ได้เขียนขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมัน ซึ่งที่จริงแล้ววัลลาไม่ได้ต้องการที่จะโจมตีศาสนา แต่การกระทำของเขาก็ยังผลให้คนที่กำลังเสื่อมศรัทธากับศาสนจักรยิ่งรู้สึกคลางแคลงใจมากขึ้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์ของวัลลานับว่ามี8วามก้าวหน้าและทันสมัยในมาตรฐานและวิธีการศึกษาในสมัยปัจจุบัน การศึกษาของวัลลาได้สนับสนุนความก้าวหน้าและพัฒนาการของกลุ่มมนุษยนิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา, ทำให้เกิดประเด็นทางการเมือง คือทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันศาสนาคริสต์ที่กรุงโรม (Rome) เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มปฏิรูปศาสนาโดจมตีสำนักวาติกันโดยตรง และวิธีการของวัลลายังส่งเสริมให้การเขียนประวัติศาสตร์ในสมัยปฏิรูปศาสนามีความก้าวหน้า โดยเฉพาะกระบวนการไต่สวน/ตรวจสอบ/ตีความข้อมูลหลักฐาน ซึ่งมีส่วนกำหนดรูปแบบวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน

การงานในช่วงหลัง[แก้]

ที่เนเปิลส์ วัลลายังคงทำงานเกี่ยวกับด้านปรัชญาอยู่ เขาได้แสดงความคิดเห็นว่า จดหมายของพระเยซูถึง Abgarus นั้นเป็นของปลอม และเขายังมีความสงสัยในเอกสารที่คิดว่าเป็นของแท้อีกหลายชิ้น และการสอบถามที่เป็นประโยชน์ต่อนักบวช เขายังได้กระตุ้นให้เกิดความโกรธจากเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ เขาได้ผลักดันให้มันเกิดขึ้นก่อนที่ศัตรูของเขา และเขาก็ได้หนีไปจากการถูกแทรกแซงจาก Alfonso เขายังได้ดูหมิ่นพระคัมภีร์ฉบับ Vulgate และกล่าวหาว่า St.Augustine (ผู้ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า St.Augustine of Heresy) ว่าเป็นพวกนอกรีต ในปี ค.ศ. 1444 วัลลาได้เดินทางไปยังกรุงโรม แต่ที่เมืองนี้เต็มไปด้วยศัตรูของเขาจำนวนมากและล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจมากมาย แต่เขาก็ได้ปกป้องชีวิตของตัวเองด้วยการหลบหนีไปยัง Bacelona และกลับไปที่เนเปิลส์ และโชคชะตาที่ดีของเขาก็มาถึง หลังการสิ้นพระชนม์ของสันตะปาปา Eugene IV ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1447 วัลลาก็ได้กลับไปยังกรุงโรมอีกครั้ง และครั้งนี้เขาได้รับการต้อนรับจากสันตะปาปา Nicolas V (ค.ศ. 1447-1455) ซึ่งเป็นสันตะปาปาพระองค์ใหม่ และวัลลาก็ได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนพระองค์ ซึ่งการกลับเข้ามายังกรุงโรมของวัลลาครั้งนี้ถูกเรียกว่า “ชัยชนะของมนุษยนิยมเหนือหลักปฏิบัติและประเพณีดั้งเดิม” และวัลลาก็ได้มีความสนิทสนมกับสันตะปาปา Calixtus III (ค.ศ. 1378-1458)

ผลงานของวัลลา[แก้]

วัลลามีผลงานมากมาย แต่ส่วนมากจะยังไม่สมบูรณ์ โดยผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ใน Basel ในปี ค.ศ. 1540 และในเวนิส ในปี ค.ศ. 1592 และ De Elegantiis ได้รับการตีพิมพ์ใหม่ถึง 60 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ. 1471 ถึง 1536 บางส่วนของผลงานของวัลลา ได้แก่

  • De Voluptate (On Pleasure) ใน De Voluptate เขาได้เปรียบเทียบหลักการของ Stoics กับคำสอนของ Epicurus ซึ่งเป็นการประกาศให้แสดงความเห็นใจกับสิ่งที่อ้างสิทธิ์เพื่อความถูกต้องของการทำตามใจสำหรับความอยากอาหารของคนทั่วไป มันเป็นคำพูดที่แปลก นี่เป็นครั้งแรกที่ค้นพบของการแสดงออกอย่างตั้งใจของพวกศาสนานอกรีตในช่วงเรอแนสซองซ์ (Renaissance) ในงานของเขาอย่างเป็นวิชาการและหลักปรัชญาที่น่ายกย่อง
  • De Elegantiis Latinae Linguae (Elegances of the Latin Language) แปลว่าความงดงามของภาษาลาติน เป็นหนังสือหลักไวยากรณ์ภาษาลาตินเล่มแรก ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1471
  • Annotations on the New Testament หรือคำอธิบายประกอบพระคัมภีร์ใหม่ เป็นผลงานชิ้นสำคัญของเขา ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1505

การวิพากษ์วิจารณ์วัลลา[แก้]

มีความเป็นไปได้สูงที่จะประมาณว่าชีวิตส่วนตัวและนิสัยของวัลลามีความคลุมเครือ วัลลาถูกวิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่าตัวเขาเองก็มีความไร้ค่า มีความระแวงและการที่ชอบวิวาท แต่เขาก็มีลักษณะของนักมนุษย์นิยมที่ดีเลิศ มีการวิจารณ์ที่แหลมคม และเป็นนักเขียนที่ประสงค์ร้าย

ลูเทอร์ ได้แสดงความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับวัลลาไว้ในงานเขียนของเขา

Cardinal Bellarmine ได้เรียกวัลลาว่า praecursor lutheri

Sir Richard Jebb กล่าวว่า งานเขียน “De Elegantiis” ของวัลลาเป็นสัญลักษณ์ถึงการวิพากษ์วิจารณ์การเรียนภาษาลาติน

Erasmus สรุปไว้ใน De ratione studii ว่าไม่มีผู้ชักนำที่ดีกว่าวัลลาแล้ว