ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ....

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. เป็นร่างกฎหมายสภาผู้แทนราษฎรไทยที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

วันที่ 20 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติตกไป[1]

สาระสำคัญ[แก้]

สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว คือ ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินวงเกินไม่เกินสองล้านล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และในวงเงินที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติ และให้กระทำภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • การกู้เงินดังกล่าวเป็นการกู้เงินนอกงบประมาณ ไม่ต้องนำส่งคลัง แต่ให้นำส่งคลังหากเงินเหลือ
  • การกู้เงินดังกล่าวไม่สามารถโยกเงินระหว่างยุทธศาสตร์ได้ แต่สามารถโยกเงินภายใต้ยุทธศาสตร์หรือแผนงานเดียวกันได้
  • โครงการที่จะดำเนินการและใช้เงินกู้ได้ ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผ่านการกลั่นกรองของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง

บัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติ[แก้]

บัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ และแผนงานการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ แบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์ย่อย ได้แก่

  1. ยุทธศาสตร์การปรับเปลียนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนไปสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงิน 3.55 แสนล้านบาท
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก วงเงิน 1.04 ล้านล้านบาท และ
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและการปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 5.94 แสนล้านบาท

สามารถแบ่งแผนงาน/โครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งได้ตามสาขาการขนส่งดังนี้

  1. ทางราง 1.66 ล้านบาท
  2. ทางถนน 2.89 แสนล้านบาท
  3. ทางน้ำ 2.98 หมื่นล้านบาท
  4. พัฒนาด่านศุลกากร 1.25 หมื่นล้านบาท และสำรองจ่ายจำนวนหนึ่ง

กระบวนการนิติบัญญัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศาลชี้พรบ.กู้2ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], โพสต์ทูเดย์, สืบค้นวันที่ 14 มกราคม 2557