ร็อคแมน & ฟอร์เต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร็อคแมน & ฟอร์เต้
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
อำนวยการผลิตเคอิจิ อินาฟุเนะ
ออกแบบฮายาโตะ ทสึรุ
มานาบุ ทาเคมูระ
แต่งเพลงนาโอชิ มิสุตะ
อะคาริ ไคดะ
ชุด
เครื่องเล่นซุปเปอร์แฟมิคอม, เกมบอยแอ็ดวานซ์
วางจำหน่ายซุปเปอร์แฟมิคอม
เกมบอยแอ็ดวานซ์
แนวแอคชั่น / แพลทฟอล์ม
รูปแบบSingle-player

ร็อคแมน & ฟอร์เต้ (ญี่ปุ่น: ロックマン&フォルテโรมาจิRokkuman & forute) หรือ เมกาแมน & แบส (Megaman & Bass) เป็นวิดีโอเกมของซีรีส์ร็อคแมน โดยภาคนี้เป็นซีรีส์พิเศษของเกมโดยเนื้อหาได้ดำเนินต่อจากภาคที่ 8 จัดจำหน่ายรูปแบบเกมจากเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอมในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1998 และจัดจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบของเกมบอยแอ็ดวานซ์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ทั้งนี้เกมในรูปแบบเกมบอยแอ็ดวานซ์ยังได้จัดจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย

เนื้อเรื่อง[แก้]

ปี 20XX หลังจากโลกสงบสุขลงไปจากการต่อสู้ของหุ่นยนต์พลังชั่วร้ายของดร.ไวลี่แต่ว่าดร.ไวลี่ได้สร้างหุ่นยนต์ที่แข็งแกร่งที่สุดคือ คิง แต่ว่าคิงกลับไม่เชื่อฟังผู้สร้างอย่างดร.ไวลี่ทำให้คิงได้สร้างกองทัพหุ่นยนต์ของคิงขึ้นมาโดยได้ไปยังพิพิธภัณฑ์หุ่นยนต์

ในเวลาเดียวกันดร.ไวลี่ได้ให้ฟอร์เต้คู่ปรับของร็อคแมนเข้าไปช่วยกับร็อคแมนอีกแรงหนึ่งโดยได้ไปที่พิพิธภัณฑ์หุ่นยนต์ที่คิงรุกรายแต่แล้วได้พบกับบลูส์ซึ่งได้ต่อสู้กับคิงแต่ไม่สำเร็จทำให้ร่างกายของบลูส์ตัดขาดร็อคแมนและฟอร์เต้จึงต้องร่วมมือกันชั่วคราวเพื่อปราบคิงหุ่นยนต์จอมทะเยอทะยาน

ตัวละคร[แก้]

  • ร็อคแมน (ロックマン, MegaMan)
  • ฟอร์เต้ (フォルテ, Bass)
หุ่นยนต์พิเศษหมายเลข 1 ของดร.ไวลี่ในภาคนี้ต้องร่วมมือกับร็อคแมนเพื่อต่อกรกับคิงหุ่นยนต์ของดร.ไวลี่
  • โรล (ロール)
  • บลูส์ (ブルース, ProtoMan)
  • ดร.ไลท์ (Dr.ライト, Dr.Light)
  • ไรท็อต (ライトット, Auto)
  • คิง (キング)
สุดยอดหุ่นยนต์ของดร.ไวลี่ด้วยพลังที่สุดยอดทำให้เกิดไม่เชื่อฟังและยึดฐานทัพของดร.ไวลี่พร้อมหุ่นยนต์ที่สร้างโดยคิง
  • ดร.ไวลี่ (Dr.ワイリー)

ตัวละครบอส[แก้]

บอสที่มีพลังพิเศษ[แก้]

  • KGN.001 ไดนาโมแมน (ダイナモマン)
  • KGN.002 โคลด์แมน (コールドマン)
  • KGN.003 กราวด์แมน (グランドマン)
  • KGN.004 ไพเรทแมน (パイレーツマン)
  • KGN.005 เบิร์นเนอร์แมน (バーナーマン)
  • KGN.006 เมจิคแมน (マジックマン)
  • DWN.057 เท็งงูแมน (テングマン)
  • DWN.058 แอสโตรแมน (アストロマン)

บอสที่ไม่มีพลังพิเศษ[แก้]

  • กรีนเดวิล (グリーンデビル)
  • อาเตเต้มีโน่ โปรโต (アテテミーノ・プロト)
  • คิงแทงค์ (キングタンク)
  • คิงเพลน (キングプレーン)
  • เจ็ทคิงโรโบ (ジェットキングロボ)
  • ไวลี่แมชชีน (ワイリーマシン)

อาวุธและอุปกรณ์เสริม[แก้]

อาวุธหลัก[แก้]

  • ไลท์นิ่งโวลท์ (ライトニングボルト)
อาวุธที่ได้จากไดนาโมแมนมีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่อใช้จะทำการเรียกสายฟ้าโจมตีศัตรูทั้งฉาก
  • ไอซ์วอลล์ (アイスウォール)
อาวุธที่ได้จากโคลด์แมนมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถป้องกันตัวและสามารถเคลื่อนที่เมื่อก้าวเดินไปและขึ้นอยู่บนไอซ์วอลล์เพื่อเก็บไอเท็ม
  • สบริดดริล (スプレッドドリル)
อาวุธที่ได้จากกราวด์แมนมีคุณสมบัติพิเศษคือปล่อยสว่านและสามารถแยกสว่านได้เมื่อกดปุ่ม A ต่อเนื่อง
  • รีโมทมายด์ (リモートマイン)
อาวุธที่ได้จากไพเรทแมนมีคุณสมบัติพิเศษคือปล่อยระเบิดและสามารถควบคุมไปอยู่ในทิศทางต่างๆ
  • เวฟเบิร์นเนอร์ (ウェーブバーナー)
อาวุธที่ได้จากเบิร์นเนอร์แมนมีคุณสมบัติพิเศษคือปล่อยไฟจากแขนโจมตีศัตรูและจุดไฟในบล็อกระเบิดแต่เมื่อยู่ในน้ำจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆแทน
  • เมจิคการ์ด (マジックカード)
อาวุธที่ได้จากเมจิคแมนมีคุณสมบัติพิเศษคือโจมตีด้วยไพ่และสามารถจับไอเท็มมาใช้
  • เท็งงูเบลด (テングブレード)
อาวุธที่ได้จากเทนงุแมนมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถใช้พลังลมตัดทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงการสไลค์ตัว
  • ก๊อปปี้วิชั่น (コピービジョン)
อาวุธที่ได้จากแอสโตรแมนมีคุณสมบัติพิเศษคือก๊อปปี้ร่างโดยทำหน้าที่การยิง

อุปกรณ์เสริม[แก้]

  • รัชเชิรจ์ (ラッシュサーチ)
  • เอดดี้ (エディ)
  • บีท (ビート)
  • กอสเปลบูสต์ (ゴスペルブースト)

พาร์ทต่างๆ[แก้]

ร็อคแมน[แก้]

ฟอร์เต้[แก้]

ไอเท็มต่างๆ[แก้]

เวอร์ชันเกมบอยแอ็ดวานซ์[แก้]

ร็อคแมน & ฟอร์เต้ ได้กลับมาจัดจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบเกมบอยแอ็ดวานซ์เนื่องในฉลองครบรอบ 15 ปีของซีรีส์ร็อคแมนโดยมีจุดแตกต่างดังนี้

  • เพิ่มเวอร์ชันภาษาอังกฤษโดยก่อนหน้านั้นยังไม่ได้มีการจัดจำหน่ายร็อคแมน & ฟอร์เต้ (เวอร์ชัน SFC) ในต่างประเทศ
  • หน้าจอของตัวเกมเล็กลงทำให้ฉากในเกมไม่สามารถมองทั่วถึงได้ในแบบเวอร์ชัน SFC
  • ข้อมูล CD ในเวอร์ชันต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนข้อมูลบางส่วน

อ้างอิง[แก้]

  • นิตยสารเกมแม็คเล่มที่ 553 (สนพ.อนิเมทกรุ๊ป)
  • นิตยสารเมก้า (สนพ.วิบูลย์กิจ)

เกร็ดข้อมูล[แก้]

  • บอสหุ่นยนต์ทั้ง 6 ในเกมผู้ออกแบบคือฮิโตชิ อาริงะ และ โตจิ อิซุกิ ทั้งทั้ง 2 เป็นผู้วาดการ์ตูนในหนังสือการ์ตูนร็อคแมนนอกจากนี้ปกเกมของเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมได้ให้ฮิโตชิ อาริงะมาวาดปกเกมอีกด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]