ข้ามไปเนื้อหา

รูเพิร์ต บรูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูเพิร์ต บรูก
เกิดรูเพิร์ต ชอเนอร์ บรูก
3 สิงหาคม ค.ศ. 1887(1887-08-03)
รักบี อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต23 เมษายน ค.ศ. 1915(1915-04-23) (27 ปี)
สไกรอส กรีซ
สาเหตุเสียชีวิตภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
สุสานสไกรอส กรีซ
สัญชาติอังกฤษ
การศึกษาโรงเรียนรักบี้
คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (ภาคีสมาชิก)
อาชีพกวี
ลายมือชื่อ

รูเพิร์ต ชอเนอร์ บรูก (อังกฤษ: Rupert Chawner Brooke, 3 สิงหาคม ค.ศ. 1887 – 23 เมษายน ค.ศ. 1915[1]) เป็นกวีชาวอังกฤษ มีผลงานเด่นคือบทกวี "The Soldier" ที่ปลุกใจทหารอังกฤษช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้บรูกยังเป็นที่รู้จักจากภาพลักษณ์ชายหนุ่มผู้ดูดี จนวิลเลียม บัตเลอร์ เยตส์ กวีชาวไอริชขนานนามเขาว่าเป็น "ชายหนุ่มที่หล่อที่สุดในอังกฤษ" (the handsomest young man in England)[2][3]

รูเพิร์ต บรูกเกิดในปี ค.ศ. 1887 ที่เมืองรักบี เทศมณฑลวอริกเชอร์ เป็นบุตรคนที่ 3 จากทั้งหมด 4 คนของวิลเลียม พาร์เกอร์ บรูกกับรูท แมรี บรูก (นามสกุลเดิม คอตเตอริล) บรูกเรียนที่โรงเรียนเตรียมฮิลโบรว์ก่อนจะเรียนต่อที่โรงเรียนรักบี้ ต่อมาเขาได้รับทุนจากคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่นั่นบรูกได้เข้าร่วมกับสมาคมหลายกลุ่ม เช่น เคมบริดจ์อะพอสเทิลส์ สโมสรแรงงานมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และบลูมส์บรีกรุป[4] ในปี ค.ศ. 1912 บรูกประสบปัญหาด้านอารมณ์เหตุจากความสับสนทางเพศ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศเพื่อพักฟื้น ในช่วงนี้เขามีความสัมพันธ์กับสตรีหลายคน เช่น ศิลปิน ฟิลลิส การ์ดเนอร์ นักแสดง แคทลีน เนสบิต และแพทย์ นอแอล ออลีวีเย[5]

ในปี ค.ศ. 1914 บรูกถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยประจำการในกำลังสำรองราชนาวีและกองพลราชนาวีที่ 63 ชื่อเสียงของเขาในฐานะกวีสงครามเริ่มปรากฏเมื่อนิตยสาร The Times Literary Supplement ตีพิมพ์โคลงซอนเน็ต "The Dead" และ "The Soldier" และยิ่งเป็นที่โด่งดังเมื่อมีการตีพิมพ์บทกวีรวมเล่ม 1914 & Other Poems ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915[6] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 บรูกประสบภาวะพิษเหตุติดเชื้อจากการถูกยุงกัดขณะเดินทางไปกับกำลังรบนอกประเทศเมดิเตอร์เรเนียนในการทัพกัลลิโพลี และเสียชีวิตที่เมืองสไกรอสในอีกราว 2 เดือนต่อมา ร่างของบรูกถูกฝังที่เมืองนั้นอย่างเร่งรีบหลังมีคำสั่งให้กำลังรบเดินทัพทันที[7] ในปี ค.ศ. 1985 บรูกเป็นหนึ่งในกวีสงคราม 16 คนที่ได้รับการรำลึกที่มุมกวีในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The date of Brooke's death and burial under the Julian calendar that applied in Greece at the time was 10 April. The Julian calendar was 13 days behind the Gregorian calendar.
  2. "Friends and Apostles. The Correspondence of Rupert Brooke and James Strachey, 1905–1914". New York Times. 1998. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.
  3. Nigel Jones (30 September 1999). Rupert Brooke: Life, Death & Myth (London: Richard Cohen Books, 1999), pp.110, 304. Rupert Brooke: Life, Death & Myth.
  4. Jones, Nigel (2014). Rupert Brooke: Life, Death and Myth. London, England, UK: Head of Zeus. ISBN 9781781857151.
  5. St. Sukie de la Croix. Chicago Whispers: A History of LGBT Chicago before Stonewall. University of Wisconsin Press, 2012, p.36.
  6. "Rupert Brooke (1887–1915) - British writer". Britannica. สืบค้นเมื่อ April 3, 2020.
  7. "Royal Naval Division service record (extract)". The National Archives. สืบค้นเมื่อ 11 November 2007.
  8. "Poets". Net.lib.byu.edu. สืบค้นเมื่อ 24 March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]