ข้ามไปเนื้อหา

รูล, บริแทนเนีย!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูล, บริแทนเนีย!
Rule, Britannia!
หน้าแรกของโน๊ตเพลงฉบับปี ค.ศ. 1890
เนื้อร้องเจมส์ ทอมสัน, 1740
ทำนองโทมัส อาร์เน, 1740
ตัวอย่างเสียง
"Rule, Britannia!" บรรเลงโดยกองทัพบกสหรัฐ

รูล, บริแทนเนีย! (อังกฤษ: Rule, Britannia!) เป็นเพลงรักชาติของอังกฤษ มีต้นกำเนิดมาจากบทกวี "Rule, Britannia" โดยเจมส์ ทอมสันในปี ค.ศ. 1740[1] และถูกแปลงเป็นเพลงโดยโทมัส อาร์เนในปีเดียวกัน[2] เพลงนี้มีความเกี่ยวข้องกับราชนาวีอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามเพลงนี้ก็ถูกใช้ในกองทัพบกสหราชอาณาจักรเช่นกัน[3]

อัลเฟรด

[แก้]

เริ่มแรก เพลงนี้เป็นเพลงลำดับสุดท้ายในอัลเฟรด (ละครสวมหน้ากากเกี่ยวกับพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช) ของโทมัส อาร์เน่ ร่วมเขียนกับเจมส์ ทอมสันและเดวิด มัลเล็ต โดยได้ขึ้นแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1740 ณ คฤหาสน์คลิฟเดิน บ้านพักตากอากาศของเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์[4]

เนื้อเพลง

[แก้]

เนื้อเพลงฉบับนี้ ถูกนำมาจาก The Works of James Thomson โดยเจมส์ ทอมสัน, เผยแพร่เมื่อ 1763, เล่มที่ 2, หน้า 191 ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาทั้งหมดของ "อัลเฟรด" ไว้

"Married to a Mermaid"

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1751 มัลเล็ตได้ใช้ข้อความใน "Rule, Britannia!" ซ้ำ โดยเอาสามจากหกบทเดิมออก และนำสามบทใหม่ที่ถูกประพันธ์โดยลอร์ดโบลิงโบรคใส่ลงไปแทน เพื่อนำไปใช้เป็นท่อนกล่าวซ้ำในเพลงตลกชื่อ "Married to a Mermaid" โดยมันได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อมัลเล็ตได้สร้างละครสวมหน้ากากของตัวเองขึ้นมาในนาม Britannia และแสดงที่โรงละครดรูรีเลนในปี ค.ศ. 1755[5]

สัญลักษณ์

[แก้]
หน้าที่สอง

ไม่นาน "Rule, Britannia!" ก็ถูกนำมาใช้แยกเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับงานแสดงเหมือนแต่ก่อน มันได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1745 ที่กรุงลอนดอน มันได้รับความนิยมถึงขั้นที่ในปีต่อมาจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิลได้ยกมันมาใส่ในผลงานของเขาอย่าง Occasional Oratorio เลยทีเดียว โดยเขาได้ยกประโยคแรกมาเป็นส่วนหนึ่งขององก์ที่ 2 ของโซปราโนอาเรีย[6] ต่อมาเพลงนี้ถูกพวกแจกเคอไบต์นำไปใช้ผลประโยชน์ โดยแปลงเนื้อหาฉบับทอมสันเป็นฉบับสนับสนุนแจกเคอไบต์แทน[7]

อ้างอิงจากอาร์มิเทจ[8] "Rule, Britannia!" เป็นการแสดงออกถึงมโนคติของความเป็นบริเตนและจักรวรรดิบริติชที่ปรากฏตัวขึ้นมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1730 ที่ยังคงอยู่มาได้ยาวนานที่สุด เห็นได้จากเพลงนี้ "เป็นการผสมของการค้าขายที่ไม่บริสุทธิ์ ความวิตกกังวลในชาตินิยม และความร้อนรนในเสรีนิยม" เขาได้เปรียบเพลงนี้ดั่งผลงานของโบลิงโบรค On the Idea of a Patriot King (1738) ซึ่งเขียนแด่วงในของเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ ที่ที่โบลิงโบรคได้ "ยกระดับความหวาดกลัวแก่กองทัพประจำการถาวรอันอาจหันคมเขี้ยวมาแก่ชาวบริติชแทนที่จะเป็นศัตรูของพวกเขา"[9] เพราะฉะนั้น กองทัพเรืออังกฤษจึงได้มีพลังอำนาจทัดเทียมกับเสรีภาพของพลเมือง เนื่องจากประเทศที่เป็นเกาะที่มีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งคอยปกป้องนั้น พวกเขาสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยปราศจากกองทัพประจำการ ที่ตั้งแต่ยุคของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามและต้นตอของเผด็จการ

ในขณะนั้นที่เพลงนี้ได้ปรากฏขึ้นมา มันไม่ได้มีไว้เพื่อเฉลิมฉลองแก่เหล่ากิจการทหารเรือแต่เป็นการเตือนสติเสียมากกว่า แม้ว่าในศตวรรษที่ 17 สาธารณรัฐดัตช์ได้สร้างความท้าทายทางอำนาจทางทะเลของอังกฤษ จะเห็นชัดได้ในช่วงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1745 ซึ่งอังกฤษยังไม่ได้ "rule the waves" (ปกครองคลื่นสมุทร) อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยเพลงนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงสงครามหูของเจนกินส์ มันก็เลยอาจถกเถียงกันได้ว่า คำนั้นมันอาจหมายถึงการรุกรานของเสปนต่อเรือสินค้าของอังกฤษทำให้เกิดสงคราม เวลายังไม่ได้ล่วงเลยมาถึงกาลที่ราชนาวีจะเป็นมหาอำนาจเหนือท้องมหาสมุทรอย่างแท้จริง เนื้อเพลงแห่งความรื่นเริงในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในปลายศตวรรษที่ 19 มันจะกลายเป็นเพลงที่มีความสำคัญทางวัตถุและความรักชาติอย่างมีนัยสำคัญ

Britannia rule the waves: จานที่ถูกตกแต่ง ถูกทำขึ้นในลิเวอร์พูล ในช่วงปี ค.ศ. 1793–1794 (Musée de la Révolution française)

"Rule, Britannia!" มักจะถูกเขียนเป็น "Rule Britannia" โดยละทั้งเครื่องหมายจุลภาคและเครื่องหมายอัศเจรีย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการตีความเนื้อหาโดยการเปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอน ริชาร์ด ดอว์กินส์ได้เล่าไว้ในหนังสือ The Selfish Gene (1976) ว่า ในช่วงที่มีการเปล่งเสียงซ้ำ "Rule, Britannia! Britannia, rule the waves!" มักจะถูกแปลงเป็น "Rule, Britannia! Britannia Rules the Wave!" ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเนื้อความของท่อนนี้อีก โดยการเพิ่ม 's' เข้าไปในเนื้อเพลง ถูกใช้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของมีมที่ประสบความสำเร็จ[10]

มอริส วิลสัน ดิชเชอร์ได้ระบุว่า การแปลง "Britannia, rule the waves" เป็น "Britannia rules the waves" ได้เกิดขึ้นในสมัยวิกตอเรีย ที่อังกฤษได้ปกครองท้องสมุทรแล้วและไม่จำเป็นต้องถูกกระตุ้นให้ปกครองอีกต่อไป ดิชเชอร์ยังได้ระบุอีกว่า คนในยุดนั้นเปลี่ยน "Shall เป็น will" ใน"Britons never shall be slaves"[11]

เพลงนี้กลับมามีความสำคัญในปี 1945 ซึ่งเป็นปีแห่งบทสรุปของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเพลงนี้ถูกบรรเลงในพิธียอมจำนนของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสิงคโปร์ และอีกครั้งโดยกองกำลังร่วมของออสเตรเลีย อังกฤษ และอเมริกาเมื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า มาถึง[12]

โดยทั่วไปแล้วจะมีการแสดง "Rule, Britannia!" (ในฉบับวงออเคสตราโดย เซอร์ มัลคอล์ม ซาร์เจนท์) ใน Last Night of the Proms ของบีบีซี โดยปกติจะมีศิลปินเดี่ยวมาร่วมแสดงด้วย (ศิลปินในอดีต ได้แก่ เจน อีเกิลน์, ไบรน์ เทอร์เฟล, โธมัส แฮมป์สัน, โจเซฟ คัลเลจา และ เฟลิซิตี้ ลอตต์) เพลงนี้ ปกติจะเป็นส่วนสุดท้ายในการแสดงของ เซอร์ เฮนรี่ วูดส์ ชื่อ Fantasia on British Sea Songs ปี 1905 มาโดยตลอด จนกระทั่งปี ค.ศ. 2000 เพลงฉบับนี้ก็ถูกแทนที่โดยฉบับของซาร์เจนท์แทน อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพลงนี้และเพลงรักชาติอื่น ๆ ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะอย่างยึ่งโดยลีโอนาร์ด สแลตกิน เป็นผลให้เกิดการแก้ไขการแสดงเป็นครั้งคราว[13] ในบางปี การแสดงที่ Last Night of the Proms จะถูกเปลี่ยนกลับไปใช้เป็นฉบับดั้งเดิมของเซอร์ เฮนรี่ วูดส์ ในการแสดงในปี ค.ศ. 1994 และ 2008 ไบรน์ เทอร์เฟลได้ร้องบทที่ 3 เป็นภาษาเวลส์ เนื้อเพลงสามารถดูได้ที่ Rule Britannia (ในภาษาเวลส์).

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sambrook, James (24 May 2008). "Thomson, James". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร)
  2. Scholes, Percy A (1970). The Oxford Companion to Music (tenth ed.). Oxford University Press. pp. 897.
  3. "Rule Britannia". The Britannia and Castle: Norfolk Section. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2009. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
  4. Scholes p. 897.
  5. Chartier, Roger. "Married To A Mermaid". Sailor Songs. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
  6. Scholes p. 898
  7. Pittock, Murray G. H (1994). Poetry and Jacobite Politics in Eighteenth-Century Britain and Ireland. Cambridge University Press. p. 83. ISBN 0-521-41092-4. "when royal Charles by Heaven's command, arrived in Scotland's noble Plain, etc"
  8. Armitage, David (2000). The Ideological Origins of the British Empire. Cambridge University Press. p. 173.
  9. Armitage, p.185
  10. Dawkins, Richard (1989). The Selfish Gene. Oxford University Press. p. 324. ISBN 0-19-286092-5.
  11. Disher, Maurice Willson. Victorian Song, Phoenix House, 1955.
  12. Jackson, Ashley (2006). The British Empire and the Second World War (ภาษาอังกฤษ). A&C Black. p. 459. ISBN 9781852854171.
  13. "Proms Conductor Derides Britannia". BBC News. 1 July 2002. สืบค้นเมื่อ 3 April 2007.