ข้ามไปเนื้อหา

รูปปั้นการูดาวิซนูเกินจานา

พิกัด: 8°48′50″S 115°10′01″E / 8.813951°S 115.166882°E / -8.813951; 115.166882
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การูดาวิซนูเกินจานา
แผนที่
พิกัด8°48′50″S 115°10′01″E / 8.813951°S 115.166882°E / -8.813951; 115.166882
ที่ตั้งอุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
ผู้ออกแบบโญมัน นูอาร์ตา[1]
ความกว้าง66 m (217 ft)
ความสูง122 m (400 ft)
เริ่มก่อสร้าง1993[2]
สร้างเสร็จ31 กรกฎาคม 2018
การเปิด22 กันยายน 2018
อุทิศแด่ครุฑ, พระวิษณุ

รูปปั้นการูดาวิซนูเกินจานา (อินโดนีเซีย: Garuda Wisnu Kencana; ครุฑวิษณุกาญจนา) หรือเรียกย่อว่า GWK เป็นรูปปั้นความสูง 121 เมตร ตั้งอยู่ในอุทยานวัฒนธรรมการูดาวิซนูเกินจานา จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผลงานออกแบบโดยโญมัน นูอาร์ตา มีความสูง 121 เมตร ซึ่งรวมฐานสูง 46 เมตร ตั้งใจสร้างขึ้นให้เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย รูปปั้นนี้แสดงรูปพระวิษณุทรงครุฑขณะเสด็จออกตามหาน้ำอมฤต การก่อสร้างแล้วเสร็จและประกอบพิธีเปิดโดยประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโก วีโดโด ในปี 2018[3][4]

รูปปั้นครุฑวิษณุกาญจนาเป็นผลงานออกแบบในปี 1990 โดยโญมัน นูอาร์ตา ภายใต้การนำของรัฐมนตรีการท่องเที่ยว โยป อาเว, รัฐมนตรีพลังงาน อีดา บากุซ ซูดจานา และนายกเทศบาลจังหวัดบาหลี อีดา บากุซ โอกา[5] การก่อสร้างเริ่มต้นในปี 1997 แต่ถูกชะลอและพักก่อสร้างในทศวรรษ 1990s เนื่องด้วยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในทวีป[6][7] และกลับมาก่อสร้างอีกครั้งในปี 2013 หลังเว้นว่างไปสิบหกปีโดยมีบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเครืออาลันซูเตอรา (Alam Sutera) เข้าหนุนโครงการ[7]

โครงการนี้เป็นประเด็นถกเถียงบนเกาะบาหลี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองว่าการสร้างรูปปั้นของศาสนาหนึ่ง ๆ ที่มีขนาดใหญ่โตขนาดนี้จะไปรบกวนสมดุลทางจิตวิญญาณบนเกาะ รวมถึงการนำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจเช่นนี้ไม่เหมาะสม กระนั้นบางกลุ่มที่เห็นด้วยสนับสนุนโครงการนี้ในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ[8]

รูปปั้นนี้ประกอบขึ้นในบาหลีจากชิ้นมอดูล 754 ชิ้นที่สร้างขึ้นในบันดุงบนเกาะชวา ก่อนจะขนส่งมายังเกาะบาหลี จากนั้นชิ้นส่วนมอดูลทั้ง 754 ชิ้น ถูกนำมาตัดแบ่งอีกเป็น 1,500 ชิ้นย่อยเพื่อไม่ให้เกินน้ำหนักที่เครนยกได้[9] การออกแบบรูปปั้นนี้ยังคำนึงถึงความมั่นคงโดยสามารถทนต่อแผ่นดินไหวและพายุ รวมถึงอ้างว่าจะสามารถคงอยู่ต่อไปได้อีก 100 ปี[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Meet the Designer of Garuda Wisnu Kencana : Nyoman Nuarta - NOW! Bali". NOW! Bali. 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  2. Media, Kompas Cyber (5 July 2018). "INFOGRAPHY: The Journey of Building the Statue of GWK". KOMPAS.com (ภาษาIndonesian). สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. "President Joko Widodo unveils Indonesia's tallest statue". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
  4. Asdhiana, I Made (22 September 2018). Nursastri, Sri Anindiati (บ.ก.). "Jokowi resmikan patunng GWK terwujud setelah 28 Tahun". Kompas. สืบค้นเมื่อ 23 September 2018.
  5. Juniarta, I Wayan (2 August 2018). "Garuda Wisnu Kencana: Precious gift for Independence Day". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
  6. Gamar, Robinson (2018-08-03). Assifa, Farid (บ.ก.). "Perjalanan Panjang Patung GWK, Selesai Dibangun Setelah 4 Kali Ganti Presiden Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  7. 7.0 7.1 Aprilyani, Anggita (10 October 2022). Novianti, Andari (บ.ก.). "Kalahkan Tinggi Liberty, Ini 5 Fakta Patung GWK di Bali yang Harus Kamu Tahu". kumparan (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  8. Juniarta, I Wayan (July 24, 2013). "Nuarta 'resurrects' tallest Wisnu statue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2013.
  9. "Spectacular GARUDA WISNU KENCANA STATUE on Bali in Final Stage of Completion". Ministry of Tourism, Republic of Indonesia. 11 June 2018. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
  10. Harvey, Adam (11 June 2017). "Bali statue of Hindu god Wisnu to be world's largest". ABC. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.