สุลตานะห์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ ฮามีดุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮามีนะห์
ราจาเปอร์ไมซูรีอากง
ดำรงพระยศ13 ธันวาคม ค.ศ. 2011 – 12 ธันวาคม ค.ศ. 2016
ก่อนหน้าสุลต่านาห์ นูร์ ซาฮีราห์
ถัดไปตุนกู อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ ไมมูนะฮ์ อิสกันดารียะฮ์
สุลตานะห์แห่งรัฐเกอดะฮ์
ดำรงพระยศ21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 – 11 กันยายน ค.ศ. 2017
ก่อนหน้าสุลตานะห์บาฮิยาห์
ถัดไปสุลตานะห์มาลิฮา
จิกปวนเบอซาร์แห่งรัฐเกอดะฮ์
ดำรงพระยศ21 มกราคม ค.ศ. 2018 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าตุ๊งกู่อำปัวอัสมา
พระราชสมภพ (1953-07-15) 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 (70 ปี)
บากันเซอไร, รัฐเปรัก, สหพันธรัฐมาลายา
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ (2518-2560)
ราชวงศ์ราชวงศ์เกอดะฮ์
พระราชบิดาฮัจญี ฮามีดุน ตายิบ
พระราชมารดาอิสมา โมฮามัด
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

สมเด็จพระราชินีตวนกู สุลตานะห์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ ฮามีดุน หรือ จิกปวนเบอซาร์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ บินตี ฮัจญี ฮามีดุน (มลายู: Sultanah Haminah Hamidun; พระราชสมภพ: 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) ทรงเป็นอดีต รายาประไหมสุหรีอากงแห่ง มาเลเซีย และสุลตานะห์แห่งรัฐเกอดะฮ์ องค์ ที่ 14

ประสูติ[แก้]

ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ ฮามีดุน ประสูติเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่เมืองบากันเซอไร รัฐเปรัก เป็นธิดาคนที่สี่ในบรรดาบุตรทั้งเจ็ดของฮัจญี ฮามีดุน ตายิบ กับอิสมา โมฮามัด สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอสเค มาตัง จลูตง และโรงเรียนเอสเอม อิงเงริส บากัน ซไร[1]

อภิเษกสมรส[แก้]

ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ ฮามีดุน อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์ สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์ มีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 3 พระองค์

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • ฮามีนะห์ บินติฮามีดุน (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 — 25 ธันวาคม พ.ศ. 2518)
  • พระมเหสีฮามีนะห์ บินติฮัจญีฮามีดุน (25 ธันวาคม พ.ศ. 2518 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546)
  • สุลตานะห์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 — 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
  • สมเด็จพระราชินีตวนกู สุลตานะห์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ ฮามีดุน (13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 — 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • สุลตานะห์ ฮัจญะห์ ฮามีนะห์ (12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 — 11 กันยายน 2560)
  • เชปูวันเบซาร์ ดาโต๊ะ เซรี ฮุตามา ฮัจญะ ฮามีนะห์ บินติฮัจญีฮามีดุน (21 มกราคม พ.ศ. 2561 — ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  •  มาเลเซีย
    • พ.ศ. 2556 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏแห่งอาณาจักร (Order of the Crown of the Realm)[2]
  •  รัฐเกอดะฮ์
    • เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชวงศ์เกอดะฮ์ (Royal Family Order of Kedah)
    • เครื่องราชอิสริยาภรณ์วงศ์ฮาลิมีแห่งเกอดะฮ์ (Halimi Family Order of Kedah)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Alina Simon (10 January 2004). "New Sultanah of Kedah crowned". New Straits Times. p. 4.
  2. Photo เก็บถาวร 2013-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Abdul Halim and Haminah, King and Queen of Malaysia (2011-)
  3. Photo of Sultan Abdul Halim and Sultanah Haminah
  4. "Raja Permaisuri Agong Tuanku Hajah Haminah receives highest honour from Japan". Bernama. 2013-02-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (6ข): 1. February 15, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.