รายชื่อสิ่งมีชีวิตพันธุ์ผสมในคติชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือรายชื่อของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ผสมจากบันทึกที่เรียงตามสายพันธุ์ตามคติชน สำหรับการผสมพันธุ์ในสัตววิทยา ดู ลูกผสม

มีส่วนของมนุษย์[แก้]

ส่วนบนเป็นมนุษย์[แก้]

ครึ่งมนุษย์-ม้า (เซนทอร์)[แก้]

เซนทอร์สู้กับคน
  • อังกิตัย – สิ่งมีชีวิตเพศเมียที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นม้า
  • เซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นม้า
  • โอโนเซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นลา
  • ไอโพเทน – มนุษย์ที่มีส่วนขาหลังเป็นม้า
  • เซเทอร์ – สิ่งมีชีวิตในตำนานกรีกโบราณที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่มีส่วนหางและหูเป็นม้า[1][2] ชอบยุ่งกับความมึนเมาและพูดหยาบคาย เป็นที่รู้จักจากความรักในไวน์, เสียงดนตรี และผู้หญิง[1][2][3] ในช่วงสมัยเฮลเลนิสต์ เซเทอร์ถูกวาดเป็นชายที่มีเขาและเขาเป็นแพะ ซึ่งเหมือนกันกับแพน[1][2]
  • ไซลีนัส - ผู้ฝึกสอนไดอะไนซัสที่เป็นเซเทอร์[3][2]

ครึ่งมนุษย์-แพะ[แก้]

ชายหญิง และลูก ๆ ของเซเทอร์

สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ มีอยู่หลายประเภท เช่น สไปรต์, เทวดา, ปิศาจ และมนุษย์ครึ่งเทพ[4]

  • ฟอน – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมโรมันโบราณที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ขาและเขาเป็นแพะ[1][2] แยกมาจากเซเทอร์ของกรีก เพราะมันไม่ค่อยสนเรื่องความมึนเมาหรือพูดหยาบคาย และมันถูกมองเป็น "สิ่งมีชีวิตในป่าที่ขี้อาย"[5]
  • แกลชทิก – แฟรีหรือผีของชาวสกอตที่มีร่างครึ่งแพะ-มนุษย์[6][7]
  • แพน – เทพในป่าและผู้ปกป้องคนเลี้ยงแกะ มีร่างเป็นมนุษย์ แต่มีขาและเขาเป็นแพะ มักเล่นฟลุต
  • เซเทอร์
  • แครมปัส — สิ่งมีชีวิตในเยอรมันที่ไม่ทราบที่มาอย่างชัดเจน มักถูกวาดให้มีร่างกายเป็นมนุษย์ ขากับเขาของแพะ และลักษณะของสัตว์หลายชนิด

ครึ่งมนุษย์-นก[แก้]

ภาพฮาร์พีในยุคกลาง
  • อัลโกนอสต์ – สิ่งมีชีวิตจากคติชนรัสเซียที่มีหัวเป็นผู้หญิงและร่างกายเป็นนก กล่าวว่ากันว่าเสียงอันไพเราะของเธอทำให้ใครก็ตามที่ได้ยินจะลืมทุกอย่างและไม่ต้องการอย่างอื่นอีกเลย
  • กามายุน – สิ่งมีชีวิตในรัสเซียที่ถูกวาดให้มีหัวของผู้หญิงและร่างกายของนก
  • อินมย็องโจ – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมเกาหลีโบราณที่มีใบหน้าของมนุษย์และร่างกายของนก
  • ฮาร์พี – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งสตรี บางครั้งถูกวาดเป็นผู้หญิงที่มีปีกและขาเป็นนก
  • กินรี – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมอินเดียที่เป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งนก
  • ลาเมีย – สตรีที่มีเท้าของเป็ด
  • ลิลิธ – หญิงที่มีขาของนก (บางครั้งคือปีก) พบในเทพปกรณัมเมโสโปเตเมีย
  • ไซเรน – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งผู้หญิงในเทพปกรณัมกรีก ที่หลอกล่อนักเดินเรือให้ตายโดยใช้เสียงร้องของเธอ
  • ซีริน – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งมนุษย์ ที่มีหัวและอกของผู้หญิงจากคติชนรัสเซีย ส่วนนกของมันคือร่างของนกฮูก
  • อุเจก ลังเมดง - สิ่งมีชีวิตครึ่งสตรีและครึ่งนกเงือกในคติชนมณีปุรี เป็นเด็กหญิงที่กลายร่างเป็นนกเพื่อหนีจากการทำร้ายของแม่เลี้ยง หลังพ่อเสียชีวิต

ครึ่งมนุษย์-ปลา[แก้]

  • อะทาร์กะติส – หน้ามนุษย์ ร่างกายของปลา
  • อิกทิโอเซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่มีลำตัวของชายหรือหญิง ขาหน้าของม้า และหางของปลา
  • เจนกู – พรายน้ำ
  • มัตสยะอวตารของพระวิษณุที่มีรูปร่างเป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา
  • เงือก – สิ่งมีชีวิตประเภทครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา
  • ไซเรนา – นางเงือกในคติชนฟิลิปปินส์
  • ไซโยกอย – นายเงือกที่มีร่างกายเป็นเกล็ดในคติชนฟิลิปปินส์ โดยเป็นเพศชายของไซเรนา
  • ไทรทัน - เทพกรีกผู้เป็นบุตรของโพไซดอน ซึ่งมีรูปร่างเดียวกันกับนายเงือก บางภาพแสดงตัวพระองค์มีหางปลาสองอัน

ครึ่งมนุษย์-งู[แก้]

นูเระ-อนนะ ใน ฮยักไก-ซูกัน ของซาวากิ ซูอูชิ
  • ดราโคโนป (เท้างู) – "เท้างู (Snake-feet) คืองูขนาดใหญ่และมีพลัง ที่มีหน้าของหญิงสาว และคอถึงตัวเป็นของงู" ถูกกล่าวไว้โดย วินเซนต์แห่งโบเวส์[8]
  • อีคิดนา – ปีศาจเพศเมียที่เป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งงู อาศัยอยู่ในถ้ำ
  • ฝูซี – พระเจ้าที่ถูกสร้างโดยนฺหวี่วา
  • พระเกตุอสูรที่มีส่วนล่างเป็นงู และกล่าวกันว่ามีสี่แขน
  • เลเมีย – เมือนนางเงือกแต่มีส่วนล่างเป็นงู และส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย
  • นาค – สิ่งมีชีวิตที่ผสมระหว่างมนุษย์/งูทุกชนิด
  • นฺหวี่วา – สตรีที่มีส่วนล่างเป็นงูในคติชนจีน
  • นูเระ-อนนะ – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวของผู้หญิง และร่างกายของงู
  • ทลันจานะ – เทพแห่งน้ำที่มีส่วนของผู้หญิงและงู
  • จื๋อหลง – สิ่งมีชีวิตที่มีใบหน้าเป็นมนุษย์และร่างกายของงู

พันธุ์ผสมอื่น ๆ[แก้]

หัวมนุษย์ ร่างเป็นสัตว์[แก้]

ลามัสซูของชาวอัสซีเรีย
  • อะวาเทีย – เทพของชาวแมนไกอาที่ส่วนขวาเป็นมนุษย์ และส่วนซ้ายเป็นปลา
  • ไป๋เจ๋อ – อสูรที่มีรูปร่างหลายแบบ
  • บุรอก – สิ่งมีชีวิตจากประติมานวิทยาอาหรับที่มีหัวของมนุษย์และร่างกายเป็นม้ามีปีก
  • ฮาตุยบวารี – สิ่งมีชีวิตคล้ายมังกรที่มีหัวของมนุษย์ที่มีสี่ตา ร่างกายของงู และปีกของค้างคาว
  • กามเธนุ – วัวที่มีหัวเป็นมนุษย์ ร่างกายของวัว ปีกของนก และหางของนกยูง
  • กูซาริกกู – ปีศาจที่มีหัว, แขน และลำตัวของมนุษย์ และหู, เขา และส่วนขาหลังของวัว
  • มันติคอร์ – สิ่งมีชีวิคในตำนานเปอร์เซียที่ดูเหมือนกับสฟิงซ์ของอียิปต์ โดยมีร่างกายของสิงโตแดง, ใบหน้าของมนุษย์ที่มีฟันสามแถว บางครั้งมีปีกคล้ายค้างคาว และเสียงร้องคล้ายทรัมเป็ต อีกมุมหนึ่งของสิ่งมีชีวิตนี้ อาจมีเขา ปีก หรือทั้งสองอย่าง โดยหางอาจเป็นของมังกรหรือแมงป่อง และยิงหนามที่ทำให้เหยื่อหมดสติหรือตายได้
  • เมดูซา – สิ่งมีชีวิตในทะเลจากคติชนรัสเซียที่มีหัวของหญิงพรหมจารีย์และร่างกายของสัตว์ร้าย โดยมีหางของมังกรที่มีปากของงูและขาของช้างที่มีปากงูเดียวกัน
  • สฟิงซ์ – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวของมนุษย์ ร่างกายของสิงโต และอาจมีปีกของนก
  • ลามัสซู – เทพที่ถูกปั้นให้มีหัวมนุษย์ ร่างกายของวัวหรือสิงโต และปีกของนก

มนุษย์ที่มีหัวเป็นสัตว์[แก้]

พระพิฆเนศ ผู้มีเศียรเป็นช้าง
ฮอรัส ผู้มีเศียรเป็นเหยี่ยว

มนุษย์ที่มีส่วนของสัตว์[แก้]

เขาของแพะและแกะ ขนและหูของแพะ จมูกและเขี้ยวของหมู เป็นรายละเอียดของมารในศิลปะคริสเตียน โดยแพะ แกะ และหมูถูกนำไปเชื่อมโยงกับมาร[9] ภาพในศตวรรษที่ 16 โดยJacob de Backer ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของวอร์ซอ
  • ปีก
    • เทวทูต – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่ถูกวาดให้มีปีกคล้ายนก ในเทพปกรณัมอับราฮัมกับโซโรอัสเตอร์ ทูตสวรรค์มักนำศาสน์จากพระเจ้าลงมายังมนุษย์
    • นางฟ้า – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่มีปีกของแมลง
    • มอธแมนผีเสื้อกลางคืนที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์
    • เสราฟิม – เทวทูตชั้นสูงที่มีปีกเป็นจำนวนมาก
    • จีนีมีปีก – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่มีปีกของนก
  • ขา
    • อะนานซี - เทพของชาวแอฟริกาตะวันตก มีอยู่หลายรูปแบบ: บางครั้งดูเหมือนแมงมุม บางครั้งเป็นแมงมุมใส่เสื้อ หรือมีใบหน้าของมนุษย์ และบางครั้งดูเหมือนมนุษย์ที่มีส่วนของแมงมุม เช่น มีแปดขา
    • ดราไคนา – สิ่งมีชีวิตเพศเมียจากเทพปกรณัมกรีก มักวาดเป็นผู้หญิงที่มีส่วนของมังกร
  • เขา
  • ผมงู
    • กอร์กอน – แต่ละตัวจะมีผมเป็นงู บางครั้งมีส่วนล่างเป็นงู

ครึ่งสัตว์ ครึ่งมนุษย์ (เปลี่ยนกันระหว่างทั้งสอง)[แก้]

ครุฑที่กำลังอุ้มพระวิษณุ
  • เซลคีแมวน้ำที่กลายเป็นมนุษย์โดยการลอกผิวหนังบนพื้นดิน
  • เสือสมิง – สิ่งมีชีวิตที่มีส่วนของแมว, ส่วของมนุษย์ หรือสลับเปลี่ยนกันระหว่างทั้งสอง
  • มนุษย์หมาป่า – สิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นอสูรที่ดูเหมือนกับหมาป่า/มนุษย์ในคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง แต่จะกลายเป็นมนุษย์ในช่วงอื่น

ไม่ใช่มนุษย์[แก้]

สัตว์สี่ขาที่มีปีกของนก[แก้]

เพกาซัส บนหลังคาของPoznań Opera House (Max Littmann, ค.ศ. 1910)

ส่วนของสัตว์ 2 ชนิด[แก้]

รายละเอียดในงานปักเสื้อของชาวอัปกัลลู แสดงถึงภาพคู่ของสัตว์สี่ขามีปีก จากนิมรุด, อิรัก 883-859 ปีก่อนค.ศ. พิพิธภัณฑ์ตะวันออกโบราณ, อิสตันบูล
รูปปั้นของ 'คชสิงหะ'

ส่วนของสัตว์ 3 ชนิด[แก้]

  • อัมมิต – สิ่งมีชีวิตในอียิปต์ที่มีหัวเป็นจระเข้ ขาหน้าเป็นสิงโต และขาหลังเป็นฮิปโปโปเตมัส
  • ชัลกีดรี – สิ่งมีชีวิตที่มีปีกเทวทูต 12 ปีก ร่างกายของสิงโต และหัวของจระเข้ ที่ถูกกล่าวใน 2 เอโนค[10]
  • คิเมียรา – สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมกรีกที่มีหัวและส่วนหน้าของสิงโต หัวและขาหลังของแพะ และหัวของงูที่หาง กล่าวกันว่าหัวสิงโตพ่นไฟได้
  • แจคกะโลปกระต่ายแจ็กที่มีเขาของพรองฮอร์น และบางครั้งมีหางและ/หรือขาขางไก่ฟ้า
  • ศารภะ – สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมฮินดูที่มีหัวของสิงโต ขาของกวาง และปีกของนก
  • ซิเมิร์ฆ – สิ่งมีชีวิตคล้ายกริฟฟอนในปกรณัมเปอร์เซียที่มีหัวของสุนัขและกรงเล็บของสิงโต
  • ไวเวิร์น – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวและปีกของมังกร ร่างกายของสัตว์เลี้อยคลาน สองขา และปลายหางเป็นรูปข้าวหลามตัดหรือลูกศร

ส่วนของสัตว์ 4 ชนิด[แก้]

ส่วนของสัตว์ 5 ชนิดหรือมากกว่านั้น[แก้]

นวกุณชร มีขาของสัตว์ 8 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงมือของมนุษย์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Riggs, Don (2014). "Faun and Satyr". ใน Weinstock, Jeffrey Andrew (บ.ก.). The Ashgate Encyclopedia of Literary and Cinematic Monsters. New York City, New York and London, England: Ashgate Publishing. pp. 233–236. ISBN 978-1-4094-2563-2.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Hansen, William F. (2004). Classical Mythology: A Guide to the Mythical World of the Greeks and Romans. Oxford, England: Oxford University Press. pp. 279–280. ISBN 978-0-19-530035-2.
  3. 3.0 3.1 West, Martin Litchfield (2007). Indo-European Poetry and Myth. Oxford, England: Oxford University Press. p. 293. ISBN 978-0-19-928075-9.
  4. Nathan Robert Brown (30 September 2014). The Mythology of Grimm: The Fairy Tale and Folklore Roots of the Popular TV Show. Penguin Publishing Group. pp. 195–. ISBN 978-0-698-13788-2.
  5. Miles, Geoffrey (2009) [1999]. Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. New York City, New York and London, England: Routledge. p. 30. ISBN 978-0-203-19483-6.
  6. Rev. J. G. Campbell, "Superstitions of the islands and Highlands of Scotland", Scottish Celtic Review 4 (1885), pp155, 157, noted in J. G. McKay, "The Deer-Cult and the Deer-Goddess Cult of the Ancient Caledonians" Folklore 43.2 (June 1932), pp. 144–174). p. 152.
  7. Sue Weaver (16 April 2011). The Backyard Goat: An Introductory Guide to Keeping and Enjoying Pet Goats, from Feeding and Housing to Making Your Own Cheese. Storey Publishing, LLC. pp. 142–. ISBN 978-1-60342-699-2.
  8. Franklin-Brown, Mary (2012). Reading the world : encyclopedic writing in the scholastic age. Chicago London: The University of Chicago Press. p. 258. ISBN 9780226260709.
  9. Fritscher, Jack (2004). Popular Witchcraft: Straight from the Witch's Mouth. Popular Press. p. 23. ISBN 0-299-20304-2. The pig, goat, ram — all of these creatures are consistently associated with the Devil.
  10. Platt, Rutherford (1926). The Lost Books of the Bible and the Forgotten Books of Eden. Entry: The Book of the Secrets of Enoch chapter XII
  11. Stratton, Carol (2004). Buddhist Sculpture of Northern Thailand (ภาษาอังกฤษ). Serindia Publications, Inc. ISBN 9781932476095.