รายชื่อตัวละครในอภัยมณี ซาก้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวละครในอภัยมณี ซาก้า

ตัวละครในอภัยมณี ซาก้า ทั้งภาคแรกและภาครุ่งอรุณแห่งโจรสลัด ซึ่งมาจากเค้าโครงเดิมของพระอภัยมณีของสุนทรภู่ โดยได้นำเสนอตัวละครสำคัญและตัวละครรองในผลงานชุดนี้ รวมถึงได้มีการเสริมเพิ่มตัวละครใหม่ขึ้นจากเดิม[1]

ตัวละครจากวรรณคดี[แก้]

อภัยมณี
รัชทายาทอันดับหนึ่งแห่งนครรัตนา พระโอรสในท้าวสุทัศน์กับพระนางประทุมเกสร มีวิชาติดตัวคือเพลงปี่ เคยถูกคุมขังอยู่ในคุกสมุทร และได้รับการช่วยเหลือจากเผ่าเงือก
ศรีสุวรรณ
รัชทายาทรองแห่งนครรัตนา พระอนุชาแท้ๆ ของอภัยมณี มีวิชาต่อสู้คือพลอง เคยร่วมมือต่อต้านกองทัพของท้าวอุเทน และกำจัดท้าวอุเทน
ท้าวสุทัศน์
กษัตริย์แห่งนครรัตนา พระบิดาของอภัยมณีกับศรีสุวรรณ เป็นอดีตนักดาบ
พระนางประทุมเกสร
พระมเหสีในท้าวสุทัศน์ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อภัยมณีกับศรีสุวรณยังเล็ก ปรากฏในเล่มที่ 12 ตอนในอ้อมอกแม่ และเล่มที่ 15
วิเชียร
น้องชายเล็กในกลุ่มสามพราหมณ์ เป็นนักรบที่ใช้อาวุธ "ระเบิด" ที่สร้างขึ้นเอง ไม่ถูกกับศรีสุวรรณ เป็นมือสังหาร สามารถยิงธนูได้ทีละ 7 ดอก
โมรา
พี่ชายคนรองในกลุมสามพราหมณ์ มีความเฉลียวฉลาด และสุขุมเยือกเย็นที่สุด ใช้เวทมนตร์สายไม้ และเสกเรือได้ เป็นศิษย์เก่าของมาสเตอร์หยาง
สานน
พี่ชายคนโตในกลุ่มสามพราหมณ์ ใช้เวทมนตร์สายน้ำ เป็นอดีตนักเรียนสำนัก Dark Moon
ท้าวทศวงศ์
พระบิดาของแก้วเกษรา กษัตริย์แห่งนครโรมจักร
ท้าวอุเทน
ผู้หมายปองแก้วเกษรา เพราะรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ "จิตรา" หญิงคนรักในอดีตถูกสังหารด้วยน้ำมือของตนเองในขณะใช้เวทย์อัญมณี เป็นคนใจร้อน และยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
แก้วเกษรา
องค์หญิงแห่งนครโรมจักร เป็นคนรักของศรีสุวรรณ และเป็นที่หมายปองของท้าวอุเทน
นางผีเสื้อสมุทร
อสูรระดับจักรพรรดิ ผู้ปกครองน่านน้ำทั้งมวล กำเนิดจากดวงวิญญาณหญิงสาว 500 ดวง ที่เต็มเปี่ยมด้วยความแค้น แต่โหยหาความรักอย่างที่สุด เพราะต้องตายทั้งที่ยังไม่รู้จักความรัก มีแกนกลางเป็นมนุษย์กึ่งเทพ ชื่อว่า ซีบิล เป็นมารดาของสินสมุทร
สินสมุทร
โอรสของอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร เกิดมาจากการปฏิสนธิภายในร่างกายของนางผีเสื้อสมุทรซึ่งเป็นการรวมกันของดวงจิตของอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร จึงเป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งปิศาจ มีพลังมหาศาล แต่ในวัยเยาว์ขาดความรัก ความอบอุ่นจากผู้เป็นแม่จึงได้รักอภัยมณีที่เปรียบเสมือนเป็น "หมั่มมะ" คนแรก (ความจริงเป็นพ่อ) และสุวรรณมาลี พระราชธิดาแห่งเมืองผลึกเป็น "หมั่มมะ" คนที่สอง
ไมร่า
นางเงือกหัวหน้ากองโลมา ผู้พาอภัยมณีหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เป็นธิดาของยูรอส ราชาเผ่าเงือก และเป็นมารดาของสุดสาคร
ยูรอส
ราชาเผ่าเงือก บิดาของไมร่า คู่อริของคราเคน สาเหตุเพราะคราเคนสังหารภรรยาของตน ถูกมาดิ๊บฆ่าตาย
ท้าวสิลราช
กษัตริย์แห่งเมืองผลึก พระบิดาของสุวรรณมาลี
สุวรรณมาลี
พระราชธิดาของท้าวสิลราช ซึ่งพระอภัยมณีเป่าปี่บอกทางให้เข้ามาในเกาะแก้วพิสดาร แอบหลงรักอภัยมณี และยอมรับเป็น "หมั่มมะ" ให้กับสินสมุทร
ผู้วิเศษเกาะแก้ว
ผู้วิเศษที่อยู่บนเกาะแก้วพิสดาร เป็นคนช่วยอภัยมณี สินสมุทร และไมร่าไว้
บาซีร์
ธาตุสายฟ้า เจ้าสำนักเวทมนตร์ Dark Moon จอมเวทย์อัจฉริยะคู่อริของสานนตั้งแต่เด็กๆ ภายหลังสูญเสียสติกับพลังเวทมนตร์ให้แก่อสูรผีเสื้อคนคู่เกือบทั้งหมด กลายเป็น "ชีเปลือย"
สุหรั่ง
เจ้าแห่งโจรสลัด มีหมวกโพไซดอนที่แข็งแกร่ง แต่แท้จริงเป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับตระกูลคัลลิสโต้เท่านั้น (ปรากฏตัวในภาครุ่งอรุณแห่งโจรสลัด)
วาลี (มาลาตี)
หัวหน้าหน่วย ดาร์ค วัลคีรี ของอุศเรน เป็นผู้ครอบครองกุญแจบัคตูซึ่งสามารถเปิดประตูมิติได้ แยกตัวออกมาจากอุศเรนเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เคยมีอดีตที่ขมขื่นกับความรัก จึงทำให้เป็นคนที่แข็งกร้าว

ตัวละครที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่[แก้]

โจอี้
มอนสเตอร์ประหลาดที่สามารถแปลงร่างเป็นอะไรก็ได้ (แต่ไม่สมบูรณ์)
แม่ทัพพลอินทร์
แม่ทัพหนุ่มใหญ่แห่งนครรัตนาผู้เปี่ยมประสบการณ์ มีพฤติกรรมกึ่งๆ ระหว่างธรรมมะ และอธรรม
เฮลมุท
ขุนพลเอกของท้าวอุเทน มีเวทมนตร์สายควบคุมแมลง นิสัยเหี้ยมโหด พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศรีสุวรรณ
จิตรา
หญิงคนรักของท้าวอุเทน มีรูปร่างหน้าตาเหมือนแก้วเกษรามาก เธอได้ช่วยชีวิตเขาไว้เมื่อครั้งที่เขายังอยู่ในวัยหนุ่ม ซึ่งได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการค้นหาอัญมณีในตำนาน แต่สุดท้ายเธอกลับต้องตายด้วยน้ำมือของท้าวอุเทนที่อยู่ในสภาพไร้ความทรงจำอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้เวทย์อัญมณี
พาณุ
หลานชายของราชครูแห่งนครรัตนา เป็นสหายของพระอภัยมณี เชี่ยวชาญในการประดิษฐ์สิ่งของแปลกๆ
ธอร์
นักรบเผ่าอสูรปักษา มีความแค้นกับท้าวอุเทนที่จับลูกสาวตนเองไปเป็นตัวประกัน ทำให้เขาต้องยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของท้าวอุเทนอย่างจนใจ
มาคี
หัวหน้ากองฉลาม เพื่อนสนิทตั้งแต่วัยเด็กของไมร่า หลงรักไมร่า แต่ไม่กล้าบอก
กัปตันจอห์น
กัปตันเรือที่ต่อกรกับกองทัพของนางผีเสื้อสมุทร ได้รับการช่วยเหลือจากมาคี และรับมาคีไว้เป็นบุตรบุญธรรม เสียชีวิตในการต่อสู้กับนางผีเสื้อสมุทรที่ปะรำจันทรา
คราเคน
อสูรพรายน้ำ แม่ทัพใหญ่ของกองทัพนางผีเสื้อสมุทร เป็นคู่แค้นของยูรอส เพราะเคยเสียแขนให้กับภรรยาของยูรอสจนต้องสังหารนาง
อีกอร์
เงือกผู้ทรยศเผ่าของตนเอง และแปรพักตร์มาเป็นสาวกของนางผีเสื้อสมุทร
มาสเตอร์หยาง
อาจารย์ของโมรา สะกดอสูรผีเสื้อคนคู่ไว้ในแขนซ้ายของตน
ชีซี
ลูกศิษย์ของมาสเตอร์หยาง อยู่กับมาสเตอร์หยางตลอดเวลา แค้นเคืองโมราเพราะเป็นต้นเหตุเรื่องอสูรคนคู่ แต่ก็แอบมีใจให้กับโมราอยู่
มาล็อก
หัวหน้ากองแมงกะพรุน เผ่าเงือก เป็นเพื่อนในวัยเด็กของไมร่า และมาคี
ราดิช
หัวหน้ากองฉลามวาฬ เสียแขนไปหนึ่งข้างจากการปะทะกับนางผีเสื้อสมุทรร่างแยก
นาร์ดัส
หัวหน้ากองปลาหมึกยักษ์ เป็นพี่ชายของอีกอร์
ไซคี
หัวหน้ากองปลาฉนาก มีความสัมพันธ์กับไมร่าเสมือนเป็นพี่สาว
มาดิ๊บ
หัวหน้ากองปลาไหลหมาป่า แปรพักตร์มาเป็นสมุนของคราเคน เพื่อแลกกับการสังหารยูรอสและขึ้นเป็นราชา ถูกไมร่าฆ่าตาย
เบแลม
ธาตุลม เจ้าสำนักเวทมนตร์ Storm Raider เสียชีวิต
เพเนดุค
ธาตุโลหะ เจ้าสำนัก Holy Steel เสียชีวิต
วีโนน่า
ธาตุน้ำ เจ้าสำนัก Purple Stream เสียชีวิต
โฮลอน
ธาตไฟ เจ้าสำนัก Gate of Fire เสียชีวิต
ซามวล
ธาตุดิน เจ้าสำนักเวทมนตร์ Earth Guard เสียชีวิต
วัลคารีม
เทพปักษาแห่งเผ่าวาหุโลมเกิดจากการรวมร่างของธอร์ และศรีสุวรรณ ต่อสู้กับคราเคน
ซีบิล
หลานสาวมหาปุโรหิตแห่งนครปักกา มีเชื้อสายมนุษย์กึ่งเทพ เป็นแกนกลางของดวงวิญญาณที่รวมกันเป็นผีเสื้อสมุทร มีจิตวิญญาณที่กล้าแข็งมาก และนับเป็นหญิงคนแรกของอภัยมณี
บีทริช
หนึ่งในดวงวิญญาณที่รวมกันเป็นผีเสื้อสมุทร เป็นเด็กสาวในหมู่บ้านเล็กๆ ในนครปักกา
มิคาเอล
ชายคนรักของบีทริช พยามช่วยบีทริชให้รอดจากการสังเวย แต่ไม่สำเร็จ
กุนนาร์
ปุโรหิตแห่งนครปักกา ผู้ล่วงรู้ศาสตร์แห่งการสร้างเทพเจ้า จึงสั่งให้สังเวยหญิงสาวพรหมจรรย์ 500 คนแก่ น้ำวน คาริบดิส ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณหญิงพรหมจรรย์ เป็นวิญญาณที่สะอาดที่สุด
อสูรผีเสื้อคนคู่
อสูรผู้แข็งแกร่ง เชื่อมั่นในตนเอง มี 2 ใบหน้า 2 ดวงจิตในร่างเดียวกัน เป็นชาย และหญิง
มินาร์
ลูกศิษย์ของผู้วิเศษเกาะแก้วพิสดาร ร่วมเดินทางไปกับอภัยมณี
อังกุหร่า
กัปตันของเหยี่ยวทะเล อยู่ใต้อาณัติของสุหรั่ง รักอิสระเสรีเหนืออื่นใด เนื่องจากเคยมีอดีตที่ขมขื่นมาก่อน จึงได้ออกทะเลมาเป็นโจรสลัด (ปรากฏตัวในภาครุ่งอรุณแห่งโจรสลัด)
มอนเทก้า
ฉลามเหล็กผู้ได้รับพลังจาก เอเลเมนท์ ไทด์ เป็น 1 ใน 4 ขุนพลของสุหรั่ง ได้ต่อสู้กับสินสมุทร และพ่ายแพ้ให้แก่สินสมุทร เป็นกัปตันแก๊งโจรสลัดฉลามเหล็ก อาหาร คือแคลิ่งฟิชชิ่ง มีโซล กับ โบน เป็นมือขวา และซ้ายที่อยู่ในระดับเดียวกัน
เซอร์บิรุส
1 ใน 4 ขุนพลของสุหรั่ง ปรากฏตัวในเล่มที่ 5 ภาคที่ 2 เป็นกัปตันเรือฮาเดส แต่ฐานะที่แท้จริงคือบุตรคนสุดท้องของตระกูลคัลลิสโต้ ซึ่งเป็นใหญ่ในน่านน้ำ 7 คาบสมุทร มีชื่อจริงว่า ร็อกแซนด์
โซล
สมุนมือขวาของมอนเทก้า ถึงจะไม่เก่งเท่ามอนเทก้า สามารถสร้างดาบจากเลือดของตนได้ และสามารถดูดกลืนเลือดของคนอื่นคล้ายกับคิลลิ่งฟิชของมอนเทก้า
โบน
สมุนมือซ้ายของมอนเทก้า ทรยศมอนเทก้า และจะลอบสังหารแต่ผิดพลาด จึงถูกสาปให้กลายเป็นบรีฟ
ไบโตล่าห์
จอมขมังเวทย์ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลตระกูลคัลลิสโต้ ถูกการ์นัคฆ่าตายแล้วสวมรอยแทน
โรซานน์
ขุนพลคนที่ 1 ใน 4 ขุนพล เป็นคนที่มีความแข็งแกร่ง เป็นผู้นำและเป็นอัจฉริยะทางด้านวิชสายอัลเคมิสต์ธาตุสายฟ้า ฐานะที่แท้จริงคือพี่ชายคนโตของตระกูลคัลลิสโต้
เคียชา
คู่ปรับของวาลี เพราะหลงรักอุศเรน จึงได้พยายามเข้ามาเป็นดาร์ค วัลคีรี หลังจากวาลีแยกตัวออกไปจากอุศเรน เธอก็ได้ขึ้นเป็นหัวหน้าหน่วยดาร์ค วัลคีรีแทน พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับวาลี และเสียชีวิตจากการใช้เวทย์แมลงพิษสังหาร
โรมุนด์ (หมวกโพไซดอน)
พี่ชายคนรองของตระกูลคัลลิสโต้ มีความเชียวชาญทางด้านการทหารสูงมาก เสียชีวิตในการรบกับตระกูลเมอร์ดิซี่ ปัจจุบันกลายเป็นเทพจากการได้รับพลังของเนยิร์ด
โจน่าห์
เด็กชายลึกลับที่ปรากฏตัวพร้อมกับเซอร์บิรุส เป็นเด็กหัวอ่อน แม้จะดูขี้ขลาด แต่จริงๆ แล้วมีความกล้าหาญมากทีเดียว แท้ที่จริงแล้วเป็นร่างที่ถูกสร้างขึ้นตามต้นแบบคือโรมุนด์ในวัยเด็ก เพื่อเป็นดัมมี่สำหรับการถือกำเนิดใหม่ของโรมุนด์ซึ่งมีอยู่มากมายหลายร่าง แต่โจน่าห์ถือเป็นดัมมี่ที่สมบูรณ์ที่สุด
การ์นัค
บุรุษผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอังกุหร่า และสุหรั่ง เขาสังหารไบโตล่าห์ และเข้าสวมรอยแทน มีความเชี่ยวชาญทางด้านเวทมนตร์เนโครมานเซอร์สูง สามารถนำเอาผู้ที่ตายแล้วมาใช้งานในสภาพซอมบี้กระหายเลือดได้ ฐานะที่แท้จริงคือทายาทของกุนนาร์ ปุโรหิตแห่งนครปักกาที่ล่มสลาย

อ้างอิง[แก้]

  1. นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. การ์ตูนที่ัรัก. อภัยมณีซาก้า ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับความแตกต่าง. มติชนสุดสัปดาห์. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1660. วันที่ 8-14 มิถุนายน พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8196. หน้า 70-71

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]