รายงานอาหาร โภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการป้องกันมะเร็ง: ทัศนมิติโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายงานอาหาร โภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการป้องกันมะเร็ง: ทัศนมิติโลก[1] (อังกฤษ: Food, Nutrition, Physical Activity and the Prevention of Cancer: a Global Perspective) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รายงานผู้เชี่ยวชาญ (อังกฤษ: Expert Report) เป็นรายงานปี 2550 ที่ตีพิมพ์โดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund ตัวย่อ WCRF) และสมาคมการวิจัยมะเร็งนานาชาติ (Association for International Cancer Research ตัวย่อ AICR) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งทบทวนหลักฐานทั้งหมดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งกับอาหาร การออกกำลังกาย และไขมันในร่างกาย แล้วให้ข้อแนะนำ 10 อย่างในการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

ผลการสืบค้น[แก้]

ผลการสืบค้นทั่วไปของรายงานก็คือว่า บุคคลสามารถลดความเสี่ยงต่อมะเร็งโดยการรับประทานอาหารให้ถูกสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นปกติ และธำรงน้ำหนักกายให้เหมาะสม รายงานแสดงว่า ไขมันร่างกายสัมพันธ์กับมะเร็งอย่างมีกำลังกว่าที่เคยคิดมาก่อน[2]

คณะทำงานให้คำแนะนำ 10 อย่างเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง คือ

  1. ให้ดำรงความผอม - ให้ผอมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในพิสัยของน้ำหนักที่ปกติ[3]
  2. ให้ออกกำลังกาย (Physical Activity) - ให้มีกิจกรรมอย่างไม่อยู่เฉย ๆ โดยเป็นส่วนของชีวิตประจำวัน เพราะว่า มีรายงานว่าการออกกำลังกายเป็นปกติจะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ และฮอร์โมนบางอย่างถ้าอยู่ในระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง นอกจากนั้นแล้ว การออกกำลังกายยังสามารถช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า บุคคลควร "ตั้งเป้าหมายเพื่อจะมีกิจกรรมออกกำลังพอสมควรเป็นเวลา 60 นาทีหรือมากกว่านั้น และกิจกรรมที่ออกกำลังอย่างแข็งขันเป็นเวลา 30 นาทีหรือมากกว่านั้น"[4]
  3. จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มน้ำหนัก - คือให้จำกัดบริโภคอาหารมีพลังงานสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ๆ แม้ว่าการหลีกเลี่ยงการบริโภคแคลอรีเป็นเรื่องที่ยากเมื่อควบคุมน้ำหนัก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญมากในการลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตมามาก (คืออาหารสำเร็จรูป) มักจะมีน้ำตาลและไขมันมากกว่า เพราะว่า การผลิตมักจะเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้มีระดับแคลอรีสูงขึ้น การเช็คขนาดและปริมาณการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแต่ละวันมักจะช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง และอาหารที่มีอัตราแคลอรีต่ำมักจะมีใยอาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ[5]
  4. ทานอาหารจากพืช - ให้รับประทานอาหารจากพืชโดยมาก โดยบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และถั่ว อาหารเหล่านี้มีใยอาหารมากและสารอาหารมากซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง[6]
  5. จำกัดเนื้อสัตว์ - ให้จำกัดการบริโภคเนื้อแดง (คือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงเมื่อดิบ [red meat] เช่นเนื้อวัว หมู หรือแกะ) และหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต เช่น แฮม เบคอน ฮอตดอก และไส้กรอก (หรือกุนเชียง) เพื่อที่จะลดความเสี่ยงมะเร็ง บุคคลไม่พึงบริโภคเนื้อเนื้อแดงเกินครึ่งกิโล (เมื่อสุก) ต่ออาทิตย์ เนื้อมีสีแดงก็เพราะมีธาตุเหล็ก (ประเภท Heme) และถ้าบริโภคเป็นจำนวนมาก ก็สามารถจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ได้ และเนื้อที่ผ่านกระบวนการกันเน่า เช่น การอบควัน การหมักเกลือ เป็นต้น ก็มีหลักฐานแล้วว่ามีสารก่อมะเร็ง[7]
  6. จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่นเหล้าหรือเบียร์) ให้จำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ AICR แม้ว่าจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง แต่ก็ให้ข้อสังเกตว่า การดื่มจำนวนน้อยอาจมีผลดีในการลดการเกิดของโรคหัวใจ ชายและหญิงควรจะจำกัดการดื่มให้เหลือเพียง 2 และ 1 แก้วต่อวันตามลำดับ แต่ว่าเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หลักฐานก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงนัยว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งบางประเภท ซึ่งรวมทั้งมะเร็งคอหอย กล่องเสียง และหลอดอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานศึกษาที่แสดงนัยว่า การเว้นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย[8]
  7. จำกัดเกลือ - ให้จำกัดการบริโภคเกลือให้น้อยกว่า 2.4 กรัมต่อวัน เพราะว่า ระดับเกลือที่สูงพบว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร ตามรายงานนี้ "คนโดยมากในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันบริโภคเกลือเกิน 2.4 กรัมต่อวัน" และร่างกายความจริงก็ต้องการเกลือน้อยกว่านี้ แม้ว่าอาหารโดยมากจะมีเกลือสูงแต่ก็อาจจะไม่รู้สึกเค็ม ดังนั้นก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร รายงานแนะนำว่า ให้เช็คปริมาณเกลือในอาหารกระป๋องก่อนที่จะซื้อมาบริโภค แม้แต่อาหารประเภทธัญพืชและอาหารสำเร็จรูปก็ควรจะเช็คเช่นกัน[9]
  8. ไม่ใช้อาหารเสริมโดยมาก - ควรตั้งใจให้ได้สารอาหารครบ (เช่นวิตามินและแร่ธาตุ) โดยการบริโภคอาหารอย่างเดียว ไม่ควรใช้อาหารเสริมเพื่อป้องกันมะเร็ง เพราะว่า การใช้อาหารเสริมในระดับสูงมีผลต่าง ๆ กันต่อความเสี่ยงมะเร็ง และมีงานวิจัยที่แสดงว่าอาหารเสริมอาจจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล แม้ว่าจะต้องมีงานศึกษาเพิ่มในเรื่องนี้ ให้สังเกตว่ามีบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่อาจได้ประโยชน์จากการใช้อาหารเสริม เช่น หญิงที่ต้องการมีครรภ์ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็ก ๆ และคนชราบางพวก[10]
  9. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ให้แม่ให้นมลูก ให้ลูกดื่มนมของแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนแล้วจึงค่อยเพิ่มอาหารอย่างอื่น เพราะว่า การให้นมลูกช่วยป้องกันแม่จากโรคมะเร็งเต้านม และช่วยป้องกันทารกไม่ให้มีน้ำหนักเกินซึ่งอาจจะนำไปสู่ความอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง[11]
  10. ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งให้ทำตามข้อแนะนำทั้ง 10 อย่าง เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง [12]

การตีพิมพ์รายงาน[แก้]

รายงานใช้เวลา 6 ปีในการทำ และเชื่อว่าเป็นรายงานที่ละเอียดครอบคลุมที่สุดที่เคยมี[13] เมื่อเริ่มงาน ผู้ทำงานได้พบงานศึกษาที่เกี่ยวกับประเด็นถึง 500,000 งานแล้วต่อมาจึงกลั่นกรองจนเหลือ 22,000 งาน และในที่สุด ก็เหลืองานเพียงแค่ 7,000 งานที่ผู้ทำงานพิจารณาว่า เป็นงานที่ตรงประเด็นและผ่านเกณฑ์คุณภาพเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็ง[14] แล้วจึงยื่นข้อมูลต่อคณะผู้เชี่ยวชาญผู้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก 21 คน ที่ได้ทบทวนหลักฐานแล้วเสนอข้อแนะนำ 10 อย่างเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง[14]

อิทธิพล[แก้]

นิตยสารวิทยาศาสตร์ New Scientist เรียกรายงานนี้ว่า "เป็นหลักสำคัญในการเข้าใจเรื่องอาหารและมะเร็งของเรา"[15] ส่วนหนังสือพิมพ์ The Economist เรียกรายงานว่า "เป็นงานศึกษาที่แม่นยำกวดขันที่สุดจนบัดนี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหาร การออกกำลังกาย และโรคมะเร็ง"[16] ในสหราชอาณาจักร รายงานนี้เป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ระดับชาติถึง 6 ฉบับ รวมทั้ง เดอะไทมส์ ซึ่งเรียกข้อแนะนำของรายงานว่า "กฎใหม่เพื่อปราบมะเร็ง"[17] เป็นรายงานที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารวิชาการที่มีชื่อเสียงเช่น British Medical Journal และในรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อเตรียมโครงสร้างนโยบายอาหารของรัฐบาล[18]

แต่ก็มีปฏิกิริยาลบต่อรายงานเหมือนกัน เช่น หนังสือพิมพ์ The Sun (ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทำนองตื่นเต้นเป่าข่าวที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร) ได้พิมพ์บทความโดยจ่าหัวว่า "ช่วยพิทักษ์เบคอนของเราด้วย (Save our Bacon)"[19] โดยเป็นปฏิกิริยาต่อคำแนะนำให้เว้นการรับประทานเนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิต และหนังสือพิมพ์ Daily Mail (ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทำนองตื่นเต้นเป่าข่าวที่ใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นเว็บต้องห้ามในประเทศไทย) ลงบทความที่แนะนำให้ผู้อ่าน "อย่าไปสนใจไอ้พวกปล่อยข่าวให้น่าตกอกตกใจพวกนี้"[20]

แต่ว่า ผู้อำนวยการของโปรเจ็กต์ตอบว่า "ข้อแนะนำขอเรามีมูลฐานจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มี เป็นข้อแนะนำ ไม่ใช่ข้อบังคับ จุดประสงค์ของพวกมันก็เพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนที่จำเป็นในการเลือกการตัดสินใจที่รอบรู้"[21] ส่วนองค์กรการกุศล Cancer Research UK ตอบว่า "มันจะเป็นเรื่องไร้ความผิดชอบอย่างร้ายแรงสำหรับองค์กรการกุศลเช่น Cancer Research UK หรือ WCRF ถ้าไม่กล่าวถึงสิ่งที่เรารู้ว่าทำให้คนมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็ง"[22]

รายงานได้มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในสหราชอาณาจักรด้วย บริษัทการตลาด YouGov ได้รับว่าจ้างจาก WCRF ให้ทำงานสำรวจปีหนึ่งหลังจากที่ออกรายงาน แล้วพบว่า ตั้งแต่การออกรายงาน คน 23% ได้พยายามที่จะรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นโดยเป็นผลของรายงาน คน 18% พยายามดูแลเรื่องน้ำหนัก และ 18% พยายามออกกำลังกายมากขึ้น[23]

แต่ในเดือนพฤษภาคม 2552 ศ.เภสัชวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนผู้มีชื่อเสียงในการแฉวิทยาศาสตร์เทียม ได้วิพากษ์วิจารณ์ในบล็อกของเขา คือ "Improbable Science (วิทยาศาสตร์ที่ไม่น่าเป็นไปได้)"[24] คือ เขาได้ตั้งความสงสัยในข้อสรุปของรายงานถึงการมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า เนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเป็นเหตุของมะเร็ง โดยอ้างว่า แม้ว่างานศึกษาที่ใช้ในรายงานจะแสดงค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตกับการเพิ่มอุบัติการณ์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ว่า "มีสหสัมพันธ์กันไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุ"

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

    • "nutrition; threpsis", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) โภชนาการ
    • "activity", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การงาน, กิจกรรม
    • "Perspective", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (วิทยาศาสตร์) ทัศนมิติ
  1. "'Direct link' between cancer and obesity". The Independent. October 31, 2007.
  2. "1. Be as lean as possible without becoming underweight". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  3. "2. Be physically active for at least 30 minutes every day. Physical activity in any form helps to lower cancer risk. Aim to build more activity, like brisk walking, into your daily routine". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  4. "3. Avoid sugary drinks. Limit consumption of energy-dense foods (particularly processed foods high in added sugar, or low in fiber, or high in fat)". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  5. "4. Eat more of a variety of vegetables, fruits, whole grains and legumes such as beans. Basing our diets on plant foods (like vegetables, fruits, whole grains and legumes such as beans), which contain fiber and other nutrients, can reduce our risk of cancer". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  6. "5. Limit consumption of red meats (such as beef, pork and lamb) and avoid processed meats. To reduce your cancer risk, eat no more than 18 oz. (cooked weight) per week of red meats, like beef, pork and lamb, and avoid processed meat such as ham, bacon, salami, hot dogs and sausages". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  7. "6. If consumed at all, limit alcoholic drinks to 2 for men and 1 for women a day. For cancer prevention, AICR recommends not to drink alcohol. However, our expert report recognizes that modest amounts of alcohol may have a protective effect on coronary heart disease. If you do drink alcohol, limit your consumption to no more than two drinks a day for men and one drink a day for women". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  8. "7. Limit consumption of salty foods and foods processed with salt (sodium). Consuming too much salt can be harmful to our health, increasing our risk of stomach cancer as well as high blood pressure". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  9. "8. Don't use supplements to protect against cancer. To reduce your risk of cancer, choose a balanced diet with a variety of foods rather than taking supplements". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  10. "9. It is best for mothers to breastfeed exclusively for up to 6 months and then add other liquids and foods. Evidence shows that breastfeeding can help protect mothers from breast cancer. It also protects babies from excess weight gain that can lead to their being overweight in adult life. And overweight adults have higher cancer risk". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  11. "10. After treatment, cancer survivors should follow the recommendations for cancer prevention. Anyone who has received a diagnosis of cancer should receive specialized nutritional advice from an appropriately trained professional. Once treatment has been completed, if you are able to do so (and unless otherwise advised), aim to follow our cancer prevention recommendations for diet, physical activity and healthy weight maintenance". Recommendations for Cancer Prevention. AICR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  12. "Be thin to cut cancer, study says". BBC News. October 31, 2007.
  13. 14.0 14.1 "Our cancer prevention report". WCRF UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2014.
  14. New Scientist, Nov 1, 2007
  15. "To avoid the Big C, stay small". The Economist. November 1, 2007.
  16. "The new rules for defeating cancer". The Times. November 1, 2007.
  17. "Food Matters" (PDF). Cabinet Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 29, 2008. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  18. "Save our bacon". The Sun Online. May 6, 2015.
  19. "'Ignore these scaremongers - I'm not giving up my bacon butties!'". MailOnline. November 1, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2008.
  20. "Cancer and the bacon sarnie". Independent. November 13, 2007.
  21. "Reaction to the World Cancer Research Fund report". Cancer Research UK. 2008-01-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2008.
  22. "More than one in ten cut down on bacon after World Cancer Research Fund report". The Telegraph. April 29, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2011.
  23. Colquhoun, David (May 2009). "Diet and health. What can you believe: or does bacon kill you?". Improbable Science Blog.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]