ข้ามไปเนื้อหา

รายการสวาเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายการสวาเดช (อังกฤษ: Swadesh list) เป็นแนวคิดเบื้องต้นสากลในการรวบรวมสถิติการใช้คำศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีรูปแบบ แนวคิด และความหมายที่เหมือนกัน และปรากฏอยู่ในทุกภาษา เช่น ดาว มือ น้ำ ฆ่า นอน และอื่นๆ โดยจำนวนเงื่อนไขดังกล่าวมีไม่มากนัก สูงสุดเพียงไม่กี่ร้อยคำหรืออาจจะน้อยกว่าร้อยคำก็ได้ รายการสวาเดช ตั้งชื่อตาม มอร์ริส สวาเดช (อังกฤษ: Morris Swadesh) นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน

ในการแปลรายการสวาเดชเป็นภาษาชุดหนึ่งทำให้ผู้วิจัยทาภาษาศาสตร์สามารถวัดความสัมพันธ์กันของภาษาเหล่านั้นได้ (ตระกูลภาษา) สามารถประเมินความสัมพันธ์ทางลำดับวงศ์ตระกูลของภาษาในศัพทสถิติ (Lexicostatistics) และการศึกษาลำดับกาลของภาษานั้น ๆ (Glottochronology)

การรวบรวม

[แก้]

มอร์ริส สวาเดช ได้ทำการรวบรวมศัพท์ในราการของเขาอยู่หลายครั้ง โดยในปี 1950 สวาเดชได้เริ่มต้นรวบรวมเอาไว้ 215 รายการ[1] แล้วเผยแพร่ในปี 1952[2] แต่ต่อมาก็ได้ตัดคำที่มีความหมายที่ไม่มีความหมายเดียวกันในทุกภาษาออกถึง 16 รายการำ แล้วเพิ่มอีกรายการเข้าไปแทน ในตอนนี้ในรายการจึงมีอยู่ 200 รายการ ในปี 1955 สวาเดชได้เขียนเอาไว้ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมว่า “วิธีแก้ปัญหาเดียวที่ดูเหมือนจะทำได้คือการกำจัดรายการออกอย่างสิ้นเชิง โดยตระหนักว่าคุณภาพมีความสำคัญอย่างน้อยเท่ากับปริมาณ รายการใหม่นี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงข้อบกพร่องเล็กน้อยและมีจำนวนน้อย”[3] รายการในฉบับสุดท้ายมี 100 รายการ ถูกตีพิมพ์ขึ้นหลังจากที่สวาเดชเสียชีวิตแล้วในปี 1971[4] และ 1972 (สวาเดช เสียชีวิตในปี 1967)

การรวบรวมรายการคำศัพท์นี้ก็ได้มีผู้ที่รวบรวมในลักษณะนี้อยู่หลายคน เช่น โรเบิร์ต ลีส์ (อังกฤษ: Robert Lees) (1953) เดลล์ ไฮมส์ (อังกฤษ: Dell Hymes) (1960:6) ลีโอเนล เบนเดอร์ (อังกฤษ: Lionel Bender) (1969) เซอร์เกย์ สตารอสติน (รัสเซีย: Серге́й Ста́ростин, อักษรโรมัน: Sergei Starostin) (1984) หวาง ซื่อหยวน (จีน: 王士元, อักษรโรมัน: Shi-Yuan Wang) (1994) เป็นต้น ส่วนเวอร์ชันที่พบใช้บ่อยและค้นหาได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต เป็นเวอร์ชันของอิซิดอร์ ไดเอ็น (อังกฤษ: Isidore Dyen) (1992) โดยมีคำทั้งหมด 200 รายการ ใน 95 ภาษา และมีความพยายามในการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2010[5]

คอนเซ็ปติคอน (Concepticon) ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สทางภาษาศาสตร์ของสถาบันธรณีมานุษยวิทยามักซ์พลังค์ ได้รวบรวมรายการแนวคิดต่างๆ (รวมถึงรายการสวาเดชแบบคลาสสิก) จากพื้นที่ทางภาษาและยุคสมัยที่แตกต่างกันไว้ในโครงการข้อมูลเชื่อมโยงข้ามภาษา (CLLD) โดยขณะนี้แสดงรายการแนวคิดที่แตกต่างกัน 240 รายการ[6]

หลักการ

[แก้]

ในช่วงแรก คำศัพท์ในรายการสวาเดชจะถูกเลือกจากคำศัพท์ที่เป็นสากล เป็นอิสระทางวัฒนธรรม พร้อมใช้งานได้หลายภาษาเท่าที่เป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงความคงที่ทางภาษา (stability) อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์โดยผู้เขียนจำนวนมากมองว่าความคงที่ทางภาษาอาจมีความสำคัญในการศึกษาพัฒนาการทางภาษาเพื่อดูว่าในแต่ละช่วงเวลา ภาษานั้น ๆ มีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด[7]

รายการสวาเดชรวบรวมโดย มอร์ริส สวาเดช บนพื้นฐานของสัญชาตญาณของเขา แม้ในรายการอื่น ๆ ที่มีการรวบรวม เช่น รายการของโดลโกโปลสกี (Dolgopolsky list; 1964) หรือ รายการไลพ์ซิช-จาการ์ตา (Leipzig–Jakarta list; 2009) จะมีพื้นฐานมาจากข้อมูลเชิงระบบจากหลายภาษา แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันแพร่หลายเท่ารายการสวาเดช

การใช้ในศัพทสถิติและการศึกษาลำดับกาลของภาษา

[แก้]

รายการทดสอบทางศัพทสถิติใช้ในศัพทสถิติเพื่อกำหนดกลุ่มย่อยของภาษาและในการศึกษาลำดับกาลของภาษาเพื่อ "ระบุช่วงเวลาสำหรับจุดที่ภาษาได้แตกแขนงออกไป"[8] หน้าที่ของความจำกัด (และการนับจำนวน) ของคำที่มีรากศัพท์เดียวกันในรายการนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และมักเกิดการโต้แย้ง เนื่องจากคำที่มีรากศัพท์เดียวกันไม่จำเป็นต้องดูคล้ายกัน และการจดจำคำที่มีรากศัพท์เดียวกันนั้นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับกฎการกลายเสียง (Sound Laws) ของภาษานั้น ๆ

100 รายการของต้นฉบับสุดท้าย

[แก้]

รายการสวาเดช ฉบับสุดท้าย ตีพิมพ์ในปี 1971 มีทั้งหมด 100 รายการ คำอธิบายของคำศัพท์เหล่านี้สามารถพบได้ในฉบับปี 1952 หรือที่ทำเครื่องหมายด้วยมีดสั้น (†) ในฉบับปี 1955 การเรียงลำดับคำนั้นคำนึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และและธรรมชาติมากกว่าเรียงลำดับตามตัวอักษร

ในฐานข้อมูลสถิติคำศัพท์ระดับโลกของ EHL ซึ่งมีคำทั้งหมด 110 คำ โดยใช้ 100 รายการ จากรายการสวาเดชดั้งเดิม บวกอีก 10 รายการำ จากรายการสวาเดช-ยาคอนตอฟ[9]

สำหรับบทความนี้ในวิกิพีเดียภาษาไทย จะจัดทำเป็นตารางโดยแสดงคำเป็นภาษาอังกฤษ และคำแปลภาษาไทย เพื่อแสดงถึงว่าหนึ่งความหมาย สามารถมีคำที่ใช้มากกว่าหนึ่งคำ ซึ่งจะทำให้เข้าใจว่าทำไมจึงใช้ลักษณนามเป็นคำว่า "รายการ" แทนที่คำว่า "คำ"

  1. ในปี 1952 รวมคำว่า thou และ ye ด้วย
  2. ในปี 1955 เป็นคำในบริบทความหมายโดยรวม
  3. ในปี 1971 ไม่มีเครื่องหมาย "?"
  4. ในปี 1971 ไม่มีเครื่องหมาย "?"
  5. ในปี 1952 หมายถึงของมนุษย์
  6. ในปี 1952 หมายถึงเนื้อ, เลือดเนื้อ
  7. ในปี 1952 หมายถึงไขมัน, สารอินทรีย์
  8. หมายถึงเขาของสัตว์ ไม่ปรากฎในปี 1952
  9. คำว่า "Claw" ถูกเพิ่มเข้ามาในปี 1955 เท่านั้น แต่ก็ถูกแทนที่ด้วยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงหลายคนด้วยคำว่า (finger)nail (เล็บมือ) เพราะสำนวนสำหรับคำว่า "กรงเล็บ" ไม่พบเห็นการใช้ในภาษาเก่าที่สูญพันธุ์หรือภาษาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก
  10. ไม่ปรากฎในปี 1952
  11. ในปี 1955 สะกดว่า "breast"
  12. ไม่ปรากฎในปี 1952
  13. ในปี 1952 ระบุเป็นคำกริยา
  14. ในปี 1952 ใช้คำว่า "road, trail"
  15. ในปี 1952 หมายถึงความอบอุ่น (warm), ลักษณะอากาศ (of weather)
  16. ไม่ปรากฎในปี 1952

รายการสวาเดช 207 คำ

[แก้]

ในทุกวันนี้รายการสวาเดชที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ทั้งหมด 207 รายการ ซึ่งดัดแปลงมาจากฉบับตีพิมพ์ในปี 1952[2]

ในวิกิพจนานุกรม Panlex[10][11] และใน Palisto's "Swadesh Word List of Indo-European languages",[12] จะพบรายการดังกล่าวตามที่เห็นนี้

  1. ปัจจุบันมีความหมายว่าชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Swadesh 1950: 161
  2. 2.0 2.1 Swadesh 1952: 456–7 PDF เก็บถาวร 2023-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Swadesh 1955: 125
  4. Swadesh 1971: 283
  5. "IELex :: IELex". GitHub. March 2022.
  6. List, J.-M., M. Cysouw, and R. Forkel (2016): Concepticon. A resource for the linking of concept lists. In: Proceedings of the Tenth International Conference on Language Resources and Evaluation. 2393-2400. PDF
  7. Marisa Lohr (2000), "New Approaches to Lexicostatistics and Glottochronology" in C. Renfrew, A. McMahon and L. Trask, ed. Time Depth in Historical Linguistics, Vol. 1, pp. 209–223
  8. Sheila Embleton (1992), in W. Bright, ed., International Encyclopaedia of Linguistics, Oxford University Press, p. 131
  9. Starostin, George (ed.) 2011-2019. The Global Lexicostatistical Database. Moscow: Higher School of Economics, & Santa Fe: Santa Fe Institute. Accessed on 2020-12-26.
  10. Jonathan Pool (2016), Panlex Swadesh Lists PDF
  11. David Kamholz, Jonathan Pool, Susan Colowick (2014), PanLex: Building a Resource for Panlingual Lexical Translation PDF
  12. Palisto (2013), Swadesh Word List of Indo-European languages .

อ้างอิง

[แก้]
  • Campbell, Lyle. (1998). Historical Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press. ISBN 0-262-53267-0.
  • Embleton, Sheila (1995). Review of An Indo-European Classification: A Lexicostatistical Experiment by Isidore Dyen, J.B. Kruskal and P.Black. TAPS Monograph 82–5, Philadelphia. in Diachronica Vol. 12, no. 2, 263–68.
  • Gudschinsky, Sarah. (1956). "The ABCs of Lexicostatistics (Glottochronology)." Word, Vol. 12, 175–210.
  • Hoijer, Harry. (1956). "Lexicostatistics: A Critique." Language, Vol. 32, 49–60.
  • Holm, Hans J. (2007). "The New Arboretum of Indo-European 'Trees': Can New Algorithms Reveal the Phylogeny and Even Prehistory of Indo-European?" Journal of Quantitative Linguistics, Vol. 14, 167–214.
  • Holman, Eric W., Søren Wichmann, Cecil H. Brown, Viveka Velupillai, André Müller, Dik Bakker (2008). "Explorations in Automated Language Classification". Folia Linguistica, Vol. 42, no. 2, 331–354
  • Sankoff, David (1970). "On the Rate of Replacement of Word-Meaning Relationships." Language, Vol. 46, 564–569.
  • Starostin, Sergei (1991). Altajskaja Problema i Proisxozhdenie Japonskogo Jazyka [The Altaic Problem and the Origin of the Japanese Language]. Moscow: Nauka
  • Swadesh, Morris. (1950). "Salish Internal Relationships." International Journal of American Linguistics, Vol. 16, 157–167.
  • Swadesh, Morris. (1952). "Lexicostatistic Dating of Prehistoric Ethnic Contacts." Proceedings of the American Philosophical Society, Vol. 96, 452–463.
  • Swadesh, Morris. (1955). "Towards Greater Accuracy in Lexicostatistic Dating." International Journal of American Linguistics, Vol. 21, 121–137.
  • Swadesh, Morris. (1971). The Origin and Diversification of Language. Ed. post mortem by Joel Sherzer. Chicago: Aldine. ISBN 0-202-01001-5. Contains final 100-word list on p. 283.
  • Swadesh, Morris, et al. (1972). "What is Glottochronology?" in Morris Swadesh and Joel Sherzer, ed., The Origin and Diversification of Language, pp. 271–284. London: Routledge & Kegan Paul. ISBN 0-202-30841-3.
  • Wittmann, Henri (1973). "The Lexicostatistical Classification of the French-Based Creole Languages." Lexicostatistics in Genetic Linguistics: Proceedings of the Yale Conference, April 3–4, 1971, dir. Isidore Dyen, 89–99. La Haye: Mouton.[1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]