รายการตราแผ่นดินในประเทศสิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตารางต่อไปนี้แสดงภาพชนิดตราแผ่นดินต่าง ๆ ที่ใช้ในประเทศสิงคโปร์

ตราแผ่นดิน[แก้]

ตราแผ่นดิน ช่วงเวลา คำอธิบาย หมายเหตุ
Coat of arms of Singapore ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ตราแผ่นดินของสิงคโปร์ รูปสิงโตและเสือเหยียบบนรวงข้าวสีทอง ประคองข้างถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ใช้บนธงชาติสิงคโปร์[1][2] เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และ สิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์[3] ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือสีทองว่า Majulah singapura ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"

รัฐบาล[แก้]

ตราราชการ ช่วงเวลา คำอธิบาย หมายเหตุ
Crest of the President of the Republic of Singapore ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ตราประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสิงคโปร์ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาว ภายในมีรูปสิงโตวิ่ง โดยขาขวาถือช่อลอเรล เครื่องยอดประกอบด้วยรูปเดือนเสี้ยวและดาวห้าดวง รองรับด้วยช่อกล้วยไม้ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีแดงจารึกชื่อประเทศในภาษามลายู ด้วยตัวหนังสือสีขาวว่า Singapura
Crest of the Parliament of the Republic of Singapore ตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ตราราชการรัฐสภาสิงคโปร์ ตราประกอบด้วยตราแผ่นดินของสิงคโปร์และคฑาของรัฐสภาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภา

ทหาร[แก้]

ตราราชการ ช่วงเวลา คำอธิบาย หมายเหตุ
กระทรวงกลาโหม
Link to image ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ตราราชการกองทัพสิงคโปร์ ตรงกลางเป็นตราแผ่นดินของสิงคโปร์ อักษร "Tentera Singapura" หมายถึง "กองทัพสิงคโปร์" ในภาษามลายู ด้านล่างของตราเป็นแพรริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกชื่อคำขวัญประจำกองทัพว่า "Yang Pertama Dan Utama" ("อันดับแรกและสำคัญที่สุด") รองรับด้วยช่อลอเรลสีทอง
ตราราชการกองทัพบกสิงคโปร์ ลักษณะอย่างตราราชการข้างต้น แต่มีรายละเอียดของตราแตกต่างบางประการ
ตราราชการกรมทหารราบสิงคโปร์
ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ตราราชการกองทัพเรือสิงคโปร์ ตราแผ่นดินของสิงคโปร์ประกอบสมอเรือสีเงิน รองรับด้วยช่อลอเรลสีทอง
ตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ตราราชการกองทัพอากาศสิงคโปร์ ตราแผ่นดินของสิงคโปร์ประกอบปีกนกสีเงิน รองรับด้วยช่อลอเรลสีทอง
ตั้งแต่ ค.ศ. 2022 ตราราชการหน่วยข่าวกรองทหาร และ ดิจิทัลสิงคโปร์
ตราราชการเหล่าทหารนักเรียนสิงคโปร์

กระทรวงกิจการมาตุภูมิ[แก้]

ตราราชการ ช่วงเวลา คำอธิบาย หมายเหตุ
กองกำลังตำรวจสิงคโปร์
ค.ศ. 1911 - ุ1946 กองกำลังตำรวจอาณานิคมช่องแคบ
ค.ศ. 1946 - ุ1952 ตราราชการกองกำลังตำรวจสิงคโปร์
ค.ศ. 1952 - ุ1959
ค.ศ. 1959 - ุ1963 โล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวรองรับด้วยช่อลอเรลสีเงิน ประกอบด้วยแพรริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกชื่อในภาษามลายูว่า "Polis Negara Singapura"
ตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ลักษณะอย่างตราราชการข้างต้น แพรริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกชื่อในภาษามลายูว่า "Polis Republik Singapura"
รัฐทัณฑ์สิงคโปร์
ค.ศ. 1952 - ุ1965
ตั้งแต่ ค.ศ. 1965
ศุลกากรสิงคโปร์
ค.ศ. 1968 - ุ2003 ตราราชการศุลกากรสิงคโปร์
ตั้งแต่ ค.ศ. 2003
ตราราชการกองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์

พัฒนาการ[แก้]

ตราแผ่นดิน ช่วงเวลา คำอธิบาย หมายเหตุ
ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร
Coat of arms of the United Kingdom (1816–1837) ค.ศ. 1819–1826 ตราแผ่นดินในรัชสมัยราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ พระเจ้าจอร์จที่ 3, พระเจ้าจอร์จที่ 4 และ พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ใช้ในดินแดนอาณานิคมระหว่าง ค.ศ. 1819–1837
Coat of arms of the United Kingdom (1837–1952) ค.ศ. 1946–1952 ตราแผ่นดินในรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย, พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7, พระเจ้าจอร์จที่ 5, พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 และ พระเจ้าจอร์จที่ 6 ใช้ในดินแดนอาณานิคมระหว่าง ค.ศ. 1837–1952 สหราชอาณาจักรได้แยกสิงคโปร์ออกจากกลุ่มอาณานิคมช่องแคบ และ ยกฐานะเป็นมกุฎราชอาณานิคม เมื่อ ค.ศ. 1946
Royal coat of arms of the United Kingdom ค.ศ. 1952–1963 ตราแผ่นดินในรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ตราแผ่นดินประจำดินแดนอาณานิคม
Coat of arms of the Straits Settlements ค.ศ. 1826–1942, ค.ศ. 1945–1946 ตราแผ่นดินอาณานิคมช่องแคบ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน ส่วนแรกพื้นสีแดงรูปหอคอยบนเชิงเทินมีสิงโตผู้พิทักษ์ ส่วนที่สองพื้นสีเงินรูปภูเขามีต้นหมากสง ส่วนที่สามรูปกิ่งก้านของต้นยางแดง ส่วนที่สี่พื้นสีฟ้าส่วนล่างเป็นคลื่นทะเลมีดวงอาทิตย์ขึ้นหลังภูเขามีเรือใบกางใบเต็มที่แล่นไปทางขวา ส่วนยอดมีภาพด้านข้างของสิงโตครึ่งตัวถือธงด้วยอุ้งเท้า ผืนธงหันไปทางขวาพื้นสีน้ำเงินมีรูปมงกุฎจักรพรรดิสีทองสามองค์
Coat of arms of the Colony of Singapore, used from 1948 to 1959. ค.ศ. 1948–1959 ตราแผ่นดินอาณานิคมสิงคโปร์ ใช้เมื่อสิงคโปร์เป็นมกุฎราชอาณานิคม
Coat of arms of the Singapore Municipal Commission ตราประจำเทศบาลเมืองสิงคโปร์
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
Imperial seal of Japan ค.ศ. 1942–1945 ตราแผ่นดินของญี่ปุ่น ใช้ระหว่างการยึดครองสิงคโปร์ของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นภาพดอกเบญจมาศมี 16 กลีบ[4]
ภายหลังการได้รับเอกราช
Coat of arms of Malaysia (1963–1965) ค.ศ. 1963–1965 ตราแผ่นดินของมาเลเซีย เครื่องยอด มีภาพจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก (ดาราแห่งสหพันธ์) สีเหลือง[5] ส่วนโล่ หัวโล่บนสุดพื้นสีแดงมีรูปกริชมลายู 5 เล่ม, กลางโล่แบ่ง 4 ส่วนเท่ากัน แต่ละช่องสีแดง-ดำ-ขาว-เหลือง ขนาบซ้ายด้วยรูปต้นหมากสง และสะพานปีนัง ขนาบขวาด้วยต้นมะขามป้อมมะละกา, ท้องโล่เป็นตราอาร์มรัฐซาบะฮ์ ดอกชบา และ ตราอาร์มรัฐซาราวัก เสือโคร่ง 2 ตัวประคองข้าง ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีเหลืองจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือสีทองว่า Bersekutu Bertambah Mutu "ความเป็นเอกภาพคือพลัง" (เขียนด้วยอักษรโรมัน (รูมี) และอักษรยาวี)[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. the Singapore Arms and Flag and National Anthem (Amendment) Rules 2007 (S 377/2007). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 มีนาคม 2009.
  2. Lee Kuan Yew (1998). The Singapore Story: Memoirs of Lee Kuan Yew. Singapore: Times Editions. pp. 342–343. ISBN 978-981-204-983-4.
  3. "National Coat of Arms". Ministry of Information, Communications and the Arts. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2012.
  4. 皇室儀制令(1926(Taisho Era 15)皇室令第7号). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2007.
  5. "Malaysia Coat of Arms". TalkMalaysia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2009.
  6. "Malaysian Flag and Coat of Arms". The Malaysia Government's Official Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]