ราชวงศ์หรยังกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์หารยังกะ)
หรยังกะ

544 ปีก่อนคริสตกาล–413 ปีก่อนคริสตกาล
พื้นที่ราชวงศ์หารยังกะในช่วงสูงสุดในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล[1]
พื้นที่ราชวงศ์หารยังกะในช่วงสูงสุดในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล[1]
เมืองหลวงราชคฤห์
ต่อมาปาฏลีบุตร
ภาษาทั่วไปสันสกฤต
ประกริตแบบมคธ
ปรากฤตแบบอื่น
ศาสนา
ศาสนาเชน
ศาสนาพุทธ
ศาสนาฮินดู[2]
การปกครองราชาธิปไตย
• 544-492 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าพิมพิสาร
• 492-460 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าอชาตศัตรู
• 460-444 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าอุทัยภัทร
• 444-440 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าอนุรุทธะ
• 440-437 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้ามุณฑะ
• 437-413 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้านาคทาสกะ
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
544 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
413 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ปรัทโยต
โกศล
สมัยพระเวท
ราชวงศ์ศิศุนาค
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย

ราชวงศ์หรยังกะ (อังกฤษ: Haryanka dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ที่ปกครองแผ่นดินอินเดีย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมคธ โดยราชวงศ์นี้ถูกสถาปนาต่อจากการล่มสลายของ ราชวงศ์ปรัทโยต และ ราชวงศ์พฤหทรถะ ราชวงศ์นี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ราชคฤห์ ซึ่งมีอาณาเขตใกล้เคียงกับเมืองปัฏณา ใน อินเดียปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้

ในบันทึกทางศาสนาพุทธ มหาวงศ์ กล่าวว่า พระเจ้าพิมพิสารขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าภัททิยะ เมื่ออายุได้ 15 พระชันษา[3]

เมื่อราชวงศ์นี้ล่มสลายลง ราชวงศ์ที่ครองแผ่นดินมคธต่อคือ ราชวงศ์ศิศุนาค

รายพระนามกษัตริย์[แก้]

พระเจ้าพิมพิสาร[แก้]

พระเจ้าพิมพิสาร แห่ง มคธทรงประทับอยู่ที่เวฬุวัน; ศิลปกรรมจาก สาญจี

พระเจ้าพิมพิสารครองราชย์ตั้งแต่ปี 545-493 ก่อนคริสตกาล ขอบเขตของอาณาจักรของพระองค์ถูกกล่าวถึงใน มหาวงศ์ พระองค์มีที่ปรึกษาคนสำคัญคือ โสณโกฬิวิสะ, สุมานะ, อำมาตย์โกลิยะ, กุมภโกสกะ และ ชีวก

ทั้งตำราทางศาสนาเชนและตำราทางศาสนาพุทธอ้างว่ากษัตริย์เป็นสาวกของพวกศาสนานั้น โดย อุตตรธัมมยานาสูตร กล่าวว่าพระองค์เป็นสาวกของ มหาวีระ ในขณะที่ พระสุตตันตปิฎก กล่าวว่าพระองค์และ พระเขมาเถรี พระมเหสีเป็นสาวกของ พระโคตมพุทธเจ้า ในตอนหลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าพระองค์ทรงมีรับสั่งแต่งตั้ง ชีวกโกมารภัจจ์ เพื่อช่วยเหลือ พระภิกษุสงฆ์ [4] และพระองค์ยังได้อภิเษกกับ พระนางโกศลเทวี พระขนิษฐาของ พระเจ้าปเสนทิโกศล อีกด้วย[5]

อ้างอิงจากบันทึกของ George Turnour และ N.L. Dey กล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสาร มีพระบิดาคือ พระเจ้าภัททิยะ แต่ ปุราณะ เรียกพระนามว่า เหมชิต, เกษมชิต, กเษตโรจา และตำราภาษาทิเบตกล่าวถึงเขาว่า มหาปัทมะ[6]

พระเจ้าอชาตศัตรู[แก้]

พระเจ้าอชาตศัตรูใชแคทะพัลต์บุกตีเมืองลิจฉวี

พระเจ้าอชาตศัตรูครองราชย์ตั้งแต่ปี 493-462 ก่อนคริสตกาล[4] พระองค์ทรงอภิเษกกับ พระนางวชิรา องค์หญิงแห่งแคว้นโกศล[7]

ในข้อมูลบางส่วนกล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสารถูกคุมขังและถูกพระเจ้าอชาตศัตรูสังหาร เพื่อความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ พระเจ้าอชาตศัตรูมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับ มหาวีระ (599–527 ปีก่อนคริสตกาล) และ พระโคตมพุทธเจ้า (563–483 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงทำสงครามกับ แคว้นวัชชี ที่ปกครองโดย พระเจ้าลิจฉวี และพิชิต เมืองเวสาลี ได้สำเร็จ[7]

พระเจ้าอุทัยภัทร[แก้]

พระเจ้าอุทายิน หรือ พระเจ้าอุทัยภัทร ได้รับการกล่าวถึงในตำราพุทธศาสนาและเชนในฐานะรัชทายาทของพระเจ้าอชาตศัตรู อย่างไรก็ตาม ปุรณะ กล่าวถึงเขาในฐานะกษัตริย์องค์ที่สี่รองจาก พระเจ้าทาสกะ[8]

กษัตริย์รุ่นหลัง[แก้]

ปุรณะ กล่าวว่า นันทิวรธัน และ มหานันทิน ว่าเป็นเชื้อสายของของพระเจ้าอุทัยภัทร แต่ในบันทึกของศาสนาพุทธกล่าวว่า พระเจ้าอนุรุทธะ, พระเจ้ามุณฑะ และ พระเจ้านาคทาสกะ เป็นรัชทายาทของพระเจ้าอุทัยภัทร[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 145, map XIV.1 (a). ISBN 0226742210.
  2. Rao 2012, p. 92.
  3. Raychaudhuri 1972, pp. 97
  4. 4.0 4.1 Upinder Singh 2016, p. 270.
  5. Upinder Singh 2016, pp. 270–271.
  6. Raychaudhuri 1972, p. 105ff
  7. 7.0 7.1 Upinder Singh 2016, p. 271.
  8. 8.0 8.1 Upinder Singh 2016, p. 273.

แหล่งอ่านเพิ่มเติม[แก้]