ราชวงศ์หรยังกะ
หรยังกะ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
544 ปีก่อนคริสตกาล–413 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||
พื้นที่ราชวงศ์หารยังกะในช่วงสูงสุดในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล[1] | |||||||||||||
เมืองหลวง | ราชคฤห์ ต่อมาปาฏลีบุตร | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | สันสกฤต ประกริตแบบมคธ ปรากฤตแบบอื่น | ||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู[2] | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
• 544-492 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าพิมพิสาร | ||||||||||||
• 492-460 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าอชาตศัตรู | ||||||||||||
• 460-444 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าอุทัยภัทร | ||||||||||||
• 444-440 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าอนุรุทธะ | ||||||||||||
• 440-437 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้ามุณฑะ | ||||||||||||
• 437-413 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้านาคทาสกะ | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• ก่อตั้ง | 544 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||
• สิ้นสุด | 413 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศอินเดีย |
ราชวงศ์หรยังกะ (อังกฤษ: Haryanka dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ที่ปกครองแผ่นดินอินเดีย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมคธ โดยราชวงศ์นี้ถูกสถาปนาต่อจากการล่มสลายของ ราชวงศ์ปรัทโยต และ ราชวงศ์พฤหทรถะ ราชวงศ์นี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ราชคฤห์ ซึ่งมีอาณาเขตใกล้เคียงกับเมืองปัฏณา ใน อินเดียปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้
ในบันทึกทางศาสนาพุทธ มหาวงศ์ กล่าวว่า พระเจ้าพิมพิสารขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าภัททิยะ เมื่ออายุได้ 15 พระชันษา[3]
เมื่อราชวงศ์นี้ล่มสลายลง ราชวงศ์ที่ครองแผ่นดินมคธต่อคือ ราชวงศ์ศิศุนาค
รายพระนามกษัตริย์
[แก้]พระเจ้าพิมพิสาร
[แก้]พระเจ้าพิมพิสารครองราชย์ตั้งแต่ปี 545-493 ก่อนคริสตกาล ขอบเขตของอาณาจักรของพระองค์ถูกกล่าวถึงใน มหาวงศ์ พระองค์มีที่ปรึกษาคนสำคัญคือ โสณโกฬิวิสะ, สุมานะ, อำมาตย์โกลิยะ, กุมภโกสกะ และ ชีวก
ทั้งตำราทางศาสนาเชนและตำราทางศาสนาพุทธอ้างว่ากษัตริย์เป็นสาวกของพวกศาสนานั้น โดย อุตตรธัมมยานาสูตร กล่าวว่าพระองค์เป็นสาวกของ มหาวีระ ในขณะที่ พระสุตตันตปิฎก กล่าวว่าพระองค์และ พระเขมาเถรี พระมเหสีเป็นสาวกของ พระโคตมพุทธเจ้า ในตอนหลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าพระองค์ทรงมีรับสั่งแต่งตั้ง ชีวกโกมารภัจจ์ เพื่อช่วยเหลือ พระภิกษุสงฆ์ [4] และพระองค์ยังได้อภิเษกกับ พระนางโกศลเทวี พระขนิษฐาของ พระเจ้าปเสนทิโกศล อีกด้วย[5]
อ้างอิงจากบันทึกของ George Turnour และ N.L. Dey กล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสาร มีพระบิดาคือ พระเจ้าภัททิยะ แต่ ปุราณะ เรียกพระนามว่า เหมชิต, เกษมชิต, กเษตโรจา และตำราภาษาทิเบตกล่าวถึงเขาว่า มหาปัทมะ[6]
พระเจ้าอชาตศัตรู
[แก้]พระเจ้าอชาตศัตรูครองราชย์ตั้งแต่ปี 493-462 ก่อนคริสตกาล[4] พระองค์ทรงอภิเษกกับ พระนางวชิรา องค์หญิงแห่งแคว้นโกศล[7]
ในข้อมูลบางส่วนกล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสารถูกคุมขังและถูกพระเจ้าอชาตศัตรูสังหาร เพื่อความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ พระเจ้าอชาตศัตรูมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับ มหาวีระ (599–527 ปีก่อนคริสตกาล) และ พระโคตมพุทธเจ้า (563–483 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงทำสงครามกับ แคว้นวัชชี ที่ปกครองโดย พระเจ้าลิจฉวี และพิชิต เมืองเวสาลี ได้สำเร็จ[7]
พระเจ้าอุทัยภัทร
[แก้]พระเจ้าอุทายิน หรือ พระเจ้าอุทัยภัทร ได้รับการกล่าวถึงในตำราพุทธศาสนาและเชนในฐานะรัชทายาทของพระเจ้าอชาตศัตรู อย่างไรก็ตาม ปุรณะ กล่าวถึงเขาในฐานะกษัตริย์องค์ที่สี่รองจาก พระเจ้าทาสกะ[8]
กษัตริย์รุ่นหลัง
[แก้]ปุรณะ กล่าวว่า นันทิวรธัน และ มหานันทิน ว่าเป็นเชื้อสายของของพระเจ้าอุทัยภัทร แต่ในบันทึกของศาสนาพุทธกล่าวว่า พระเจ้าอนุรุทธะ, พระเจ้ามุณฑะ และ พระเจ้านาคทาสกะ เป็นรัชทายาทของพระเจ้าอุทัยภัทร[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 145, map XIV.1 (a). ISBN 0226742210.
- ↑ Rao 2012, p. 92.
- ↑ Raychaudhuri 1972, pp. 97
- ↑ 4.0 4.1 Upinder Singh 2016, p. 270.
- ↑ Upinder Singh 2016, pp. 270–271.
- ↑ Raychaudhuri 1972, p. 105ff
- ↑ 7.0 7.1 Upinder Singh 2016, p. 271.
- ↑ 8.0 8.1 Upinder Singh 2016, p. 273.
แหล่งอ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Raychaudhuri, H.C. (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta
- Bhargava, P.L., The origins of the Nanda (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-15, สืบค้นเมื่อ 2021-04-24
- Singh, Upinder (2016), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson, ISBN 978-81-317-1677-9
- Rao, B .V. (2012), World history from early times to A D 2000, Sterling Publishers Pvt. Ltd, ISBN 9788120731882