รางวัลตำนานแกรมมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลตำนานแกรมมี
รางวัลสำหรับผลงานและอิทธิพลอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมดนตรี
ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดโดยสถาบันการทึกเสียง
รางวัลแรก1990
เว็บไซต์grammy.com

รางวัลตำนานแกรมมี (อังกฤษ: Grammy Legend Award)[1][2] เป็นรางวัลพิเศษที่มอบให้แก่ศิลปินที่ได้รับรางวัลแกรมมี ซึ่งเป็นพิธีมอบรางวัลทางดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1958[3][4] พิธีมอบเกียรติคุณในหลายประเภทจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันการบันทึกเสียงของสหรัฐอเมริกา สำหรับความสำเร็จอันโดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรี[5][6]

รางวัลตำนานแกรมมีมอบครั้งแรกออกในปี ค.ศ. 1990 ให้แก่ สโมกีย์ โรบินสัน, วิลลี เนลสัน, แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ และไลซา มินเนลลิ เป็นการเปิดตัวเพื่อเป็นเกียรติของ "การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและอิทธิพลในด้านการบันทึกเพลง"[7] ในปีถัดไปมีนักดนตรีอีกสี่คน (อารีทา แฟรงคลิน, บิลลี โจเอล, จอห์นนี แคช และควินซี โจนส์) ได้รับรางวัลตำนานแกรมมี รางวัลนี้มอบให้กับบาร์บรา สไตรแซนด์ ในปี ค.ศ. 1992 และไมเคิล แจ็กสัน ในปี ค.ศ. 1993

หลังจากปี ค.ศ. 1994 เมื่อนักดนตรีชาวอเมริกันเคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ และแฟรงก์ ซินาตรา ต่างก็ได้รับรางวัลตำนานแกรมมี เป็นการให้เกียรติแก่ศิลปินที่บันทึกเสียงเป็นระยะ ๆ ลูชาโน ปาวารอตตี นักร้องโอเปราเทเนอร์ชาวอิตาลีเป็นผู้รับรางวัลในปี ค.ศ. 1998 ในปีต่อมา เอลตัน จอห์นนักร้องนักแต่งเพลงชาวอังกฤษได้รับการยกย่อง ส่วนบีจีส์กลายเป็นผู้รับรางวัลกลุ่มแรกในศตวรรษที่ 21 เมื่อสองพี่น้องได้รับการยอมรับจากแกรมมีในปี ค.ศ. 2003 โดยรวมแล้ว นักดนตรีเดี่ยว 14 คน และวงดนตรีหนึ่งวงได้รับรางวัลตำนานแกรมมี

ผู้รับ[แก้]

ปี     อ้างอิง
1990 Andrew Lloyd Webber in 2009 แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ [8]
Liza Minnelli as Sally Bowles from Cabaret (1972) ไลซา มินเนลลิ [1]
Smokey Robinson in 2018 สโมกีย์ โรบินสัน [9]
Willie Nelson in 2009 วิลลี เนลสัน [7]
1991 Aretha Franklin in 1968 อารีทา แฟรงคลิน [10]
Billy Joel in 2009 บิลลี โจเอล [11]
Johnny Cash in 1969 จอห์นนี แคช [12]
Quincy Jones in 2014 ควินซี โจนส์ [7]
1992 Barbra Streisand in 1966 บาร์บรา สไตรแซนด์ [13]
1993 Michael Jackson in 1984 ไมเคิล แจ็กสัน [14]
1994 Curtis Mayfield in 1972 เคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ [15]
Frank Sinatra in Pal Joey (1957) แฟรงก์ ซินาตรา [16]
1998 Luciano Pavarotti in 2002 ลูชาโน ปาวารอตตี [17]
1999 Elton John in 2011 เอลตัน จอห์น [7]
2003 Bee Gees in 1978 บีจีส์ [18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kotb, Hoda (March 12, 2004). "Liza: Life in the limelight". NBC News. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.
  2. Erlewine, Stephen Thomas. "Billy Joel biography". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2009. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.
  3. "Seen and heard at the 50th Grammy Awards". USA Today. Gannett. February 11, 2008. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  4. Henken, John (February 18, 2001). "The 2001 Grammys". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  5. Hilburn, Richard (March 13, 1970). "Top Grammy Winners Announced". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  6. "The Prem Rawat Foundation Presents Its Initiatives at the Grammy Awards". America's Intelligence Wire. February 9, 2007. สืบค้นเมื่อ December 21, 2009.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Grammy Legend Award". Grammy Awards. สืบค้นเมื่อ March 19, 2023.
  8. 2001 People Entertainment Almanac. People, Cader Books. 2000. p. 545. ISBN 978-1929049073.
  9. Kalte, Pamela M. (2005). Contemporary Black Biography. Gale Group. p. 117. ISBN 0-7876-7921-6.
  10. Barrera, Sandra (September 6, 2005). "Franklin not ready to rest on another laurel". Milwaukee Journal Sentinel. Journal Communications. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.[ลิงก์เสีย]
  11. Gunderson, Edna (March 16, 1999). "Billy Joel enters his classical period Joining Hall of Fame, he leaves rock behind". USA Today. Gannett Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  12. "Critic's choice". Fort Worth Star-Telegram. McClatchy. February 15, 1991. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  13. "The 1992 Grammys an 'unforgettable' night for Natalie Cole, Bonnie Raitt and R.E.M". The Philadelphia Inquirer. Philadelphia Media Holdings. February 26, 1992. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  14. McShane, Larry (February 25, 1993). "Grammy moments – memorable and forgettable". Deseret News. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009 – โดยทาง Google News Archive.
  15. "Curtis Mayfield, 57, entertainer, songwriter". Telegram & Gazette. The New York Times Company. December 27, 1999. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  16. Harrington, Richard (March 2, 1994). "The Grammy Whammy". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-23. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  17. Shmith, Michael (September 7, 2007). "Prince among tenors, undisputed king of high C's". The Age. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  18. "The 45th Annual Annual Grammy Awards". The Philadelphia Inquirer. Philadelphia Media Holdings. February 24, 2003. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]