รากนครา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รากนครา  
ปกหนังสือ
ผู้ประพันธ์ปิยะพร ศักดิ์เกษม
ชื่อเรื่องต้นฉบับรากนครา
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์

รากนครา เป็นนวนิยายที่ปิยะพร ศักดิ์เกษมเขียนขึ้น ตีพิมพ์ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารสกุลไทย พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี 2540 เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ดินแดนล้านนา หัวเมืองเหนือของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 และสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

รากนครา เป็นเรื่องราวของ เจ้าศุขวงศ์ แห่งเมืองเชียงพระคำ เกิดตกหลุมรัก เจ้านางแม้นเมือง หญิงสาวผู้ยึดมั่นรักแผ่นดินและแน่วแน่ในอุดมการณ์ของบรรพบุรุษ ที่ต้องการให้เมืองเชียงเงินได้เป็นเอกราชจากสยาม ซึ่งมีน้องสาวต่างแม่คือ เจ้านางมิ่งหล้า หญิงสาวผู้เอาแต่ใจและอิจฉาริษยาที่พี่สาวมีชายหนุ่มมาตกหลุมรัก เจ้านางมิ่งหล้าจึงวางอุบายดึงเจ้าศุขวงศ์มาใกล้ชิดตัวและวางแผนทำให้เจ้านางแม้นเมืองเข้าใจผิด จนเกิดเป็นรักสามเส้า โศกนาฏกรรมทางความรักจึงอุบัติขึ้น โดยมีแผ่นดินเกิดเป็นเดิมพัน

ละครโทรทัศน์[แก้]

รากนครา ดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 7 ผลิตโดย บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด บทโทรทัศน์ ศัลยา สุขะนิวัตติ์ กำกับการแสดงโดย จรูญ ธรรมศิลป์ นำแสดงโดย ดนุพร ปุณณกันต์ , พัชราภา ไชยเชื้อ, วรนุช วงษ์สวรรค์ ออกอากาศทุกวันศุกร์–อาทิตย์ เวลา 20.20–22.20 ตั้งแต่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

รากนครา (พ.ศ. 2543)

ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ออกอากาศทาง ช่อง 3 ผลิตโดยบริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น บทโทรทัศน์โดย ยิ่งยศ ปัญญา กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นำแสดงโดย ณฐพร เตมีรักษ์, ปริญ สุภารัตน์, นิษฐา จิรยั่งยืน, ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต ใช้ภาษาเหนือ (คำเมือง) ในการดำเนินเรื่องทั้งหมด โดยยึดถือตามสำเนียงมาตรฐานเชียงใหม่ และชุดสำหรับสวมใส่ในการแสดงได้มีการอิงตามประวัติศาสตร์ของจริงที่เห็นและปรากฏตามดินแดนต่าง ๆ ในเรื่อง[1][2] ออกอากาศทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20.20–22.50 น. ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 ถึง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ต่อจากละครเรื่องเล่ห์ลับสลับร่าง[3]

รากนครา
ประเภทโรแมนติก, ดราม่า, อิงประวัติศาสตร์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : ปิยะพร ศักดิ์เกษม
บทโทรทัศน์ : ยิ่งยศ ปัญญา
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
แสดงนำณฐพร เตมีรักษ์
ปริญ สุภารัตน์
นิษฐา จิรยั่งยืน
ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต
พัชรินทร์ ศรีวสุภิรมย์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน12
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างธัญญา วชิรบรรจง
ความยาวตอน150 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ5 กันยายน –
3 ตุลาคม 2560

นักแสดง[แก้]

บทบาท นักแสดงหลัก
เจ้าศุขวงศ์ ดนุพร ปุณณกันต์ ปริญ สุภารัตน์
เจ้านางแม้นเมือง พัชราภา ไชยเชื้อ ณฐพร เตมีรักษ์
เจ้านางมิ่งหล้า วรนุช ภิรมย์ภักดี นิษฐา จิรยั่งยืน
เจ้าหน่อเมือง สหภาพ วีระฆามินทร์ ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต
เจ้านางปัทมสุดา ชไมพร จตุรภุช พัชรินทร์ ศรีวสุภิรมย์
เจ้าเมืองมัณฑ์ บดินทร์ ดุ๊ก อภินันท์ ประเสริฐวัฒนกุล
เจ้านางละอองคำ ภัทรากร ตั้งศุภกุล
บทบาท นักแสดงสมทบ
เจ้าจักรคำ วรพรต ชะเอม กัมมัญญ์ กลมแก้ว
เจ้าหลวงแสนอินทะ นาท ภูวนัย ธนากร โปษยานนท์
เจ้านางข่ายคำ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ
เจ้านางเรือนคำ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
นายจอห์น แบร็กกิ้นส์ ธรรมชาติ แฟร์เน็ทท์ ทวีศักดิ์ ธนานันท์
นายอินทร ปราบ ยุทธพิชัย ถนอม สามโทน
นางเขียนจันทร์ ปิยะมาศ โมนยะกุล อรอนงค์ ปัญญาวงศ์
นางคำแก้ว ธัญชนก หงษ์ทองคำ
เจ้านางทิพวรรณา น้ำทิพย์ เสียมทอง
นางฟองจันทร์ วชิรา เพิ่มสุริยา ไอยวริญร์ ชื่นชอบ
เจ้าหลวงศรีวงศ์ อนุสรณ์ เดชะปัญญา ตระการ พันธุมเลิศรุจี
นางบัวผัน วณิษฐา วัชโรบล วราพรรณ หงุ่ยตระกูล
นางมิ่น จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ปวันรัตน์ นาคสุริยะ
นางขิ่นแหม่ อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ศิรินุช เพ็ชรอุไร
กรมวัง ครรชิต ขวัญประชา พิศาล พัฒนพีระเดช
เจ้านางบัวทิพย์ ปิยะดา เพ็ญจินดา
นางเพ็ง เยาวเรศ นิสากร
นางบัวผัด ประภารัตน์ รัตนธาดา
นางบัวตอง พัชรา ทองทวีพร
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
เจ้าสิงห์คำ อรรถชัย อนันตเมฆ วรุฒ วรธรรม
เสด็จในกรมหลวงพิชิตปรีชากร สมชาย สามิภักดิ์ เกรียงไกร อุณหะนันทน์
เจ้าไศลรัตน์ วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ ทัศน์พล วิวิธวรรธน์
หมอหลวงในเมืองมัณฑ์ สหภูมิ โตตรึงทรัพย์
นายบุญสูง พอเจตน์ แก่นเพชร
เจ้าอุปราช พงศ์ประยูร ราชอาภัย
พระยาศรีวิศัลย์ สรนันท์ ร.เอกวัฒน์
เสด็จในกรมเมืองสยาม อุเทน บุญยงค์
ศรีมาย ภัทรี ชนะศักดิ์
เจ้าศุขวงศ์ (วัยเด็ก) ศศิน งามจิตสุขศรี ปัญกร จันทศร
เจ้านางแม้นเมือง (วัยเด็ก) ปรางทิพย์ ยศงาม ชนัญญา เลิศวัฒนามงคล
เจ้านางมิ่งหล้า (วัยเด็ก) กุลธิดา มานะสิริจินดา ณภัค เจนจิตรานนท์
คำใส (ลูกคำแก้ว) กมลพรรณ ทานตะวิริยะ
เจ้าหน่อเมือง (วัยเด็ก) ชาญคามิน ชยางกูร
เจ้านางแม้นแก้ว (รับเชิญตอนจบ) กุลฑีรา ยอดช่าง
เจ้าไศลรัตน์ (วัยเด็ก) พงษ์พิชญ์ ไชยพิทักษ์

รางวัลและการเสนอชื่อ[แก้]

รางวัล สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
สีสันบันเทิงอวอร์ด 2560[4][5]
ละครยอดเยี่ยมแห่งปี
รากนครา
ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ณฐพร เตมีรักษ์
ชนะ
สามีแห่งชาติ
ปริญ สุภารัตน์
ชนะ
ตัวจี๊ดแห่งปี
พัชรินทร์ ศรีวสุภิรมย์
ชนะ
Thailand Zocial Awards 2018[6]
Best Thai Series on Social Media
ละครที่มีผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย
รากนครา
ชนะ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32[7]
เพลงละครดีเด่น
"หัวใจรอคำว่ารัก" – มัชฌิมา มีบำรุง
เสนอชื่อเข้าชิง
องค์ประกอบศิลป์ดีเด่น
รากนครา
ชนะ
บทละครโทรทัศน์ดีเด่น
ยิ่งยศ ปัญญา
เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับดีเด่น
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ชนะ
ดาราสนับสนุนชายดีเด่น
ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต
เสนอชื่อเข้าชิง
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น
นิษฐา จิรยั่งยืน
เสนอชื่อเข้าชิง
ดารานำหญิงดีเด่น
ณฐพร เตมีรักษ์
เสนอชื่อเข้าชิง
ละครดีเด่น
รากนครา
ชนะ
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 11[8]
ละครโทรทัศน์แห่งปี
รากนครา
ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
ประมาณ อิ่มรัตนะ
ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
ธนอรรถ กาสุริยะ
เสนอชื่อเข้าชิง
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
ศิรินาจ ถาวรวัตร์
ชนะ
เพลงละครยอดเยี่ยม
"หัวใจรอคำว่ารัก" – กัน นภัทร
เสนอชื่อเข้าชิง
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
ยิ่งยศ ปัญญา
ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
นิษฐา จิรยั่งยืน
ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ณฐพร เตมีรักษ์
เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับยอดเยี่ยม
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ชนะ
ละครยอดเยี่ยม
รากนครา
เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]